ประโยคเงื่อนไขที่เป็นประโยคสมบูรณ์นั้น จะต้องประกอบไปด้วย 2 ส่วน ก็คือ Conditional Clause และ Result Clause โดยที่ประโยคเงื่อนไขของเราจะขึ้นต้นด้วย Conditional Clause แล้วค่อยตามมาด้วย Result Clause หรือ จะสลับเอา Result Clause นำหน้า Conditional Clause ก็ได้เหมือนกัน
- Conditional Clause, result Clause.
- Result Clause conditional Clause.
แต่ต้องระวังเรื่อง Comma และการใช้ตัวพิมพ์เล็กตัวพิมพ์ใหญ่กันด้วยนะคะ
ทั้งสองพูดถึง "เงื่อนไข" ที่มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้น แต่ช่วงเวลาที่เราคาดว่า "เงื่อนไข" นั้นจะเกิดขึ้นมันต่างกันนั่นก็คือ
เป็นการพูดถึง Real Present Condition พูดถึง "เงื่อนไข" ที่สามารถเกิดขึ้นได้จริงเสมอไป เป็นความจริงตามหลักวิทยาศาสตร์ และจะคงเป็นความจริงที่เกิดขึ้นเสมอ
ตัวอย่าง
If Vanelty sees green apples, she eats them all.
(เมื่อวาเนลทีเห็นแอปเปิ้ล เธอจะกินมันหมดเลย)
เป็นการพูดถึง Real Future Condition พูดถึง "เงื่อนไข" ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต อาจจะเฉพาะเจาะจงกับเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งไว้
ตัวอย่าง
If Vanelty sees these green apples, she will eat them all.
(ถ้าหากวาเนลทีเห็นแอปเปิ้ลเขียวเหล่านี้ เธอก็จะทานมันทั้งหมด)
เมื่อเราใช้ Type 1 แบบนี้แล้ว เรากำลังให้ความสนใจไปกับเหตุการณ์ในอนาคตเหตุการณ์หนึ่ง เช่น อาจจะเป็นไปได้ว่าวันนี้เราจะจัดงานเลี้ยงให้วาเนลที แล้วเราก็ตั้งใจว่าจะวางแอปเปิ้ลเขียวที่เราไปหาซื้อได้มาจากตลาดมาวางไว้บนโต๊ะ และเมื่อถึงเวลาที่วาเนลทีเดินมาที่โต๊ะ และพบแอปเปิ้ลเขียวเหล่านี้ วาเนลทีก็จะจัดการทานให้หมดเลย (นึกเผื่อ / คาดการณ์)
ทั้งสองพูดถึง "เงื่อนไข" ที่ไม่มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นจริง หรือถ้ามีความเป็นไปได้ ก็มีความเป็นไปได้เพียงน้อยนิด แต่ช่วงเวลาที่เรากำลังให้ความสำคัญนั้นต่างกัน
เป็นการพูดถึง "เงื่อนไข" ที่ไม่สามารถเกิดขึ้นจริง หรือถ้าพอจะมีความเป็นไปได้ ก็เป็นความเป็นไปได้ที่เบาบาง และก็ไม่ได้เฉพาะเจาะจงว่าจะต้องเกิดขึ้นตอนไหนเป็นพิเศษ
ตัวอย่าง
If I did not have to work, I would live on the mountain top.
(ถ้าฉันไม่ต้องทำงาน ฉันก็คงจะไปอยู่บนยอดเขา)
ประโยคนี้เราไม่สนใจเท่าไหร่ว่า "เงื่อนไข" นี้จะเกิดขึ้นตอนไหนก็เพราะรู้สึกว่ามันไม่น่าเป็นไปได้ (เพราะปัจจุบันทำงานเลยอดไป)
เป็นการพูดถึง "เงื่อนไข" และ "ผลลัพธ์" ที่ไม่สามารถจะเกิดขึ้นได้ในอดีต เพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วในอดีตนั้นมันตรงข้ามกับ "เงื่อนไข" และ "ผลลัพธ์" ที่ต้องการ
ตัวอย่าง
If I had not had to work (last week), I would have gone hiking with Dewey.
(ถ้าฉันไม่ต้องทำงานนะตอนนั้น ฉันก็คงจะได้ไปเดินทางไกลกับดิวอี)
ประโยคนี้เรียกได้ว่า "ไม่น่าเลย" ให้นึกว่าสถานการณ์ที่ถูกพูดถึงนั้นเกิดขึ้นเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว "ในตอนนั้น" (อดีต) ผู้พูดไม่น่าไปตกลงรับปากจะทำงานให้ มิฉะนั้น "เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว" ก็คงจะได้ไปเดินทางไกลกับดิวอี
Type 3 หรือ Third Conditional ดูจะมีความชัดเจนที่สุด เพราะเป็น Type เดียวที่พูดถึง "เงื่อนไข" และ "ผลลัพธ์" ในอดีต
ในขณะที่ Type 0 Type 1 และ Type 2 นั้น ต้องพิจารณาดี ๆ ว่า
คำที่ใช้ [ทด] แทนคำว่า "If" |
"When"ใช้ "when" แทน "if" ในกรณีที่ค่อนข้างมั่นใจว่าว่า = ถ้าคุณเห็นมัน คุณวิ่งหนีซะ |
"Provided / Providing (that)"ใช้ "provided (that)" หรือ "providing (that)" = ฉันเชื่อใจคุณ หากว่าเธอรักคุณ |
"Should"ใช้ "should" แทน "if" ได้โดยที่ความหมาย = หากใครมาพบข้อความนี้ รีบไปแจ้งเรื่องนี้กับตำรวจซะ |
"Were"ใช้ "were" ทดแทน "if" ได้ในกรณีที่ใน = ถ้าตอนนั้นคุณกำลังเศร้า ฉันก็จะไปอยู่ข้าง ๆ คุณ |
"Had"ใช้ "had" ทดแทน "if" ได้ในกรณีที่ใน I would have thought they were dead. = หากพวกเขาไม่ตื่นขึ้นมา ฉันก็คงจะคิดว่าพวกเขาตายแล้ว |
คำที่ใช้แทนคำว่า "If + not" |
"Unless"ใช้ "unless" แทน "if + not" ได้ เพราะฉะนั้น = ฉันจะฆ่าคุณ เว้นแต่ว่าคุณจะบอกที่อยู่นั่นมา |
คำที่ใช้แทนคำว่า "will/would" |
|