กริยาที่เป็น Linking verb นั้น นอกจาก Verb to be ที่ตามด้วยคำคุณศัพท์แล้ว ยังมีคำกริยาที่สามารถตามด้วยคำคุณศัพท์ เพื่อใช้อธิบาย หรือบอกสภาพของสิ่งต่าง ๆ ได้
โดยคำกริยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ appear, prove, become, remain, consider, seem, smell, grow, sound, keep, taste, look, turn เช่น
Siri looks uncomfortable in that dress.
(ศิริดูไม่ค่อยสบายในชุดเดรสนั้น)
Sam keeps quiet when he is in the meeting.
(แซมทำตัวเงียบเมื่ออยู่ในการประชุม)
ใช้บรรยาย หรือ บอกคุณลักษณะของกรรม โดยใช้คำคุณศัพท์ (Adjectives) กริยาที่ใช้รูปแบบนี้ ได้แก่ believe, keep, consider, leave, find, like, have, think, make, hold เช่น
John considered this job interesting.
(จอห์นเล็งเห็นว่างานนี้น่าสนใจ)
I found the drink tasty.
(ฉันพบว่าเครื่องดื่มนั้นมีรสชาติที่อร่อย)
ใช้เมื่อเกิดจากความรู้สึกทั่วไป ที่ทำหน้าที่เป็น linking verb มักจะตามด้วยคำคุณศัพท์ เช่น
Sue seems angry about something.
(ซูดูเหมือนจะโกรธเกี่ยวกับเรื่องอะไรซักอย่าง)
บางครั้ง เราจะเห็นว่า seem จะตามด้วยคำว่า to be ในบางประโยค เช่น
She doesn’t seems to be ready yet.
(เธอดูเหมือนจะยังไม่พร้อมนะ)
ข้อแตกต่างระหว่าง seem และ seem to be คือ
She seems excited.
(เธอดูเหมือนว่าจะตื่นเต้นนะ)
The bus seems to be full.
(รถบัสนั้นดูเหมือนจะเต็มแล้ว)
อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างทั้งสองกรณีนี้ ไม่ได้เป็นกฎเกณฑ์ตายตัว สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งสองรูปแบบ
ใช้เมื่อเกิดจากความรู้สึกทางเสียง ทำหน้าที่เป็น linking verb จะตามด้วยคำคุณศัพท์เท่านั้นเช่นกัน แต่ที่เพิ่มเติมคือสามารถตามด้วยคำว่า like หรือ as if / though ได้ เช่น
That sounds like Sue coming to the kitchen.
(นั่นฟังดูเหมือนซูกำลังเดินเข้ามาในห้องครัว)
It sounds as if she has had a hard day.
(มันฟังดูราวกับว่าเธอไปเจอวันที่หนักเข้ามา)
It sounds as though he is hiding something.
(มันฟังดูราวกับว่าเขากำลังปกปิดอะไรบางอย่าง)