คือ clause หรือประโยคย่อย ๆ ที่ทำหน้าที่ขยายคำนามในประโยคให้ชัดเจน เพื่อทำให้เราสามารถเข้าใจและเห็นภาพได้ดียิ่งขึ้น โดยจะมี Relative pronoun ก็คือ pronoun ที่นำมาขยายคำนามที่เราต้องการ
ลองนึกภาพตามนะคะ เรากำลังซุบซิบถึงผู้หญิงตรงหน้า คนที่ใส่เสื้อแดงกระโปรงฟ้า เธอสวยโดดเด่นมาก ระยะเผาขนขนาดนั้นชี้ไม่ได้แน่นอน
"The girl is wearing a red shirt and a blue skirt. The girl is very beautiful and outstanding."
(ผู้หญิงคนนั้นใส่เสื้อเชิ้ตสีแดงและกระโปรงสีฟ้า ผู้หญิงคนนั้นสวยและโดดเด่นมาก)
เห็นอะไรไหมคะ เรากำลังกล่าวถึง The girl ซ้ำกันสองรอบ ไม่น่าฟังเลย relative pronouns จึงต้องโผล่มามีบทบาททำให้เกิด relative clause ขึ้น เป็นอย่างไร.. ไปดูกันค่ะ
จากประโยคเดิม เพิ่มเติมคือความช่วยเหลือจาก Relative Pronoun ให้ภาษาเป็นธรรมชาติและน่าฟัง
"The girl who is wearing a red shirt and a blue skirt is very beautiful and outstanding."
(ผู้หญิงคนนั้นที่ใส่เสื้อเชิ้ตสีแดงและกระโปรงสีฟ้า สวยและโดดเด่นมาก)
ส่วนของ “the girl who is wearing a red shirt and a blue skirt ” คือ Relative clause และ who ในประโยคนี้ เราเรียกมันว่า relative pronoun ค่ะ
นอกจาก ‘Who’ แล้ว ยังมี whom, which, where, whose, that ที่เป็น relative pronouns อีกด้วย
จะใช้กับ ‘คน’ ดังนี้
ใช้แทนคน ที่เป็นประธานของประโยค โดยจะมี กริยาตามหลังมา เช่น
I am the student who is the most beautiful in the school.
(ฉันคือนักเรียนผู้ที่สวยที่สุดในโรงเรียนแห่งนี้)
โดย who เข้าไปแทน a student ในประโยคที่ 2 ซึ่งทำหน้าที่เป็นประธานในประโยคที่ 2
ใช้แทนคนเช่นกันแต่เป็นคนที่เป็นกรรมในประโยค โดยมักจะถูกตามด้วยประธานของประโยคอื่น เช่น
The handsome boy, whom I spoke to yesterday, is the famous singer.
(เด็กผู้ชายหล่อ ๆ คนนั้นที่ฉันคุยด้วยเมื่อวานเป็นนักร้องดังคนนั้นแหละ)
โดยเราจะใช้ whom แทน the handsome boy ใน clause ที่ 2 และทำหน้าที่เป็นกรรมของ clause ที่ 2 และอีกจุดสังเกตอีกคำคือ หลัง whom มักจะตามด้วย ประธานและกริยา ตามลำดับ
ใช้กับคนเช่นกันเพียงแต่ต่างกันที่ whose นี้แสดงความเป็นเจ้าของของคนที่ถูกกล่าวถึง
The student, whose cell phone is pink ,broke her leg.
(นักเรียนที่มีโทรศัพท์สีชมพูขาหัก)
เราใช้ whose แทน the student’s ใน clause ที่ 2 เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของต่อคำนามที่ตามหลังมอ ดังนั้นจุดสังเกตก็คือก่อน whose มักเป็นคน และหลัง whose จะต้องเป็นคำนาม
จะเป็น relative pronoun ที่ไม่ใช้กับคน แต่จะใช้แทนสิ่งของ สัตว์ และไอเดีย ซึ่ง which นั้นสามารถเป็นได้ทั้งประธานหรือกรรมใน clause และจะต้องมี preposition หากกริยานั้น ๆ ต้องมี preposition เข้าช่วยเพื่อให้ได้ clause ที่สมบูรณ์ เช่น
I am writing a letter which is going to be sent to Jeff.
(ฉันกำลังเขียนจดหมายซึ่งจะถูกส่งไปหาเจฟ)
เมื่อรวม 2 clause นี้เข้าด้วยกันให้เป็นประโยคใหม่ which จะแทน the letter ในประโยคที่ 2 และทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค
อีกตัวอย่างหนึ่ง เช่น
I am going to reply your message which you left to me yesterday.
(ฉันกำลังจะตอบกลับข้อความที่คุณส่งมาหาฉันเมื่อวานนี้)
Which ถูกแทนเข้าไปในประโยคที่ 2 ที่หน้าหน้าที่เป็นกรรมของประโยค
ใช้กับสถานที่ (แต่ไม่ใช่ทุกสถานที่จะใช้ where) เราจะต้องพิจารณาบริบทรอบข้างให้ดี
โดยก่อนอื่น เราจะต้องเข้าใจว่า where นั้นก็คือ preposition (in / at) + which เพราะฉะนั้น clause จะต้องมี preposition เมื่อแยก clause ออกมา เช่น
I love Bangkok, the capital city of Thailand, it is where I was born.
(ฉันรักกรุงเทพฯ เมืองหลวงของประเทศไทยซึ่งเป็นบ้านเกิดของฉัน)
จะเห็นได้ว่า เมื่อแยก clause ออกมา สถานที่ที่แทนด้วย where ได้นั้น จะเกิดกับกริยาที่ต้องการ preposition (ในที่นี้กริยาคือ born ส่วนคำบุพบทคือ in) เมื่อแยกประโยคออกมาจะไม่เจอใน relative clause เพราะถือว่า where = prepostion + which ไปเรียบร้อยแล้ว
สามารถใช้แทนคำนามได้ทุกตัว ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ หรือสิ่งของ ซึ่ง that นี้มักจะเป็นตัวเลือกใช้หลัง relative pronoun แต่จะมีคำบางจำพวกที่จะต้องใช้ that เป็นตัวเลือกเดียวนั่นก็คือ clause ที่มีเหล่า some (something), every (everything), any (anything) และ no (no one, nothing) เช่น
There is something that I should tell you.
(ฉันมีบางอย่างที่ควรจะบอกคุณ)
There is nothing that I can do for you.
(มันมีอะไรที่ฉันสามารถทำเพื่อคุณได้)