Tense
Present simple, continuous, perfect
GAT
ออกสอบ
67%
O-NET
ออกสอบ
100%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
Present simple, continuous, perfect : gerund and participle
GAT
ออกสอบ
33%
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
Present simple, continuous, perfect : since, for
GAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การผันกริยา 3 ช่อง
GAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
Used to
GAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
Past simple, continuous, perfect : Question, Affirmative and Negative sentence
GAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
Future Tense (will and be going to) : Question, Affirmative and Negative sentence
GAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
Comparison of tenses
GAT
ออกสอบ
33%
O-NET
ออกสอบ
100%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย

Prepositions in relative clauses (i.e. by which)

ยอดวิว 0

แบบฝึกหัด

EASY

Prepositions in relative clauses (i.e. by which) (ชุดที่ 1)

MEDIUM

Prepositions in relative clauses (i.e. by which) (ชุดที่ 2)

HARD

Prepositions in relative clauses (i.e. by which) (ชุดที่ 3)

เนื้อหา

PREPOSITIONS IN RELATIVE CLAUSES

Preposition หรือคำบุพบทนั้น เราพบเห็นได้ทั่วไปในทุกประโยคเมื่อ verb หรือกริยานั้นต้องการคำบุพบทเพื่อให้ได้ความหมายที่ชัดเจน ซึ่งโดยส่วนใหญ่มักจะตามด้วย verb เช่น

The man whom you talked with yesterday is my brother.

แต่ หากน้อง ๆ เจอเจ้า preposition มาอยู่ใกล้ ๆ กับ relative pronoun ก็ไม่ต้องแปลกใจนะคะ มันไม่ได้น่ากลัวค่ะ ลองมาดูกัน

1. in which / at which 

อย่างแรกที่เรามักจะเจอคือสองตัวนี้ ความหมายของมันก็คือ where ค่ะ ที่เป็นเช่นนั้นเพราะว่า in กับ at นั้นมาจาก verb ของ relative clause ที่ต้องมาคู่กับ preposition เหล่านี้ ซึ่ง where สามารถใช้แทน in which หรือ at which ได้ เช่น

Once in a lifetime, I want to visit Massachusetts in which our King Rama 9 was born.
(ครั้งนึงในชีวิต ฉันอยากจะไปเมืองแมสซาชูเซตส์ ซึ่งเป็นเมืองที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ของเรานั้นเสด็จพระราชสมภพ)

หรือ

Once in a lifetime, I want to visit Massachusetts where our King Rama 9 was born.

หรือในคำถามเราก็มักจะเจอ เช่น

Which is Jaokhun's apartment?
(อันไหนคืออพาร์ทเมนท์ที่เจ้าขุนอาศัยอยู่?)
*เนื่องจากการเติม 's เป็นการแสดงความเป็นเจ้าของ ดังนั้นจึงต้องสังเกตบริบทหรือสถานการณ์ว่า ผู้พูดพูดถึงอพาร์ทเมนท์ที่เจ้าขุนอยู่ หรือ ถามหาอพาร์ทเมนท์ที่เจ้าขุนเป็นเจ้าของ

หรือเพื่อไม่ให้เกิดความสับสน สามารถขึ้นต้นคำถามดังนี้

In which apartment does Jaokhun live?
(อันไหนคืออพาร์ทเมนท์ที่เจ้าขุนอาศัยอยู่?)

ซึ่งการที่เรานำ preposition ไปไว้หน้า which ประโยคนี้ก็จะฟังดูเป็นทางการมากขึ้นค่ะ


2. on which

ซึ่งความหมายจะประมาณเดียวกับ when ค่ะ ซึ่ง when นี้จะเป็น relative pronoun ที่ใช้บอกเวลา เช่น

That day when we first met will last forever in my heart.
(ในวันนั้นที่พวกเราได้เจอกันมันจะยังคงอยู่ในใจฉันตลอดไป)

หรือ

That day on which we first met will last forever in my heart.
(ในวันนั้นที่พวกเราได้เจอกันมันจะยังคงอยู่ในใจฉันตลอดไป)

น้อง ๆ อาจจะงง ประโยคด้านบนนั้น หากเราแยก clauses ออกมาจะได้ว่า

        1. We first met on that day.

        2. That day will last forever in my heart.

นอกจากนี้ preposition ตัวอื่น ๆ ก็สามารถไปอยู่ตำแหน่งหน้า relative pronouns ตัวอื่น ๆ ได้เช่นกัน ขึ้นอยู่กับว่า กริยาใน clause นั้น ๆ จะต้องเกิดกับ preposition ตัวใด ๆ ดังเช่นประโยคแรกข้างต้น ดังนี้

The man whom you talked with yesterday is my brother.
(ผู้ชายที่คุณคุยด้วยเมื่อวานนี้คือน้องชายฉันเอง)

หรือ

To whom it may concern.
(ใครก็ตามที่เกี่ยวข้อง)
*To whom it may concern... ใช้ในการขึ้นต้นข้อความหรือจดหมายที่ไม่ระบุตัวผู้รับ ที่ต้องการให้กลุ่มคนหรือทุกคนที่เกี่ยวข้องกับเหตุในข้อความรับทราบพร้อมกัน

3. whose vs of which

ปกติ เมื่อเราจะใช้การแสดงความเป็นเจ้าของ เรามักจะใช้ whose แต่ whose นั้นเราจะใช้เมื่อสิ่งนั้นมีคนเป็นเจ้าของเท่านั้น หากสิ่งของไม่มีเจ้าของ (หรือไม่เอ่ยถึง) ละก็ เราจะต้องใช้ of which ค่ะ เช่น

มีเจ้าของ:

Clementine's house whose windows are broken was robbed last night.
(บ้านของแคลเมนไทน์หลังที่มีหน้าต่างพังนั้นถูกขโมยขึ้นบ้านเมื่อคืนนี้)

ไม่มีเจ้าของ:

The house of which windows are broken was robbed last night.
(บ้านที่มีหน้าต่างพังหลังนั้นถูกขโมยขึ้นบ้านเมื่อคืนนี้)
เพิ่มเติม: ภาษาอังกฤษตามหลักไวยากรณ์ และเป็นทางการนั้น จะไม่ลงท้ายประโยคด้วย preposition เสมอ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตาม จึงทำให้เกิดความขัดแย้งในใจของผู้ใช้ภาษาเกิดความรู้สึกว่ามันไม่น่าใช่หรือไม่ถูก ทำให้ในทางปฏิบัตินั้นทั้งเจ้าของภาษาและผู้ที่ใช้ภาษาอังกฤษเลือกที่จะลงท้ายประโยคด้วย preposition อย่างแพร่หลายในภาษาพูด เพราะมีความเป็นธรรมชาติและสามารถสื่อสารได้เข้าใจง่ายกว่า

ทีมผู้จัดทำ