Tense
Present simple, continuous, perfect
GAT
ออกสอบ
67%
O-NET
ออกสอบ
100%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
Present simple, continuous, perfect : gerund and participle
GAT
ออกสอบ
33%
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
Present simple, continuous, perfect : since, for
GAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การผันกริยา 3 ช่อง
GAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
Used to
GAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
Past simple, continuous, perfect : Question, Affirmative and Negative sentence
GAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
Future Tense (will and be going to) : Question, Affirmative and Negative sentence
GAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
Comparison of tenses
GAT
ออกสอบ
33%
O-NET
ออกสอบ
100%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย

Modal Question, Affirmative and Negative

ยอดวิว 0

แบบฝึกหัด

EASY

Modal Question, Affirmative and Negative (ชุดที่ 1)

MEDIUM

Modal Question, Affirmative and Negative (ชุดที่ 2)

HARD

Modal Question, Affirmative and Negative (ชุดที่ 3)

เนื้อหา

MODAL VERB

Modal Verb คือ กริยาช่วยที่มีทั้งความหมายและมีหน้าที่ทางไวยากรณ์ ซึ่งแต่ละตัวก็จะมีความหมายและการใช้ต่างกันไป modal verb ที่เราคุ้นชินและเห็นบ่อย ๆ ได้แก่

can

could

may

might

will

would

shall

should

must

have to

ought to


หลักการใช้ modal verb

1. การใช้ Modal verb ในรูปประโยคบอกเล่า (Affirmative)

Subject + Modal verb + V.1 + Object / Complement.

แต่เราจะมาดูการใช้ของแต่ละตัวให้ละเอียดยิ่งขึ้น

  • Can (สามารถ) ใช้เมื่อต้องการบอกความสามารถในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น
I can swim.
(ฉันว่ายน้ำเป็น)
  • Could (สามารถ) เป็น can ที่อยู่ในรูปอดีต จะใช้ในประโยค past tense เช่น
I could ride a bicycle when I was a kid.
(ฉันเริ่มขี่จักรยานได้ เมื่อตอนเด็ก ๆ)
  • May / Might (อาจจะ) ใช้เมื่อบอกความเป็นไปได้ของการกระทำหรือเหตุการณ์ใด ๆ แต่เราจะใช้ might เวลาที่ต้องการบอกว่ามีความเป็นไปได้น้อยกว่าเช่น
I may visit him if I’m not busy.
(ฉันอาจไปเยี่ยมเขา ถ้าไม่ยุ่ง)

--> แสดงว่าโอกาสที่จะไปเยี่ยมได้นั้น ยังพอมีอยู่

I might leave home early.
(ฉันอาจออกจากบ้านเช้า)

--> แสดงว่าโอกาสที่จะออกจากบ้านเช้านั้น เป็นไปได้น้อยมาก

  • Will (จะ) ใช้เมื่อบอกว่าจะกระทำสิ่งใดในอนาคต หรือก็คือใช้ในประโยค future tense เช่น
She will absolutely win this competition.
(เธอจะชนะการแข่งขันนี้อย่างแน่นอน)
  • Would (จะ / น่าจะ) เป็น will ในรูปอดีตและใช้บอกสิ่งที่ควรเป็นเวลาเราสมมติเรื่องใดเรื่องหนึ่งขึ้นมาก ซึ่งมักจะใช้ในประโยค if clause เช่น
I would have gone to Japan if I had money.
(ฉันก็คงได้ไปญี่ปุ่นถ้าตอนนั้นฉันมีเงิน) 

--> แสดงว่าในตอนนั้นผู้พูดไม่ได้มีเงิน เลยไม่ได้ไปญี่ปุ่น (เป็นเพียงการสมมติเหตุการณ์ในอดีต)

If I were superman, I would fly over the world.
(ถ้าฉันเป็นซูเปอร์แมน ฉังคงจะบินไปรอบโลก)

--> แสดงว่าผู้พูดไม่ใช่ซุปเปอร์แมน เลยไม่สามารถบินไปรอบโลกได้ (เป็นเพียงการสมมติสิ่งที่ไม่เป็นความจริง)

  • Shall (จะ) ใช้เมื่อบอกว่าจะกระทำสิ่งใดในอนาคต มีความหนักแน่นกว่า Will (จะ) แต่ปัจจุบันไม่ค่อยใช้ shall ในประโยคทั่วไปแล้ว อาจมีใช้บ้างในประโยคทางการ แต่ที่เจอส่วนใหญ่จะเจอในประโยคคำถามเพื่อชักชวน / เชื้อเชิญ เช่น
Shall we go to the cinema?
(พวกเราไปดูหนังกันไหม๊)
  • Should / Ought to (ควร) ใช้เมื่อต้องการบอกถึงสิ่งที่น่าจะทำ เป็นการเสนอแนะ โดย ought to ไม่ค่อยนิยมใช้กันแล้ว ส่วนใหญ่จะใช้ should มากกว่า เช่น
You should drink a lot of water because it’s good for your health.
(คุณควรดื่มน้ำเยอะ เพราะมันดีต่อสุขภาพ)
You ought to practice your English skills if you want to study abroad.
(คุณน่าจะฝึกฝนทักษะภาษาอังกฤษของคุณ หากต้องการที่จะไปเรียนที่ต่างประเทศ)
  • Must / Have to (ต้อง) ใช้เมื่อบอกว่าจำเป็นต้องทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยคำว่า Must ใช้เมื่อสิ่งที่กระทำนั้นมีความจำเป็นหรือมีความสำคัญต่อตัวเราเอง ส่วนคำว่า Have to ใช้เมื่อสิ่ง ๆ นั้นเป็นความจำเป็นที่คนอื่นบอกหรือมีความสำคัญที่เราต้องกระทำเพื่อส่วนรวม เช่น
I have to send the email before noon. 
(ฉันจำเป็นต้องส่งอีเมลก่อนเที่ยง)

--> ผู้พูดรู้ดีว่ามันสำคัญมากที่จะต้องส่งอีเมลให้ทันก่อนเที่ยง เพราะมิเช่นนั้นอาจเกิดความเสียหายต่อองค์กรหรือคนส่วนใหญ่หากไม่ทันการ

I must reserve flight tickets for my family.
(ฉันต้องจองตั๋วเครื่องบินให้ครอบครัว)

--> ผู้พูดแค่ตระหนักว่าตนเองมีหน้าที่สำคัญในการจองตั๋วเครื่องบินให้ทุกคนในครอบครัว เพราะไม่มีใครทำได้ (หรือไม่ทำ) หากไม่ทำเองก็จะไม่มีตั๋วสำหรับขึ้นเครื่องบิน


2. การใช้ Modal verb ในรูปประโยคคำถาม (Interrogative)

นอกจากใช้ถามปกติแล้ว เช่น Can you play piano? เรายังมักจะใช้ modal verb ในประโยคคำถาม เมื่อต้องการแสดงความสุภาพหรือขอร้อง โดยมีโครงสร้างดังนี้

Modal Verb + Subject + V.1 + Object / Complement?
  • Could

ตัวอย่าง:

Could you please close the door?
(คุณช่วยปิดประตูได้ไหมคะ)
  • May

ตัวอย่าง:

May I help you?
(ให้ช่วยอะไรไหมคะ)
  • Shall อย่างที่กล่าวไว้ก่อนหน้า shall มักจะถูกใช้ในประโยคคำถาม โดยเราจะใช้เวลาชักชวนหรือเสนอแนะ

ตัวอย่าง:

Shall we have dinner at your place?
(เราไปทานมื้อค่ำที่บ้านคุณกันไหม)
  • Should

ตัวอย่าง:

Should we be there? I don't think he needs us.
(พวกเราควรไปอยู่ที่นั่นรึเปล่า ดูเหมือนเขาไม่ต้องการความช่วยเหลือของเราหรอก)
สถานการณ์ข้างต้นหมายถึงได้ 2 กรณี ขึ้นอยู่กับสถานการณ์คือ
1. 'he' เก่งจนสามารถควบคุมสถานการณ์นั้น ๆ ได้ด้วยตัวเอง ไม่ใช่ 'he' เป็นคนหยิ่ง
2. 'he' เป็นคนหยิ่งหรือนิสัยไม่ดี พอเมื่อต้องการความช่วยเหลือ ผู้พูดเลยถามเพื่อความแน่ใจว่าพวกเขาต้องไปหา 'he' จริง ๆ รึเปล่า
  • Must ใช้ในการถามเพื่อต้องการยืนยันในสิ่งที่ (ในใจไม่อยาก) จะให้เกิดขึ้น

ตัวอย่าง:

Must we learn piano? We hate musics
(พวกเราต้องเรียนเปียโนจริง ๆ เหรอ พวกเราเกลียดดนตรี)
  • Would

ตัวอย่าง:

Would you go out with me?
(เป็นแฟนกับผมได้ไหมครับ)
*Would you go out with me*
เป็นวลีของหนุ่ม-สาวเมื่อก่อนเวลาจะขอใครเป็นแฟน ก็จะพูดประโยคนี้เพื่อชวนไปเดต เป็นการขออ้อม ๆ แทนการพูดว่า "Will you be my girlfriend / boyfriend" เพราะการออกไปเที่ยวด้วยกันสองต่อสอง ก็คล้าย ๆ การออกเดตหรือเป็นแฟนกันแล้วนั่นเอง

3. การใช้ Modal verb ในรูปประโยคปฏิเสธ (Negative)

เราสามารถทำให้ประโยคเป็นรูปปฏิเสธได้เพียงเติม not หลัง modal verb ตามโครงสร้างดังต่อไปนี้

Subject + Modal Verb (not) +  V.1 + Object / Complement.

โดยทำเป็นรูปย่อได้ดังต่อไปนี้

cannot

can’t

could not

couldn’t

may not

-

might not

mightn’t

should not

shouldn’t

will not

won’t

would not

wouldn’t

must not

mustn’t

have to

haven’t got to
Don't have to

*Have to เป็นคำกริยาที่เกิดจากคำสองคำแล้วผันไปเป็น กริยาปกติ (Regular verb) เมื่อทำให้อยู่ในรูปประโยคคำถาม หรือ ปฏิเสธ จึงต้องมีกริยาช่วยตัวอื่น ๆ อาทิ Do / Does

ตัวอย่าง:

I can’t speak Spanish fluently.
(ฉันพูดภาษาสเปนแบบคล่อง ๆ ไม่ได้)
I couldn't help her in time. I'm sorry.
(ฉันไม่สามารถช่วยหล่อนไว้ได้ทันเวลา ฉันขอโทษ)
I may not be a good person, but I'm decent enough to know what I should and shouldn't do.
(ฉันอาจไม่ใช่คนดีอะไรมาก แต่ก็ดีพอที่จะรู้ว่าอะไรที่ฉันควรและไม่ควรทำ)
I might not be back in time. If so, run away from here as far as you can.
(ฉันอาจกลับมาไม่ทันเวลา ถ้าเป็นแบบนั้นจริง ๆ วิ่งหนีไปจากตรงนี้ให้ใกล้ที่สุดเท่าที่เธอจะทำได้)
She shouldn't have cheated on the exam. 
(เธอไม่น่าโกงข้อสอบเลย)
I won't tolerate with anymore of your failures.
(ฉันจะไม่ทนกับความล้มเหลวของคุณไปมากกว่านี้อีกแล้ว)
I wouldn't do that If I were you.
(ฉันจะไม่ทำแบบนั้นถ้าฉันเป็นคุณ)
You mustn't enter, unless you are allowed to be in here.
(ห้ามคุณเข้ามา เว้นเสียแต่คุณได้รับอนุญาตให้อยู่ในห้องนี้)
You don't have to go through this alone, I'm by yourside.
(คุณไม่จำเป็นต้องฝ่าฟันไปคนเดียวหรอก ฉันอยู่ข้าง ๆ คุณ)
You haven't got to be a superhero to be good person.
(คุณไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นซุปเปอร์ฮีโร่ในการที่จะเป็นคนดี)