Tense
Present simple, continuous, perfect
GAT
ออกสอบ
67%
O-NET
ออกสอบ
100%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
Present simple, continuous, perfect : gerund and participle
GAT
ออกสอบ
33%
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
Present simple, continuous, perfect : since, for
GAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การผันกริยา 3 ช่อง
GAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
Used to
GAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
Past simple, continuous, perfect : Question, Affirmative and Negative sentence
GAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
Future Tense (will and be going to) : Question, Affirmative and Negative sentence
GAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
Comparison of tenses
GAT
ออกสอบ
33%
O-NET
ออกสอบ
100%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ยอดวิว 0

แบบฝึกหัด

EASY

Present participle (ชุดที่ 1)

MEDIUM

Present participle (ชุดที่ 2)

HARD

Present participle (ชุดที่ 3)

เนื้อหา

PRESENT PARTICIPLE

Present Participle คือการที่คำกริยา (Verb) มี -ing ต่อท้าย เช่น eating, swimming, jumping โดยสามารถทำหน้าที่ได้หลากหลาย เราจะพูดถึงต่อไปนี้

1. ทำประโยคให้เป็น Continuous tense

โดย verb + ing ต้องตามหลัง Verb to be

ตัวอย่างเช่น

That boy is playing football with his friends at school.
(เด็กผู้ชายคนนั้นกำลังเล่นฟุตบอลกับเพื่อนที่โรงเรียน)
I have been waiting for the bus for an hour. 
(ฉันรอรถเมล์มาเป็นเวลาหนึ่งชั่วโมงได้แล้ว)

2. ทำหน้าที่เป็นคำคุณศัพท์ (Adjective)

ซึ่งสามารถวางไว้ได้สองตำแหน่งคือ

  • วางอยู่หน้าคำนาม ตัวอย่างเช่น
A drowning kid is rescued immediately. 
(เด็กที่กำลังจมน้ำได้รับการช่วยเหลือในทันที)
  • วางหลัง Verb to be (ในส่วนนี้ มองเผิน ๆ อาจคล้ายประโยค Continuous แต่ที่จริงแล้ว Verb + ing ตรงนี้เป็นส่วนขยายประธาน) ตัวอย่างเช่น
This book is interesting for dog lovers. 
(หนังสือเล่มนี้น่าสนใจสำหรับคนที่รักสุนัข)

3. ทำหน้าที่เหมือน Adjective Clauses

ซึ่งเป็นส่วนขยายของคำนามนั่นเอง (ที่มีคำ เช่น who, which, that เป็นต้น) โดยที่เราจะวาง verb + ing ไว้ข้างหลังคำนาม

ตัวอย่างที่ 1 เช่น

The woman sitting near the window is my English teacher. 
(ผู้หญิงที่นั่งติดหน้าต่างเป็นครูสอนภาษาอังกฤษของฉันเอง)

*ที่บอกว่าเหมือน Adjective Clauses เพราะเป็นรูปที่ย่อมาจากประโยคเต็ม คือ

The woman who is sitting near the window is my English teacher. 
(ผู้หญิงคนที่นั่งติดหน้าต่างอยู่เป็นครูสอนภาษาอังกฤษของฉันเอง)

ตัวอย่างที่ 2 เช่น

They told me about the tour package offering various services during the trip. 
(พวกเขาเล่าให้ฉันฟังเรื่องแพคเกจทัวร์ที่ให้บริการหลายอย่างตลอดทริป)

ประโยคเต็ม คือ

They told me about the tour package that offered various services during the trip.
(พวกเขาเล่าให้ฉันฟังเรื่องแพคเกจทัวร์ที่ให้บริการหลายอย่างตลอดทริป)

4. เมื่อต้องการรวมประโยคสองประโยคที่มีประธานตัวเดียวกัน

ซึ่งทำได้โดย ตัดประธานของประโยคที่เกิดก่อน แล้วเติม -ing หลัง verb จากนั้นใส่ comma (,) แล้วเติมประโยคที่สองโดยคงรูปเดิมไว้

Present Participle(เกิดก่อน) + Main clause(เกิดหลัง)

ตัวอย่างเช่น

(when) She walked
by the crowd.

She met
her long-time friend
by chance.

Walking by the crowd,
she met her long-time friend by chance.

ตอนที่เดินผ่านฝูงชน
เธอก็ได้เจอเพื่อนที่คบมานานโดยบังเอิญ

นอกจากนี้ยังสามารถวาง Present Participle ไว้ข้างหลังคำกริยาได้ เมื่อประธานกระทำสองสิ่งพร้อมกัน โดยมีกฎอยู่ว่าหาก Present Participle ไม่ติดกับคำกริยา เพราะมีส่วนขยาย (modifiers) ของคำกริยาคั่นให้ใส่ comma (,) หากไม่มีก็ไม่ต้องใส่

Subject + Verb (modifiers) + Present Participle
  • ตัวอย่างที่คำกริยามีส่วนขยาย
He walked on the street, looking for his missing cat. 
(เขาเดินตามถนน มองหาแมวที่หายไป)
  • ตัวอย่างที่คำกริยาไม่มีส่วนขยาย
He stood talking with foreigners.
(เขายืนคุยอยู่กับชาวต่างชาติ)

5. ทำหน้าที่ขยายกรรมของประโยค

ที่มีคำกริยาที่แสดงออกถึงการรับรู้ เช่น hear, see, find, notice, etc.

Subject + Verb + Object + Present Participle

ตัวอย่างเช่น

I saw him sleeping under the tree this morning. 
(ผมเห็นเขานอนหลับใต้ต้นไม้เมื่อเช้านี้)
My mother found my sister passing out in the toilet. 
(แม่เจอน้องสลบอยู่ในห้องน้ำ)