จะมี 2 ความสามารถใหญ่ ๆ ได้แก่
ความสามารถที่จะพูดถึงสิ่งที่มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้น
ความสามารถที่จะพูดถึงสิ่งที่ไม่มีทางที่จะเกิดขึ้น
เรามาทำความรู้จักกับความสามารถที่จะพูดถึงสิ่งที่มีความเป็นไปได้กันก่อน นั่นก็คือ Type 0 หรือ Zero Conditional
เราจะดึงความสามารถ Type 0 หรือ Zero Conditional มาใช้ ใน 3 กรณีดังต่อไปนี้
ตัวอย่าง
If people throw green apples off the balcony, the green apples fall.
(ถ้าคนเราโยนแอปเปิ้ลเขียวออกจากระเบียง แอปเปิ้ลเขียวก็จะร่วงลงมา)
"ไม่ว่าวันนี้ ไม่ว่าวันไหน ยังไง ยังไง ..." ถ้าเกิด "เงื่อนไข" ที่ว่าคนเราโยนแอปเปิ้ลเขียวออกจากระเบียงแล้ว "ผลลัพธ์" ที่ว่าแอปเปิ้ลเขียวก็จะร่วงลงมา ก็จะเกิดขึ้นตามมาอย่างแน่นอน
ตัวอย่าง
If peopleeat green apple, people get many kinds of vitamins.
(ถ้าคนเราทานแอปเปิ้ลเขียวคนเราก็จะได้รับวิตามินหลากหลายชนิด)
"ไม่ว่าวันนี้ ไม่ว่าวันไหน ยังไง ยังไง ..." ถ้าเกิด "เงื่อนไข" ที่ว่าคนเราทานแอปเปิ้ลเขียวแล้ว "ผลลัพธ์" ที่ว่าคนเราได้รับวิตามินหลากหลายชนิดนั้นก็จะเกิดขึ้นตามมาอย่างแน่นอน
ตัวอย่าง
If Vanelty sees those green apples, she eats them all.
(ถ้าวาเนลทีเห็นแอปเปิ้ลเขียววาเนลทีจะทานแอปเปิ้ลเขียวที่มีอยู่จนหมด)
"ไม่ว่าวันนี้ ไม่ว่าวันไหน ยังไง ยังไง ..." ถ้าเกิด "เงื่อนไข" ที่ว่าวาเนลทีเห็นแอปเปิ้ลเขียวเหล่านั้นแล้ว "ผลลัพธ์" ที่ว่าวาเนลทีทานแอปเปิ้ลเขียวที่มีอยู่จนหมดนั้น ก็จะเกิดขึ้นตามมาอย่างแน่นอน
จะเห็นได้ว่า เมื่อเราต้องการพูดถึง "เงื่อนไข" และ "ผลลัพธ์" ที่มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นได้จริงเสมอ ๆ ไม่จำกัดเวลา ไม่ว่าวันนี้ ไม่ว่าวันไหน เราก็จะเรียกใช้ Type 0 หรือ Zero Conditional ค่ะ
If it is cool, it is good.
(ถ้าอากาศดี มันก็ดี)
จากตัวอย่างนี้ อาจจะเดาได้ว่าผู้พูดน่าจะอยู่ในที่ที่มีอากาศดี "ไม่ว่าวันนี้ ไม่ว่าวันไหน ยังไง ยังไง ..." ถ้า "เงื่อนไข" ที่ว่าอากาศมันดี "ผลลัพธ์" หรืออีกสิ่งดี ๆ ที่ว่า มันก็จะเกิดตามมา เช่น อากาศบนดอยนั้นดี การนั่งจับมือของฉันและเธอก็จะดีเช่นกัน
ตามตัวอย่างว่าด้วยเรื่องแอปเปิ้ลเขียว
Conditional Clause, Result Clause. "เงื่อนไข" ที่จะเกิดขึ้นได้เสมอ, |
|
เห็นได้ว่า "throw" "eat" "sees" ซึ่งเป็นคำกริยาใน Conditional Clause อยู่ในรูปแบบของคำกริยาที่อยู่ใน Present Simple Tense
ส่วน "fall" "get" "eats" ซึ่งเป็นคำกริยาใน Result Clause ก็อยู่ในรูปแบบของคำกริยาที่อยู่ใน Present Simple Tense เช่นกัน
เราสามารถใช้คำว่า "When" แทนคำว่า "If" ใน Conditional Clause ได้ในกรณีที่ "เงื่อนไข" นั้น ๆ มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นจริง ได้แก่ กรณีที่เราใช้ Type 0 หรือ Zero Conditional และ Type 1 หรือ First Conditional
ตัวอย่าง 1
If it is cool, it is good.
When it is cool, it is good.
= (ถ้า / เมื่ออากาศดี มันก็ดี)
ตัวอย่าง 2
If / When people throw green apples off the balcony, the green apples fall.
(ถ้า / เมื่อคนเราโยนแอปเปิ้ลเขียวออกจากระเบียง แอปเปิ้ลเขียวก็จะตกลง)
ตัวอย่าง 3
If / When people eat green apple, people get many kinds of vitamins.
(ถ้า / เมื่อคนเราทานแอปเปิ้ลเขียว คนเราก็จะได้รับวิตามินหลากหลายชนิด)
ตัวอย่าง 4
If / When Vanelty sees those green apples, she eats them all.
(ถ้า / เมื่อวาเนลทีเห็นแอปเปิ้ลเขียวเหล่านั้น วาเนลทีจะทานแอปเปิ้ลเขียวที่มีอยู่จนหมด)
เราสามารถใช้คำว่า "Unless" แทนคำว่า "If" ได้เช่นกัน แต่จะค่อนข้างสับสนนิดหน่อย เพราะว่า "Unless" ไม่ได้แทนคำว่า "If" คำเดียว แต่มันแทน "If + not"
ตัวอย่าง 1
If it is cool, it is good.
(ถ้าอากาศดี มันก็ดี (ผู้พูดชอบอากาศที่ดี))
Unless it is cool, it is good.
(ถ้าอากาศไม่ดี มันก็ดี (ผู้พูดไม่ต้องการอากาศที่ดี))
ตัวอย่าง 2
If it is not cool, it is not good.
Unless it is cool, it is not good.
หรือ
Unless it is cool, it is bad.
= (ถ้าอากาศไม่ดี มันก็จะไม่ดี)
ตัวอย่าง 3
If / When Vanelty does not see those green apples, she does not eat them all.
Unless Vanelty sees those green apples, she does not eat them all.
= (ถ้า / เมื่อวาเนลทีไม่เห็นแอปเปิ้ลเขียว วาเนลทีก็ไม่ทานแอปเปิ้ลเขียวที่มีอยู่จนหมด)