คือ คำสันธานที่ประกอบด้วยกันหลายคำ และเวลาใช้ก็ต้องใช้ด้วยกันเสมอ ซึ่งการใช้ก็มีลักษณะเหมือน Coordinating Conjunction คือใช้เชื่อมประโยคที่มีใจความสมบูรณ์สองประโยคเข้าด้วยกัน มีดังนี้
ใช้เมื่อต้องการพูดถึงสองสิ่งที่มีทิศทางหรือการกระทำไปในทางเดียวกัน
ตัวอย่างเช่น
[เพื่อนสองคนกำลังคุยเรื่องสิ่งที่ชอบ]
A : Do you like pets? What kinds of pet?
B : I love both cats and dogs.
A : Me too, dog is my favourite though.
A : เธอชอบสัตว์เลี้ยงไหม? ประเภทไหน?
B : ฉันรักทั้งแมวและหมาเลย
A : เหมือนกัน แต่ฉันชื่นชอบหมาที่สุดนะ
ใช้เมื่อต้องการเพิ่มข้อมูล
ตัวอย่างเช่น
[ผู้ชายถามเพื่อนสาวว่าคนที่ตนแอบชอบเป็นยังไง]
A : I want to take Meena out on a date, what does she like to do?
B : She enjoys not only watching movies in a theater but also going to concerts.
A : I think a theater would be more romantic, thanks for the info.
A : ฉันอยากจะชวนมีนาไปออกเดท เธอชอบทำอะไรบ้าง?
B : เธอไม่ได้แค่ชอบการดูหนังในโรงเท่านั้น แต่ยังชอบไปดูคอนเสิร์ตอีกด้วย
A : ฉันว่าโรงหนังน่าจะโรแมนติกมากกว่านะ ขอบใจสำหรับข้อมูล
*นอกจากนี้ not only...but also ยังสามารถเขียนได้ อีกรูปแบบ โดยการสลับตำแหน่ง
ตัวอย่างเช่น
[ผู้พูดกำลังสาธยายความรันทดของแฟนเขา]
A : It was raining then, she didn't listen to me and rushed to the bus stop to catch the last bus. Not only did she miss it, but also got wet in the rain.
B : Lucky she didn't catch any cold.
A : ตอนนั้นฝนตก เธอไม่ยอมฟังที่ฉันพูดแล้ววิ่งออกไปที่ป้ายรถเมล์เพื่อไปเรียกรถเที่ยวสุดท้าย ไม่ใช่แค่เธอพลาดรถเที่ยวสุดท้ายนะ แต่ยังเปียกฝนอีกด้วย
B : โชคดีนะที่เธอไม่ได้ติดหวัดจากฝน
ใช้เมื่อเลือกหรือพูดถึงอย่างใดอย่างหนึ่ง
ตัวอย่างเช่น
[นักศึกษากำลังถามอาจารย์เกี่ยวกับเอกสารประกอบการเรียนการสอน]
A : Teacher, do we need to use this handout every day?
B : Yes, however, you can either print this file out or capture the screen. As long as you can read the text during my teaching, it's fine.
A : อาจารย์ครับ พวกเราต้องใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอนนี้ทุกวันเลยเหรอครับ?
B : ใช่ แต่ว่า พวกเธอสามารถพิมพ์ออกมาหรือไม่ก็ถ่ายภาพหน้าจอไว้ก็ได้ ตราบใดที่พวกเธอยังสามารถอ่านข้อความของมันได้ในขณะที่ฉันสอน ก็โอเค
ใช้กับประโยคปฏิเสธ จึงไม่ต้องผันคำกริยาเป็นรูปปฏิเสธอีก
ตัวอย่างเช่น
[แม่เพื่อนทำอาหารให้เพื่อนอีกคนหนึ่งกิน]
A : Here, have some broccoli soup.
B : Ew! No!
A : Why? Don't you like it?
B : No, I don't! I neither eat vegetables nor fruits.
A : นี่จ้ะ ซุปบร็อคโคลี่
B : อี๋! ไม่เอา!
A : ทำไมล่ะ? ไม่ชอบเหรอ?
B : ผมไม่ชอบ ผมไม่กินทั้งผักและผลไม้เลย
* เราสามารถวาง nethier ไว้หน้าประโยคได้เช่นกัน โดยมีโครงสร้างคือ
ตัวอย่างเช่น
[เพื่อนกำลังชมเรื่องอาหารในงานเลี้ยงที่จัดขึ้น]
A : The food in this party are great, I love it! Your mom is very good.
B : Actually..You wouldn't say that if you were I.
A : Why not?
B : Neither did my mom prepare food nor did she bake cookies for the party. She can't cook.
A : Then where did all these food come from...?
A : อาหารในงานเลี้ยงนี้เยี่ยมไปเลย ฉันชอบมาก! แม่นายนี่เก่งจริง ๆ
B : จริง ๆ แล้ว...ถ้านายเป็นฉันนายจะไม่พูดแบบนั้นหรอก
A : ทำไมล่ะ?
B : แม่ฉันทั้งไม่ใช่คนที่เตรียมอาหาร และก็ไม่ได้อบคุ้กกี้สำหรับงานเลี้ยงนี้ด้วย เธอทำอาหารไม่เป็น
A : ถ้างั้นอาหารพวกนี้มาจากไหนกัน...?
ใช้เมื่อต้องการสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากกว่าอีกสิ่งหนึ่ง
ตัวอย่างเช่น
[เพื่อนสองคนไปซื้อของกินด้วยกัน แต่กำลังจะถึงเวลาเรียน]
A : Oh no! The class is about to begin in 2 minutes!
B : Calm down. Just continue walking , then, we should be there on time.
A : I rather run than walk from here to the class. I won't risk it!
B : HEY! You're spilling your drinks everywhere!
A : ไม่นะ! คาบเรียนจะเริ่มในอีก 2 นาที!
B : ใจเย็น ๆ ก็แค่เดินต่อไป แล้วเดี๋ยวพวกเราก็ไปถึงตรงเวลาพอดี
A : ฉันจะวิ่งแทนที่จะเดินจากตรงนี้ดีกว่า ฉันไม่ยอมเสี่ยงหรอก!
B : เห้ย! นายทำน้ำหกไปหมดแล้ว!
ใช้เมื่อบอกว่าพอเหตุการณ์หนึ่งจบ ก็เกิดอีกเหตุการณ์ทันที หมายความเหตุการณ์ทั้งสองนั้นเกิดขึ้นเกือบพร้อมกัน (ห่างกันไม่กี่วินาที / นาที)
โครงสร้าง no sooner ต้องอยู่ในประโยค...
ตัวอย่างเช่น
[เพื่อนกำลังถามเพื่อนว่ามาเยี่ยมบ้านเป็นอย่างไรบ้าง]
A : How do you find my relatives?
B : They're very nice to me, but there's this one thing.
A : What is it?
B : Your grandmother, she tried to cook food for me but they were too much. I had no sooner finished the main course than the dessert was served. Then more dishes came after and after.
A : That's just my grandma. She wanted to make sure that you had enough to eat.
A : ญาติ ๆ ฉันเป็นยังไงบ้าง?
B : ทุกคนดีกับฉันหมดเลยนะ แต่มีอยู่อย่างหนึ่ง
A : อะไรล่ะ?
B : ยายของนาย แกพยายามทำอาหารให้ฉันกิน แต่มันเยอะเกินไป ทันทีที่ฉันกินอาหารจานหลักเสร็จ แกก็เสิร์ฟของหวานต่อทันที แล้วก็ยังมีจานอื่น ๆ ตามมาอีกเรื่อย ๆ
A : ยายฉันเป็นอย่างนั้นแหละ แกแค่อยากจะให้มั่นใจว่านายได้กินเพียงพอแล้ว
ใช้เพื่อบอกว่าเหตุการณ์หรือกระทำสองอย่างที่ได้หรือมีเท่ากัน
ตัวอย่างเช่น
[เด็กสองคนกำลังอวดคุณสมบัติยอดมนุษย์ของตนที่ชื่นชอบ]
A : What's your favourite superhero?
B : The Flash!
A : What is his ability?
B : He runs as fast as the speed of light, you?
A : Batman.
B : You know he doesn't have any superpowers, right?
A : He isn't as strong as the others, but he's the richest of all.
A : ยอดมนุษย์ที่นายชื่นชอบที่สุดคือใคร?
B : เดอะแฟลช!
A : ความสามารถของเขาคืออะไร?
B : เขาสามารถวิ่งได้เร็วเท่ากับความเร็วของแสงเลยนะ นายล่ะ?
A : แบทแมน
B : นายรู้ใช่ไหมว่าเขาไม่มีพลังวิเศษอะไรเลย?
A : เขาไม่ได้เก่งเท่าคนอื่น ๆ แต่ว่าเขารวยที่สุดในบรรดายอดมนุษย์แล้วแหละ