Tense
Present simple, continuous, perfect
GAT
ออกสอบ
67%
O-NET
ออกสอบ
100%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
Present simple, continuous, perfect : gerund and participle
GAT
ออกสอบ
33%
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
Present simple, continuous, perfect : since, for
GAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การผันกริยา 3 ช่อง
GAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
Used to
GAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
Past simple, continuous, perfect : Question, Affirmative and Negative sentence
GAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
Future Tense (will and be going to) : Question, Affirmative and Negative sentence
GAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
Comparison of tenses
GAT
ออกสอบ
33%
O-NET
ออกสอบ
100%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ยอดวิว 0

แบบฝึกหัด

EASY

Coordinating Conjunction (ชุดที่ 1)

HARD

Coordinating Conjunction (ชุดที่ 2)

เนื้อหา

COORDINATING CONJUNCTION

Coordinating Conjunction คือ คำสันธานที่ใช้เชื่อมประโยคที่สมบูรณ์สองประโยคเข้าด้วยกัน โดยประโยคที่ว่านี้ ต้องเป็นประโยคที่แยกจากกันก็ยังมีความหมายครบถ้วนไม่เปลี่ยนแปลง

คำสันธานที่ใช้หลัก ๆ ในกลุ่มนี้ก็คือ for, and, nor, but, or, yet, so และเพื่อให้จำง่ายขึ้น เราอาจเรียกย่อ ๆ ว่า FANBOYS (มาจากอักษรย่อของแต่ละคำนั่นเอง)

1. FOR

ใช้เชื่อมประโยคที่ให้เห็นจุดประสงค์ของการกระทำ คล้ายกับ because แต่ว่า for จะเป็น coordinating conjunction หมายความว่าประโยคหน้าและหลังจะมีความสำคัญเท่ากัน ในขณะที่ because ประโยคที่เป็นสาเหตุนั้นไม่สำคัญเท่าผลที่กำลังเกิดขึ้น

ยกตัวอย่างเช่น

[พยาบาลสองคนกำลังคุยกันพูดถึงญาติคนไข้ที่สีหน้าไม่ดี]

A : Why does she look so awful?
B : She was crying all night, for her mother has Stage 3 cancer.

A : ทำไมสภาพหล่อนดูแย่จัง
B : เธอร้องไห้ทั้งคืนเลย เนื่องจากแม่ของเธอเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย

กับ

A : Why does she look so awful?
B : She was crying all night because her mother has Stage 3 cancer.

A : ทำไมสภาพหล่อนดูแย่จัง
B : เธอร้องไห้ทั้งคืนเลย เพราะแม่ของเธอเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย

จะเห็นได้ว่าหากใช้ for ผู้พูดต้องการแสดงความสำคัญของเหตุที่ทำให้ร้องไห้ และผลจากการร้องไห้ ในขณะที่ถ้าใช้ because ผู้พูดต้องการจะตอบแค่ว่าทำไมสภาพของหล่อนถึงดูแย่ (ก็เพราะร้องไห้มาทั้งคืน) ส่วนประโยคที่ตามมาเป็นส่วนเสริมเฉย ๆ

2. AND

ใช้เชื่อมประโยคที่ความหมายสอดคล้องไปในทางเดียวกัน โดยจะต้องมีประธานของประโยคถึง 2 คนที่มีความเหมือนในเรื่องเดียวกันหรือคล้ายกัน

ยกตัวอย่างเช่น

[ผู้ชายสองคนนั่งคุยกันเรื่องจีบผู้หญิง]

A : How's your day?
B : Great! I just met a girl named Lula and Kaosuay.

A : วันนี้เป็นไงมั่ง?
B : เยี่ยมเลย! ฉันได้ไปเจอผู้หญิงชื่อว่า ลุลา และ ข้าวสวย ด้วย

(ต่อ)

A : You're so lucky. Which girl do you like?
B : Lula, I love studying and she love going to school, too. We have something in common.

A : นายนี่มันโชคดีจัง แล้วชอบคนไหนล่ะ?
B : ลุลา ฉันรักในการเรียนหนังสือและเธอก็ชอบไปโรงเรียนด้วย เราสองคนต่างก็มีบางอย่างที่เหมือนกันอยู่

จะเห็นได้ว่า and ในแบบแรกนั้น ผู้พูดชี้แจงว่าเจอใครและใคร ซึ่งมาจาก
I just met a girl named Lula. กับ
 I just met a girl named Kaosuay.
ในเมื่อ 2 ประโยคมีความเหมือนกันต่างกันแค่คน จึงทำการรวบประโยคเข้าด้วยกันแล้วเชื่อมด้วย and และเพิ่มชื่อคนไปข้างหลัง แสดงให้เห็นถึงความคล้อยตามกัน
ในแบบที่สองนั้น ผู้พูดชี้แจงว่าตัวเขาและเธอมีอะไรคล้ายๆ กัน มาจาก
I love studying. กับ She love going to school.
จะเห็นได้ว่าสิ่งที่ทั้งคู่รักในการทำนั้นอยู่ในหมวดเดียวกัน หรือคล้ายกัน จึงเชื่อมสองประโยคนี้เข้าด้วยกันให้เห็นถึงความคล้อยตามกัน

3. NOR 

ใช้เชื่อมประโยคที่มีความหมายในเชิงปฎิเสธหรือติดลบทั้งคู่ ในบางครั้งสามารถใช้คู่กับ Neither เพื่อเพิ่มความเป็นทางการมากขึ้น

โครงสร้าง

Negative Sentence, + nor + auxiliary verb + Subject + Main verb

ยกตัวอย่างเช่น

[พี่ชายกำลังบ่นเรื่องน้องสาวของตัวเอง]

A : Why the long face?
B : It's my younger sister, she cannot cook nor can she do chores.

A : ทำไมทำหน้าบูดอย่างนั้น ?
B : น้องสาวฉันหน่ะสิ เธอ
ทำอาหารไม่เป็นแถมทำงานบ้านก็ไม่ได้อีก

กับ

A : Why the long face?
B : It's my younger sister. Neither she can cook nor can she do chores.
จะเห็นได้ว่าทั้งสองแบบนั้นมีความหมายเดียวกัน แต่ต่างกันที่คำติดลบกับตำแหน่งของคำ โดยคำติดลบในประโยคแรกนั้นคือ cannot (not) ส่วนประโยคที่สองคือ Neither หากไม่มีความหมายติดลบ จะไม่สามารถใช้คำว่า nor ได้เด็ดขาด

4. BUT

ใช้เชื่อมประโยคที่มีความหมายขัดแย้งโดยสิ้นเชิง จะมีความสัมพันธ์ที่เป็น + กับ - ตั้งใจเกิดขึ้นเพื่อให้ขัดแย้งและไม่มีวันคล้อยตามกัน

ยกตัวอย่างเช่น

[เด็ก ๆ กำลังทะเลาะกันเรื่องเล่นกีฬา คุณครูจึงเข้ามาห้าม]

A : Hey! Stop it all of you. What's going on?
B : It's Prame, we want to play football but he wants to play badminton.

A : นี่! หยุดเลยนะทุกคน มันเกิดอะไรขึ้น?
B : ก็เปรมหน่ะสิครับ พวกเราอยากจะเล่นฟุตบอล แต่เขาอยากจะเล่นแบดมินตัน

จะเห็นได้ว่าเด็กอีกกลุ่มต้องการที่จะเล่นฟุตบอล ในขณะที่เปรมคนเดียวอยากจะเล่นแบดมินตัน เป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นและไม่สามารถคล้อยตามกันได้ สามารถทำให้เป็นรูปย่อโดยเปลี่ยนประธานในประโยคที่สอง (he) ให้เป็นกรรม (him) ได้ดังนี้
It's Prame, we want to play football but him.
แม้จะลดรูป แต่ความหมายก็ยังคงเดิม

5. OR

ใช้เชื่อมประโยคที่สื่อว่าให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง *จะต้องเป็นเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในขณะถูกบังคับหรือจำใจที่จะต้องเลือก คล้าย ๆ กับ nor ในบางครั้งสามารถใช้คู่กับ Either เพื่อเพิ่มความเป็นทางการมากขึ้น

ยกตัวอย่างเช่น

[แฟนนอกใจแฟนและถูกจับได้ จึงเกิดรักสามเศร้าขึ้น]

A : Go on! Choose whom you are going to be with. It's me or Nes!
B : Please, I can't do this. I love both of you.

A : เอาเลย! เลือกเอาว่าจะอยู่กับใคร ฉันหรือเนส!
B : ขอร้องล่ะ ฉันทำไม่ได้หรอก ฉันรักทั้งสองคนเลย

กับ

A : Go on! Choose whom you are going to be with. It's either me or Nes!
B : Please, I can't do this. I love both of you.
จะเห็นได้ว่าทั้งสองแบบนั้นมีความหมายเดียวกัน ตำแหน่งการวางก็จะคล้าย ๆ Neither...nor เพียงแต่ Either...or หรือ or เฉย ๆ นั้นจะใช้เมื่อต้องเลือกระหว่างสิ่งใดกับสิ่งหนึ่ง

6. YET 

ใช้เชื่อมประโยคไม่ได้ใช้เพื่อแสดงความขัดแย้งโดยตรง แต่ใช้เพื่อแสดงให้เห็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกันโดยสิ้นเชิง (ขาว-ดำ) (สูง-เตี้ย) (ชั่ว-ดี)

ยกตัวอย่างเช่น

[เพื่อนคุยกันเรื่องต้องไปทำงานตอนเช้า]

A : I have to wake up early, yet I am still awake late at night.
B : Same here, it's because I can't sleep.

A : ฉันจะต้องตื่นเช้า แต่ฉันก็ยังอยู่ดึกอยู่เลย
B : เหมือนกัน มันเป็นเพราะว่าฉันนอนไม่หลับ

กับ

A : I have to wake up early, but I can't sleep because of the pills.
B : Me too, I can't sleep.

A : ฉันจะต้องตื่นเช้า แต่ฉันนอนไม่หลับเพราะยาที่กินไป
B : ฉันก็เหมือนกัน ฉันก็นอนไม่หลับ

จะเห็นได้ว่าทั้งสองแบบนั้นมีความหมายเดียวกัน แต่คำว่า but และ yet มีเส้นบาง ๆ กั้นอยู่ โดยคำว่า but นั้นแสดงให้เห็นชัดเจนว่าเป็นไปไม่ได้ (ไม่คล้อยตามกัน) ในขณะที่ yet คือสิ่งที่เกิดขึ้นตรงกันข้ามกับที่ควรจะเป็น แต่สามารถทำให้เกิดขึ้นได้ในอนาคต

7. SO 

ใช้เชื่อมประโยคที่เป็นเหตุเป็นผลกัน มักใช้คู่กับ because

ยกตัวอย่างเช่น

[A บอกเล่าให้เพื่อนฟังว่าไปทำอะไรมาเมื่อกลางวัน]

B : Where did you go at lunch time?
A : I was very hungry, so I went to the nearest restaurant to have lunch.

B : นายหายไปไหนมาเมื่อตอนเที่ยง?
A : ฉันหิวมาก ก็เลยไปกินข้าวเที่ยงที่ร้านอาหารที่ใกล้ที่สุด

กับ

B : Why didn't you come with us?
A : Because I was very hungry, so I went to the nearest restaurant to have lunch.

B : ทำไมนายไม่มากับพวกเรา?
A : เพราะว่าฉันหิวมาก ฉันจึงไปกินข้าวเที่ยงที่ร้านอาหารที่ใกล้ที่สุดมา

จะเห็นได้ว่าทั้งสองแบบนั้นมีความหมายเดียวกัน แต่เมื่อใช้ because
จะต้องถูกถามด้วย WHY ก่อน แล้วจึงตอบเพื่ออธิบายเหตุโดยใช้ because ขึ้นต้นประโยคแล้วจึงใช้ so เพื่อบอกผล