ประวัติศาสตร์ไทยสมัยก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 (ก่อนสมัยสุโขทัย)
ประวัติความเป็นมาของชนชาติไทย
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
รัฐโบราณในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: ฟูนัน-สุวรรณภูมิ
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
รัฐโบราณในบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา: ทวารวดี (อู่ทอง นครปฐม และละโว้)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
รัฐโบราณในบริเวณภาคใต้ของไทย: ลังกาสุกะ ตักโกละ ตามพรลิงค์ และศรีวิชัย
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
รัฐโบราณในบริเวณภาคเหนือของไทย: โยนกเชียงแสน และหริภุญชัย
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ประวัติศาสตร์ไทยสมัยหลังพุทธศตวรรษที่ 19 (สมัยการสถาปนาราชธานีของอาณาจักรไทย)
กรุงสุโขทัย
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กรุงศรีอยุธยา
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กรุงธนบุรี
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงรัชกาลที่ 1-3
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงรัชกาลที่ 4-5
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
100%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงรัชกาลที่ 6-8
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงรัชกาลที่ 9
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
100%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
บุคคลสำคัญกับการสร้างสรรค์วัฒนธรรมไทย
บุคคลสำคัญในช่วงก่อนกรุงรัตนโกสินทร์
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
บุคคลสำคัญในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ 1
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
บุคคลสำคัญในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ 2
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
บุคคลสำคัญในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ 3
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
บุคคลสำคัญในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ 4
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
บุคคลสำคัญในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ 5
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย

การปฏิรูปสังคมและการปกครองไทยในสมัยรัชการที่ 5

ยอดวิว 0

แบบฝึกหัด

EASY

การปฏิรูปสังคมและการปกครองไทยในสมัยรัชการที่ 5 (ชุดที่ 1)

HARD

การปฏิรูปสังคมและการปกครองไทยในสมัยรัชการที่ 5 (ชุดที่ 2)

news

การปฏิรูปสังคมและการปกครองไทยในสมัยรัชการที่ 5

เนื้อหา

        ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงได้ปฏิรูปการปกครองแผ่นดินขนานใหญ่ ควบคู่ไปกับการปฏิรูปเศรษฐกิจและสังคม ทั้งนี้ก็เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์บ้านเมืองและ สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปตามอิทธิพลของชาติตะวันตกที่ต้องการเข้ามาล่าอาณานิคม

มูลเหตุสำคัญที่ผลักดันให้มีการปฏิรูป
การปกครองมีอยู่ 2 ประการ
คือ

        1.  มูลเหตุภายใน ทรงพิจารณาเห็นว่าการปกครองแบบเดิมไม่เหมาะสมกับสภาพทางการปกครองและทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น สยามมีประชากรเพิ่มขึ้น การคมนาคมและการติดต่อสื่อสารเริ่มมีความทันสมัยมากขึ้น การปกครองแบบเดิมจะมีผลทำให้ประเทศชาติขาดเอกภาพในการปกครอง และขาดประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดิน ทำให้พัฒนาได้ยาก

        2.  มูลเหตุภายนอ ทรงพิจารณาเห็นว่า หากไม่ทรงปฏิรูปการปกครองแผ่นดินย่อมจะเป็นอันตรายต่อเอกราชของชาติ เพราะในขณะนั้นจักรวรรดินิยมตะวันตก ได้เข้ามาแสวงหาอาณานิคมในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ จนสยามต้องยินยอมให้ประเทศตะวันตกหลายประเทศมีสิทธิภาพนอกอาณาเขต คือ สามารถตั้งศาลกงสุลขึ้นมาพิจารณาความคนในบังคับของตนได้ โดยไม่ต้องอยู่ใต้การบังคับของศาลสยาม เพราะอ้างว่า ศาลสยามล้าสมัย
        จากสาเหตุดังกล่าวทำให้รัชกาลที่ 5 ต้องทำการปฏิรูปหลายด้าน ได้แก่ การยกเลิกระบบไพร่ การเลิกทาส การปฏิรูปการศึกษา และการปฏิรูปการปกครอง (ยกเลิกระบบจตุสดมภ์)

การปฏิรูปสังคมและการปกครองไทย
ในสมัยรัชการที่ 5

        พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีแนวความคิดในการปฏิรูปการปกครองอยู่ 3 ประการ คือ

        1.  การรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลางมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อมิให้ชาติตะวันตกอ้างเอาดินแดนไปยึดครองอีก ถ้าอำนาจของรัฐบาลกลางแผ่ไปถึงอาณาเขตใด ก็เป็นการยืนยันว่าเป็นอาณาเขตของสยาม
        2.  การศาลและกฎหมายที่มีมาตรฐาน จากการยอมเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตในรัชกาลที่ 4 เป็นเพราะประเทศมหาอำนาจต่างอ้างว่าศาลสยามล้าหลัง ไม่ได้มาตรฐาน ดังนั้น
รัชกาลที่ 5 จึงทรงมีพระราชดำริที่จะปรับปรุงการศาลยุติธรรมและกฎหมายไทยให้เป็นสากลมากขึ้น
        3.  การพัฒนาประเทศ พระองค์ทรงริเริ่มนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาใช้เพื่อพัฒนาประเทศ เช่น
โปรดฯให้สร้างถนน, ขุดคูคลอง, จัดให้มีการรูปแบบปกครองใหม่, ไฟฟ้า, ประปา, ไปรษณีย์, โทรเลข, รถไฟ, เป็นต้น

      กลยุทธ์ที่สำคัญในการปฏิรูประบบราชการในสมัยรัชกาลที่ 5

        จากกลยุทธ์ในการปฏิรูประบบราชการ มีทั้งหมด 11 กลยุทธ์ ตัวอย่างกลยุทธ์ที่สำคัญ คือ

        1.  ขอบข่ายของการปฏิรูป

        2.  เวลาที่กำหนดให้การเปลี่ยนแปลงในการปฏิรูป

        3.  ความชัดเจนของวัตถุประสงค์ในการปฏิรูป

        4.  ทรัพยากรที่ใช้ในการปฏิรูป

        5.  การสร้างการมีส่วนร่วม

        6.  การทดลองหรือการสาธิตข้อเสนอในการปฏิรูป

        จากกลยุทธ์ต่าง ๆ ในการปฏิรูประบบราชการที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงได้ใช้นั้น พอที่จะสรุปได้เป็น 3 กรณี คือ

      1.  การประนีประนอม (Compromise)
      2.  การวิวัฒนาการ (Evolution)
      3.  การดึงเอาเขามาเป็นพวก (Cooperation)

        การจัดตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน: เมื่อพระองค์ทรงขึ้นครองราชย์ ครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2416 สิ่งที่พระองค์ทรงกระทำประการแรกคือ การจัดตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน ซึ่งประกอบด้วยข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ที่ทรงวางพระราชหฤทัยจำนวน 11 คน และสภาองค์มนตรีอีกจำนวน 49 คน รวมเป็น 60 คน ซึ่งเป็นการเปลี่ยนอำนาจ จากอำนาจการบริหารราชการแผ่นดินจากบุคคลเพียงคนเดียวคือ   
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงค์ - ช่วง บุนนาค) โดยเปลี่ยนอำนาจไปเป็นการบริหารโดยกลุ่มบุคคล ทำให้รัชกาลที่ 5 ทรงรวบอำนาจกลับมาอยู่ในพระองค์ได้อีกครั้ง หลังจากที่อำนาจตกอยู่ในมือผู้สำเร็จราชการเป็นเวลานานเนื่องจากยังทรงเป็นยุวกษัตริย์อยู่

        การปฏิรูประเบียบการเงินการคลัง: ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการจัดตั้ง “หอรัษฎากรพิพัฒน์” ขึ้น มีการวางกฎระเบียบเกี่ยวกับการส่งเงินของกรมจัดเก็บภาษีใหม่ ซึ่งจากแต่ก่อนการจัดเก็บภาษีทำกันโดยกรม (12 กรม) และยังไม่มีกติกาว่ากรมทั้ง 12 กรมจัดเก็บภาษีได้เท่าไร ส่งให้กรมพระคลังข้างที่เท่าใด หรือเมื่อจัดเก็บภาษีมาแล้ว ก็จัดส่งให้กรมพระคลังข้างที่ของในหลวงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เพราะไม่มีระเบียบแน่นอนตายตัวมาควบคุม จากการที่ส่งให้กรมพระคลังค่อนข้างน้อย ทำให้ขุนนางมีเงินมาก และการที่ขุนนางมีเงินมาก ก็สามารถไปหาซื้อทาสและไพร่มาไว้ในสังกัดมาก เป็นการวัดบารมีกันในทางทหาร กลายเป็นการสะสมกำลังคน และอำนาจเพิ่มขึ้น
          ผลจากการที่รัชกาลที่ 5 มีการปฏิรูประบบการเงินเข้าพระคลังดังกล่าวข้างต้น จึงสามารถนำเอาเงินเหล่านั้นมากระจายให้พระบรมวงศานุวงศ์ จ้างข้าทาสบริวารมาไว้ในสังกัดมากขึ้น เกิดการเพิ่มพลังอำนาจในกลุ่มของพระบรมวงศานุวงศ์ ทำให้เกิดการถ่วงดุลอำนาจ (Balance of Power) ขึ้นกับขุนนางฝ่ายที่อยู่ในอาณัติของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
          สาเหตุที่รัชกาลที่ 5 มีการปฏิรูประเบียบว่าด้วยการเก็บภาษีเป็นอันดับแรก เพราะพระองค์เห็นว่า “เงินที่ส่งให้กรมพระคลังข้างที่นั้นส่งมาเป็นจำนวนน้อย ขอให้ส่งมาเป็นการแน่นอน เพื่อให้ท้องพระคลังมีเงินได้และสามารถนำไปใช้ในการบริหารราชการได้” และพระองค์ทรงเห็นว่าเงินเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญในการนำไปปฏิรูประบบต่าง ๆ ได้ เพราะการมีเงินนั้นทำให้ได้มาซึ่งอำนาจและข้าทาสบริวารในสังกัด การปฏิรูปครั้งนี้จึงถือเป็นการดึงอำนาจการเงินการคลังกลับมาสู่สถาบันพระมหากษัตริย์อย่างเต็มที่ โดยมีนัยทางด้านการถ่วงดุลย์และอำนาจทางการทหารด้วย

        ทรงประกาศเลิกทาส: การเลิกทาสนี้เป็นพระราชประสงค์ตั้งแต่เถลิงถวัลยราชสมบัติ ด้วยมีพระราชดำริว่า "การมีทาสเป็นเครื่องถ่วงความเจริญของบ้านเมือง" ประกอบกับเกิดจากอิทธิพลของลัทธิการล่าอาณานิคม ซึ่งลัทธินี้มีปรัชญาที่โฆษณาชวนเชื่อว่า อยากจะเข้ามาช่วยเหลือประเทศที่มีการปกครองอย่างป่าเถื่อน ดังนั้นตราบใดที่ประชาชนยังเป็นทาสอยู่มาก สยามก็จะถูกกล่าวหาว่าเป็นประเทศที่ป่าเถื่อนอยู่  ซึ่งเคยมีชาวฝรั่งเศสชื่อ “ดาปาดัว” มาทำการสำรวจพบว่าจำนวนทาสของไทยมีเป็นสัดส่วนถึง 1 ใน 3 ของประชากรทั้งหมดซึ่งในขณะนั้นประชากรของไทยมีประมาณ 5 ล้าน 6 แสนคน
         ดังนั้น รัชกาลที่ 5 จึงทรงดำเนินการเป็นขั้นตอน ด้วยการตรา “พระราชบัญญัติพิกัดเกษียรอายุลูกทาสลูกไทย พ.ศ. 2417 โดยพระบรมราชโองการว่า “ลูกทาสคนใดที่เกิดในปี พ.ศ. 2411 เมื่ออายุครบ 20 ปี บริบูรณ์ก็ให้เป็นไทได้” หมายความว่าพระองค์ทรงใช้กลวิธี โดยเอาเวลามาเป็นเงื่อนไขในการปฏิบัติการทาส ทำให้ทาสเปลี่ยนเป็นไทเป็นระยะไป จึงเป็นการลดความขัดแย้งลงได้ การเลิกทาสในสยามจึงไม่มีการเสียเลือดเนื้อเหมือนกับประเทศอื่น ๆ ในยุโรป และสหรัฐอเมริกาที่ทำให้เกิดสงครามกลางเมืองขึ้น
         นอกจากนี้พระองค์ยังได้พระราชทานพระราชทรัพย์บางส่วนให้ถอนไถ่ทาส และขยายการศึกษาให้คนทั่วไปได้รู้หนังสือ จนในที่สุดจึงตรา “พระราชบัญญัติทาสรัตนโกสินทรศก 124” (ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2435) กำหนดให้เลิกทาสทั่วพระราชอาณาจักร นโยบายดังกล่าวนี้ยังส่งผลให้ประชาชนมีความเคารพในสถาบันพระมหากษัตริย์มากขึ้น เป็นการผูกอำนาจของพระองค์ไว้กับทาสด้วย

        การปฏิรูปด้านการศึกษา: ผลของการปฏิรูปโดยการเลิกทาสทำให้ในปี พ.ศ. 2432 ทาสเป็นไททั้งหมด แต่เมื่อคนสยามส่วนมากขาดความรู้ ความสามารถ ในปี พ.ศ. 2424 พระองค์ทรงริเริ่มให้มีโรงเรียนแห่งแรกของประเทศซึ่งเป็นโรงเรียนสำหรับสามัญชนชื่อว่า “โรงเรียนวัดมหรรณพาราม” เป็นโรงเรียนเอกชนแห่งแรก เพราะแต่ก่อนมีเฉพาะลูกของขุนนางในวังเท่านั้นที่เรียนหนังสืออย่างมีระบบได้ ส่วนชาวบ้านทั่วไปหาวิชาความรู้จากที่วัด และนอกจากนั้นพระองค์ยังทรงสนับสนุนให้บาทหลวงสอนศาสนาคริสต์เปิดโรงเรียนสอนหนังสือได้
        ปี พ.ศ. 2431 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นเสนาบดีกระทรวงธรรมาการ เพื่อให้มาปฏิรูปการศึกษาโดยออกพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ ให้คนไทยในสมัยนั้นต้องเรียนหนังสืออย่างน้อย 3 ปี และให้วัดเป็นแหล่งสอนหนังสือทั่วประเทศ
        จะเห็นได้ว่าการปฏิรูปดังกล่าวมิใช่เป็นการปฏิรูปสังคมแต่เพียงอย่างเดียวแต่เป็นการปฏิรูประบบเศรษฐกิจด้วย

        การปฏิรูประบบราชการส่วนกลาง: มีการยกเลิกระบบจตุสดมภ์ในปี พ.ศ. 2431 ที่มีการปกครองแบบ เวียง วัง คลัง นา โดยมีเสนาบดีคุมอยู่ 3 เขตพื้นที่ใหญ่ๆ ได้แก่ สมุหพระกลาโหม (หัวเมืองเหนือ-อีสาน) สมุหนายก (หัวเมืองบริเวณภาคกลาง-ใต้) และกรมท่า (หัวเมืองชายทะเลตะวันออก) เพื่อให้การดำเนินงานไม่ซ้ำซ้อนมีมาตรฐานเดียวกันและเกิดความเป็นธรรม จึงมีการตั้งกรมตามหน้าที่ตามแบบอย่างประเทศตะวันตกรวม 12 กรม และทดลองทำงานให้เป็นเวลาเช่นเดียวกับประเทศตะวันตก คือ ใช้เวลาทำงาน 8.30 น. – 16.00 น. ให้มีการรับส่งหนังสือ และมีการบริหารงานบุคคล เป็นต้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2435 จึงให้มีการยกฐานะกรมเป็นกระทรวง 12 กระทรวง

        1.  มหาดไทย รับผิดชอบหัวเมืองฝ่ายเหนือและเมืองลาว

        2.  กลาโหม รับผิดชอบหัวเมืองฝ่ายใต้ หัวเมืองฝ่ายตะวันออก ตะวันตก และเมืองมลายู

        3.  ต่างประเทศ รับผิดชอบเกี่ยวกับการต่างประเทศ

        4.  วัง รับผิดชอบเกี่ยวกับกิจการในพระราชวัง

        5.  เมืองหรือนครบาล รับผิดชอบเกี่ยวกับการตำรวจและราชทัณฑ์

        6.  เกษตราธิการ รับผิดชอบเกี่ยวกับการเพาะปลูก เหมืองแร่ ป่าไม้

        7.  คลัง รับผิดชอบเกี่ยวกับภาษีอากรและงบประมาณแผ่นดิน

        8.  ยุติธรรม รับผิดชอบเกี่ยวกับการชำระคดีและการศาล

        9.  ยุทธนาธิการ รับผิดชอบเกี่ยวกับการทหาร (ต่อมายุบรวมกับกลาโหม)

        10.  ธรรมกา รับผิดชอบเกี่ยวกับการศึกษา การสาธารณสุขและสงฆ์

        11.  โยธาธิการ รับผิดชอบเกี่ยวกับการก่อสร้าง ถนน คลอง การช่าง ไปรษณีย์โทรเลข และรถไฟ

        12.  มุรธาธิการ รับผิดชอบเกี่ยวกับการรักษาตราแผ่นดิน และงานระเบียบสารบรรณ (ต่อมายุบรวมกับวัง)

        ภายหลังได้ยุบกระทรวงยุทธนาธิการไปรวมกับกระทรวงกลาโหม และกระทรวงกลาโหมได้รับผิดชอบควบคุมกำลังทหารทั้งปวงในพระราชอาณาจักร และยุบกระทรวงมุรธาธิการไปรวมกับกระทรวงวัง คงเหลือเพียง 10 กระทรวง เสนาบดีทุกกระทรวงมีฐานะเท่าเทียมกัน และประชุมร่วมกันเป็นเสนาบดีสภา ทำหน้าที่ปรึกษาและช่วยบริหารราชการแผ่นดินตามที่พระมหากษัตริย์ทรงมอบหมาย

        การจัดตั้งระบบมณฑลเทศาภิบาล: การจัดตั้งระบบมณฑลเทศาภิบาลนี้ ถือว่าเป็นการปฏิรูปที่ยิ่งใหญ่มาก สาเหตุเนื่องมาจากระบบการปกครองของประเทศในสมัยนั้น ยังคงมีบรรดาหัวเมืองห่างไกลที่มีขุนนางปกครองดูแลตามรูปแบบการปกครองเดิม รวมทั้งบรรดาประเทศราชที่มีเจ้าประเทศราชของตนเองปกครองดูแล (ล้านนา, ล้านช้าง, หัวเมืองมลายู) ซึ่งบรรดาประเทศราชเหล่านี้ มีหน้าที่ส่งเครื่องราชบรรณาการให้กับราชธานี (กรุงเทพฯ) 3 ปีต่อ 1 ครั้ง

        การเปลี่ยนการปกครองใหม่นี้เป็นกุศโลบายของรัชกาลที่ 5 และสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ คือ ยุบบรรดาหัวเมือง และนำเอาข้าหลวงจากส่วนกลางไปปกครองหัวเมืองเหล่านั้น และประเทศราชเหล่านั้นอย่างถาวร และให้ขึ้นตรงกับส่วนกลางที่เดียว โดยทดลองทำที่มณฑลราชบุรีก่อน เมื่อปี พ.ศ. 2437 เนื่องจากเป็นเมืองเล็กและมีประชากรน้อยเมื่อทรงดำเนินการที่มณฑลราชบุรีสำเร็จ ก็ทรงขยายออกไปจนทั่วประเทศ การปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลนี้ รับว่าเป็นการดึงอำนาจการปกครองเข้าสู่ส่วนกลาง และจากนโยบายนี้ทำให้สยามมีสถานะเป็น “ราชอาณาจักร” จนถึงปัจจุบัน 

        ในการนี้ทำให้องค์การ UNESCO ยกย่องสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นบุคคลสำคัญของโลก เป็นผู้ทำให้ประเทศไทยสามารถรักษาเอกราชเอาไว้ได้ ส่วนรัชกาลที่ 5 ก็ได้รับการเทิดพระเกียรติอย่างสูงสุด อาจกล่าวได้ว่าการปฏิรูประบบมณฑลเทศาภิบาลดังกล่าวไว้แล้วข้างต้นนั้น เป็นที่มาของการปกครองแบบรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง (Centralization) สืบเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้

        การยกเลิกระบบไพร่: รัชกาลที่ 5 ทรงยกเลิกระบบไพร่ โดยการออกพระราชบัญญัติลักษณะการเกณฑ์ทหาร  ซึ่งเป็นการสถาปนาระบบทหารแบบประเทศทางตะวันตกขึ้น มีการนำไปทดลองที่มณฑลปราจีนบุรี ผู้ที่เข้ามาเกณฑ์เป็นทหารแล้วจะได้รับการฝึกและมีสวัสดิการ เสื้อผ้า เบี้ยเลี้ยง ฯลฯ และเมื่อทำการฝึกจบแล้วก็จะได้รับเงินทองกลับไป เมื่อสำเร็จและได้รับการยอมรับแล้วก็ทรงขยายไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2448 จึงได้มีการประกาศพระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์ทหาร ร.ศ. 124 บังคับใช้เกือบทั่วประเทศ โดยให้ไพร่อายุ 18-20 ปี เข้าเกณฑ์ทหารเพื่อไม่ต้องไปสังกัดมูลนายคนไหนอีก จึงทำให้ระบบไพร่ค่อย ๆ หมดไป

        การเลิกระบบไพร่จึงเป็นนโยบายที่ป้องกันไม่ให้มีการแย่งอำนาจของขุนนาง สร้างความมั่นคงเป็นปึกแผ่นภายในระบบการปกครอง และรวมอำนาจไว้ที่กษัตริย์ และยังมีผลต่อการพัฒนาด้านเศรษฐกิจให้ก้าวหน้า ทันสมัย เพราะทำให้คนมีอิสระ สามารถเลือกไปประกอบอาชีพต่าง ๆ สอดรับกับตลาดที่ต้องการคนมากมายในหลากหลายอาชีพที่มาจากอิทธิพลตะวันตก

        การปฏิรูประบบกฎหมาย: จากการที่สมัยรัชกาลที่ 4 สยามได้เสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ให้กับประเทศอื่น ๆ ทั้งหมดนั้นเป็นเพราะ ชาติตะวันตกอ้างว่ากฎหมายสยามมีลักษณะป่าเถื่อน จึงต้องการตัดสินโดยใช้กฎหมายของตน ดังนั้น จึงต้องมีการปฏิรูปกฎหมายให้เป็นที่ยอมรับ ของนานาอารยประเทศเหล่านั้น ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 จึงทรงปฏิรูปกฎหมายจำนวน 5 ฉบับ ด้วยกัน คือ

        1.  ประมวลกฎหมายอาญา

        2.  ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

        3.  ประมวลกฎหมายแพ่ง

        4.  ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

        5.  ภาคธรรมนูญศาลยุติธรรม

        โดยรัชกาลที่ 5 ทรงได้เชิญชาวต่างประเทศทั้งจากเอเซีย และชาวตะวันตกมาเป็นที่ปรึกษา และร่วมร่างกฎหมายกับข้าราชการไทย เมื่อสำเร็จแล้วก็ประกาศใช้ แต่กว่าจะได้สิทธิสภาพนอกอาณาเขตคืนมาทั้งหมดก็ล่วงมาถึงปี พ.ศ. 2470 หลังจากประเทศไทยชนะสงครามโลกครั้งที่ 1 ในสมัยรัชกาลที่ 6

        กล่าวโดยสรุป การปฏิรูปการบริหารราชการ  แผ่นดิน ในสมัยรัชการที่ 5 นั้น เป็นการปฏิรูปการศึกษา  การปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดินส่วนกลาง การปฏิรูปการปกครองระบบมณฑลเทศาภิบาล การปฏิรูประบบภาษีอากรและการคลัง  การยกเลิกระบบทาส การทำลายระบบไพร่ หรือการปฏิรูประบบการเกณฑ์ทหารให้เป็นแบบตะวันตก และการปฏิรูประบบกฎหมายของประเทศให้ทันสมัยยิ่งขึ้น จากคุณูประการเหล่านี้พระองค์ท่านทรงได้รับสมัญญานามว่า “สมเด็จพระปิยะมหาราช”