ประวัติศาสตร์ไทยสมัยก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 (ก่อนสมัยสุโขทัย)
ประวัติความเป็นมาของชนชาติไทย
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
รัฐโบราณในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: ฟูนัน-สุวรรณภูมิ
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
รัฐโบราณในบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา: ทวารวดี (อู่ทอง นครปฐม และละโว้)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
รัฐโบราณในบริเวณภาคใต้ของไทย: ลังกาสุกะ ตักโกละ ตามพรลิงค์ และศรีวิชัย
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
รัฐโบราณในบริเวณภาคเหนือของไทย: โยนกเชียงแสน และหริภุญชัย
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ประวัติศาสตร์ไทยสมัยหลังพุทธศตวรรษที่ 19 (สมัยการสถาปนาราชธานีของอาณาจักรไทย)
กรุงสุโขทัย
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กรุงศรีอยุธยา
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กรุงธนบุรี
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงรัชกาลที่ 1-3
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงรัชกาลที่ 4-5
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
100%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงรัชกาลที่ 6-8
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงรัชกาลที่ 9
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
100%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
บุคคลสำคัญกับการสร้างสรรค์วัฒนธรรมไทย
บุคคลสำคัญในช่วงก่อนกรุงรัตนโกสินทร์
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
บุคคลสำคัญในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ 1
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
บุคคลสำคัญในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ 2
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
บุคคลสำคัญในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ 3
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
บุคคลสำคัญในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ 4
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
บุคคลสำคัญในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ 5
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย

รัฐโบราณในบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา: ทวารวดี (อู่ทอง นครปฐม และละโว้)

ยอดวิว 0

แบบฝึกหัด

EASY

รัฐโบราณในบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา: ทวารวดี (อู่ทอง นครปฐม และละโว้) (ชุดที่ 1)

HARD

รัฐโบราณในบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา: ทวารวดี (อู่ทอง นครปฐม และละโว้) (ชุดที่ 2)

เนื้อหา

กลุ่มอารยธรรมทวารวดี
(พุทธศตวรรษที่ 12-16)

       "กลุ่มอารยธรรมทวารวดี" เป็นชื่อเรียกกลุ่มของเมืองโบราณที่มีอารยธรรมร่วมกัน (ทวารวดี) ที่ตั้งอยู่ในแถบพื้นที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่เมืองเพชรบุรี, ราชบุรี, นครปฐม, สุพรรณบุรี, ลพบุรีขึ้นไปทางเหนือจนถึงเมืองลำพูน เนื่องจากมีการพบหลักฐานทางด้านโบราณคดี งานศิลปกรรมต่าง ๆ ในสมัยนี้มากมาย ชื่อดังกล่าวมาจากการพบเหรียญเงินจำนวนมาก มีจารึกภาษาสันสฤต อักษรปัลลวะ กล่าวว่า “ศฺรีทฺวารวตี ศฺวรปุณฺยะ” ที่แปลเป็นภาษาไทย คือ “บุญกุศลของพระราชาแห่งทวารวดี” หรือ “พระเจ้าศรีทวารวดี ผู้มีบุญอันประเสริฐ”
       นอกจากนี้ยังมีที่มาจากข้อความในจดหมายเหตุจีนของภิกษุจีนชื่อ อี้จิง ได้เดินทางจากจีนไปอินเดีย กล่าวว่ามีอาณาจักรชื่อ “โถโลโปตี้” (ทวารวดี) อยู่ในตอนกลางระหว่างเมืองศรีเกษตร (เมียนมาร์) และเมืองอีศานบุรี (อาณาจักรเขมรโบราณ) พงศาวดารจีนสมัยราชวงศ์ฮั่นได้กล่าวถึงดินแดนแห่งนี้ไว้ว่า “สามารถเดินเรือจากเมืองกวางตุ้งถึงอาณาจักรทวารวดีได้ในเวลา 5 เดือน”

ความเป็นมา

        เมืองในกลุ่มอารยธรรมทวารวดี มีนักวิชาการชาวฝรั่งเศสสันนิษฐานว่าเป็นดินแดนของชาวมอญไว้ในปี พ.ศ. 2502 เนื่องจากมีการพบจารึกภาษามอญในภาคกลางและภาคอีสาน แต่ก็มีนักวิชาการบางท่านเสนอว่าการที่อาณาจักรทวารวดีใช้ภาษามอญก็ไม่จำเป็นต้องเป็นคนมอญ เพราะภาษาไม่ได้ระบุถึงเชื้อชาติได้

ลักษณะการเมืองการปกครอง

        มีการรับอิทธิพลจากอินเดียหลายอย่าง เช่น ด้านการปกครอง รับความเชื่อเรื่องการปกครองโดยกษัตริย์ สันนิษฐานว่าการปกครองสมัยทวารวดี แต่ละเมืองจะมีเจ้านายปกครองตนเองแต่มีความสัมพันธ์ในลักษณะเครือญาติ มีการแบ่งชนชั้นในสังคมออกเป็นชนชั้นปกครองกับชนชั้นผู้ถูกปกครอง แม้กระนั้นก็ยังไม่มีหลักฐานที่พิสูจน์ได้ว่าเมืองเหล่านั้นได้มีการรวมตัวกันเป็นอาณาจักรหรือไม่ หรือเพียงแต่มีอารยธรรมร่วมกัน เนื่องจากไม่มีหลักฐานยืนยันถึงเมืองศูนย์กลางที่แท้จริงของทวารวดี

      การที่เมืองในกลุ่มอารยธรรมทวารวดีตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลองและอยู่ใกล้ทะเล มาจากข้อสันนิษฐานลักษณะภูมิประเทศว่าในสมัยทวารวดีนั้น เพชรบุรี ราชบุรี นครปฐม สุพรรณบุรี ลพบุรี ปราจีนบุรี ชลบุรี เป็นเมืองชายฝั่งทะเลมาก่อน จึงมีฐานะเป็นเมืองท่าค้าขาย มีพ่อค้าชาวต่างชาติเข้ามาติดต่อค้าขายที่สำคัญคือ อินเดีย ทำให้ทวารวดีได้รับอิทธิพลของพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท  ศิลปวัฒนธรรมตลอดจนแบบแผนการปกครองจากอินเดีย เกิดการผสมผสานจนกลายเป็นอารยธรรมทวารวดีและได้แพร่หลายไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ศูนย์กลางของกลุ่มอารยธรรมทวารวดี

        ศูนย์กลางของกลุ่มอารยธรรมทวารวดี มีการสันนิษฐานไว้มากมาย โดยต่างพิจารณาจากหลักฐานที่พบ เช่น มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองนครปฐมโบราณ (ลุ่มแม่น้ำท่าจีนหรือนครชัยศรี) เมืองอู่ทอง (จังหวัดสุพรรณบุรี) และเมืองละโว้ (จังหวัดลพบุรี) แม้กระนั้นก็ยังไม่มีหลักฐานที่สามารถยืนยันได้ว่าเมืองโบราณแห่งใดคือศูนย์กลางของกลุ่มอารยธรรมทวารวดี หรือแม้แต่ว่าบรรดาเมืองเหล่านั้นได้รวมกันเป็นอาณาจักรหรือไม่อีกด้วย


ภาพที่ 1  แผนภาพแสดงร่องรอยของเมืองในกลุ่มอารยธรรมทวารวดี

ที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Dvaravati#/media/File:DvaravatiMapThailand.png

        ต่อมาได้อารยธรรมทวารวดีได้แผ่ขยายไปจนถึงเมืองหริภุญชัย จังหวัดลำพูน ตามที่มีหลักฐานเล่าไว้ว่าราวปี พ.ศ. 1100 พระนางจามเทวี ราชธิดาของเจ้าเมืองลวปุระหรือละโว้ (ลพบุรี) ได้ขึ้นไปปกครองเมืองหริภุญชัย

ความเสื่อมของกลุ่มอารยธรรมทวารวดี

        กลุ่มอารยธรรมทวารวดีเริ่มเสื่อมลงเมื่ออาณาจักรเขมรโบราณได้แพร่อิทธิพลเข้ามาในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา ก่อนจะสิ้นสุดอำนาจลงโดยสิ้นเชิงในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 นอกจากนี้สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้สันนิษฐานถึงการสิ้นสุดของอาณาจักรทวารวดีไว้ว่า "พระเจ้าอนิรุทรมหาราชแห่งเมืองพุกาม (เมียนมาร์) ทรงยกกองทัพเข้ามาโจมตี อาณาจักรทวารวดี จนทำให้อาณาจักรทวารวดีสลายสูญไป"

        จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบทำให้เชื่อได้ว่าชุมชนสมัยทวารวดีเติบโตขึ้นในภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมืองที่สำคัญ ได้แก่

     - ภาคกลาง – เมืองนครปฐม เมืองอู่ทอง (จังหวัดสุพรรณบุรี) เมืองละโว้ (จังหวัดลพบุรี) เมืองคูบัว (จังหวัดราชบุรี) เมืองอู่ตะเภา (จังหวัดชัยนาท) เมืองศรีเทพ (จังหวัดเพชรบูรณ์) เป็นต้น

     - ภาคเหนือ – เมืองจันเสน เมืองบน (จังหวัดนครสวรรค์) เมืองหริภุญชัย (จังหวัดลำพูน) เป็นต้น

     - ภาคตะวันออก – เมืองพระรถ (จังหวัดชลบุรี) เมืองศรีมโหสถ (จังหวัดปราจีนบุรี) เป็นต้น

     - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ – เมืองฟ้าแดดสงยาง (จังหวัดกาฬสินธุ์) เมืองเสมา (จังหวัดนครราชสีมา) เมืองขอนแก่น เป็นต้น

เมืองสำคัญของกลุ่มอารยธรรมทวารวดี ได้แก่

       เมืองอู่ทอง

        เมืองโบราณอู่ทองตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจรเข้สามพัน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี มีลักษณะเป็นรูปวงรี เป็นเมืองที่มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ นอกเมืองมีแนวคันดินเป็นถนนโบราณเรียกว่า "ถนนท้าวอู่ทอง" และแนวคันดินรูปเกือกม้าเรียกว่า "คอกช้างดิน" คงจะเป็นเพนียดคล้องช้างโบราณหรือสระเก็บน้ำในศาสนาพราหมณ์

        นักวิชาการชาวต่างชาติมีการตั้งข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับเมืองอู่ทอง ดังเช่น ศาสตราจารย์ฌอง บวสเซอลีเย่ เชื่อว่าเมืองอู่ทองน่าจะเป็นราชธานีแห่งอาณาจักรสุวรรณภูมิที่พระเจ้าอโศกมหาราชได้ทรงส่งพระสมณทูตเข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนา ส่วนนายพอล วิตลีย์ เชื่อว่า เมืองจินหลิน ที่ปรากฏในเอกสารจีนโบราณ คือ เมืองอู่ทอง เป็นรัฐสุดท้ายที่พระเจ้าฟันมันแห่งอาณาจักรฟูนันปราบได้ในพุทธศตวรรษที่ 9

        เมืองโบราณแห่งนี้มีร่องรอยการอยู่อาศัยของชุมชนตั้งแต่ก่อนสมัยประวัติศาสตร์ตอนปลาย 2,500 - 2,000 ปีมาแล้ว โดยพบขวานหินขัด ภาชนะดินเผา แวปั่นด้ายดินเผา เป็นต้น ต่อมาชุมชนแห่งนี้ได้พัฒนาตนเองไปสู่สังคมเมืองสมัยประวัติศาสตร์ มีการติดต่อค้าขายกับต่างชาติทั้งเวียดนาม, จีน, อินเดีย, ตะวันออกกลาง, และยุโรป มีบทบาทเป็นศูนย์กลางทางการค้า หลักฐานสำคัญ เช่น ลูกปัดแก้ว เหรียญกษาปณ์ เหรียญโรมันสมัยจักรพรรดิวิกโตรีนุส (Vitorinus) เป็นต้น

        เมืองอู่ทอง มีหลักฐานการติดต่อกับอารยธรรมอินเดีย ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 6-9 ตามที่มีการพบประติมากรรมดินเผารูปพระสงฆ์ 3 รูปอุ้มบาตร ศิลปะอินเดียแบบอมราวดี เหรียญเงินและแม่พิมพ์ด้านหน้าเป็นรูปหม้อปูรณฆฏะ (สัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์) ด้านหลังเป็นจารึกอักษรปัลลวะ (อักษรจากอินเดียใต้) อายุราวพุทธศตวรรษที่ 12 อ่านได้ความว่า “ศฺรีทฺวารวตีศฺวรปุณฺย” แสดงว่าในช่วงสมัยทวารวดีนั้น เมืองอู่ทองน่าจะผลิตเหรียญเงินแบบนี้ขึ้นใช้ภายในอาณาจักร ปัจจุบันเหรียญเงินที่มีจารึกลักษณะเช่นนี้พบแล้วในหลายพื้นที่ทั้งเมืองนครปฐม เมืองคูบัว (จังหวัดราชบุรี) เมืองคูเมือง (จังหวัดสิงห์บุรี) เมืองพรหมทิน (จังหวัดลพบุรี) เป็นต้น

        เมืองอู่ทองได้หมดความสำคัญและร้างไปในราวพุทธศตวรรษที่ 16 จึงรอดพ้นจากอิทธิพลเขมรที่เข้ามามีอำนาจมากในราวพุทธศตวรรษที่ 18 ในรัชสมัยของกษัตริย์ขอมนักสร้างผู้ยิ่งใหญ่ คือ พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 โดยปรากฏเมืองโบราณสุพรรณบุรีเจริญขึ้นมาแทนที่



ภาพที่ 2 ลายเส้นจากดินเผารูปภิกษุสาวก 3 รูป ครองจีวร ทำท่าบิณฑบาต เป็นหลักฐานเก่าสุดที่แสดงว่ามีพระสงฆ์ในดินแดนสุวรรณภูมิ พบที่เมืองอู่ทอง อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี

 

ภาพที่ 3  เหรียญโรมัน อายุหลัง พ.ศ. 800 พบที่เมืองโบราณอู่ทอง (พลอากาศตรี มนตรี หาญวิชัย ได้ซื้อไว้และมอบให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร) ด้านหน้ามีรูปพระพักตร์ด้านข้างของจักรพรรดิซีซาร์ วิคโตรินุส กษัตริย์อาณาจักรโรมัน ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 812-814 สวมมงกุฎยอดแหลมเป็นแฉก มีตัวอักษรล้อมรอบอยู่ริมขอบเหรียญ IMP C VICTORINUS PF AUG ซึ่งเป็นคำย่อของ Imperator Ceasor Victorinus Pius Felix Auguste แปลว่า "จักรพรรดิ ซีซาร์ วิคโตรินุส ศรัทธา ความสุข เป็นสง่า" ส่วนด้านหลังของเหรียญเป็นรูปของเทพอาธีนา การพบเหรียญโรมัน แสดงว่าเมืองอู่ทองมีการค้าขายแลกเปลี่ยนกับดินแดนตะวันออกกลางและใกล้เคียงผ่านอินเดีย

 

ภาพที่ 4  ปูนปั้นศีรษะบุคคลสวมหมวกทรงสูง อายุราวหลัง พ.ศ. 1000 พบที่ฐานเจดีย์เมืองอู่ทอง ลักษณะใบหน้ายาวเรียว มีนัยน์ตาเบิกกว้าง คิ้วเป็นสันนูน จมูกโต ปากหนาอมยิ้มเล็กน้อย สวมเครื่องประดับศีรษะคล้ายหมวก (หรือผ้าโพกหัว) ทรงกรวยสูง ปลายงอโค้งมาทางด้านหน้า อาจเป็นรูปของพ่อค้าตะวันตกแถบเมดิเตอร์เรเนียนหรือพ่อค้าชาวเปอร์เซีย หรือพ่อค้าชาวซิเถียน ซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ทางตะวันตกของอินเดีย แสดงว่าเมืองอู่ทองมีการค้าแลกเปลี่ยนจนคุ้นเคยกับพ่อค้าจากบ้านเมืองแถบนี้

ภาพที่ 5  ตุ๊กตาดินเผาภาพคนจูงลิง อายุราวหลัง พ.ศ. 1000 พบในบริเวณเมืองอู่ทอง เป็นตุ๊กตาดินเผาเนื้อละเอียด ปั้นเป็นรูปบุคคลยืนตรงด้านหน้ามีลิง 1 ตัว นั่งเกาะขาอยู่ มือซ้ายของบุคคลดังกล่าวถือกิ่งผลไม้แนบติดกับต้นขา ส่วนมือขวาถือปลายเชือกที่ผูกล่ามกับคอลิงเอาไว้ บุคคลสวมเครื่องประดับที่คอ (สายสร้อย) และกำไลมือหลายวงทั้งสองข้าง ศีรษะของประติมากรรมมักแตกหักออกจากส่วนลำตัว เพราะเป็นส่วนเปราะบางของรูปปั้น จึงหักง่าย

       เมืองนครปฐมโบราณ

        เป็นอีกเมืองหนึ่งที่มีสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นศูนย์กลางของกลุ่มอารยธรรมทวารวดี หลักฐานสำคัญ คือ การสร้างพระปฐมเจดีย์ ซึ่งเชื่อว่าบรรจุพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้า เมื่อครั้งแรกสร้างอาจจะมีลักษณะคล้ายสถูปสาญจีที่พระเจ้าอโศกมหาราชสร้างไว้ในอินเดีย และมีการพบจารึกภาษาปัลลวะ บาลี สันสกฤตและภาษามอญ ที่บริเวณพระปฐมเจดีย์และบริเวณใกล้เคียง เช่น จารึกภาษามอญ อักษรปัลลวะ บันทึกเรื่องการสร้างพระพุทธรูป อายุราวปี พ.ศ. 1200 (ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑถสานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์)

        เมืองนครปฐมโบราณยังมีการสร้างศาสนสถานที่ใหญ่โตไว้เป็นจำนวนมาก เช่น พระประโทณเจดีย์ วัดพระประโทนเจดีย์, วัดพระเมรุ, วัดพระงาม, และวัดดอนยายหอม เป็นต้น มีหลักฐานทางโบราณวัตถุหลายชิ้นที่แสดงถึงการติดต่อค้าขายกับชาวต่างประเทศ เช่น จีน ได้พบเหรียญเงิน มีการค้นพบหลักฐานเหรียญเงินที่มีจารึก “ทวารวดี” ประทับอยู่ด้วยลวดลายมงคลหลายรูปแบบ เช่น รูปสังข์ รูปหม้อปูรณฆฏะ (สัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์) รูปธรรมจักร รูปวัว จึงเป็นสิ่งยืนยันว่าเมืองนครปฐมในสมัยทวารวดีเป็นเมืองที่มีความรุ่งเรืองมากอาณาจักรหนึ่ง



ภาพที่ 6  พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม ปัจจุบันรัชกาลที่ 4 ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์โดยการพอกทับสถูปองค์เดิมทำให้มีขนาดใหญ่ขึ้น แต่เดิมนั้นเชื่อว่ามีลักษณะเช่นเดียวกับสถูปสาญจีในอินเดีย

 

 
ภาพที่ 7  สถูปสาญจี ประเทศอินเดีย

       อาณาจักรละโว้ (พุทธศตวรรษ ที่ 12-18)

        เมืองละโว้ หรือ จากจารึกเหรียญเงินพบคำว่า “ลวปุระ” คือ เมืองลพบุรีในปัจจุบัน ตั้งอยู่ทางภาคกลางในบริเวณลุ่มแม่น้ำลพบุรี จากการขุดค้นทางโบราณคดีปรากฏว่าตั้งแต่อำเภอชัยบาดาล ถึงอำเภอพัฒนานิคม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ล้วนแต่มีหลักฐานการอยู่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ มีชุมชนมากมาย ก่อนจะขยายเป็นเมือง จนกระทั่งรวมตัวกันเป็นอาณาจักรหรือเมืองขนาดใหญ่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13-14

        อาณาจักรละโว้เป็นเมืองสำคัญของเมืองในกลุ่มทวารวดี มีความรุ่งเรืองอย่างมากโดยเฉพาะด้านพระพุทธศาสนามาแต่โบราณ จากหลักฐานที่ปรากฏในตำนานจามเทวีวงศ์ หรือ ตำนานมูลศาสนา กล่าวว่า เมื่อครั้งวาสุเทพฤๅษีและสุกกทันตฤๅษี ได้ร่วมกันสร้างเมืองนครหริภุญชัย (ลำพูน) หลังจากนั้น จึงได้อัญเชิญพระนางจามเทวี ธิดาพระยาจักกวัติแห่งเมืองละโว้มาปกครองเมืองนี้ พระนางจามเทวีเสด็จขึ้นมาถึงเมืองหริภุญชัย พร้อมกับคณะสงฆ์ 500 รูป และบริวารคือบรรดาช่างต่างความสามารถอีก 14 จำพวก จำพวกละ 500 คน เมื่อประมาณปี พ.ศ. 1310

        อาณาจักรละโว้ มีความเจริญมากขึ้นเรื่อย ๆ ในระยะแรกราวพุทธศตวรรษที่ 12-15 มีการนับถือศาสนาพุทธ เช่นเดียวกับเมืองในวัฒนธรรมทวารวดีอื่น ๆ มีการสร้างศาสนสถานที่สำคัญ คือ วัดนครโกษา มีการสร้างงานประติมากรรมเป็นจำนวนมากทั้งพระพุทธรูป และเสาธรรมจักร ต่อมาราวพุทธศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา อาณาจักรเขมรโบราณได้ขยายอำนาจเข้ามาจนทำให้วัฒนธรรมทวารวดีเริ่มเสื่อมอำนาจลงและอิทธิพลวัฒนธรรมเขมรได้เข้ามาแทนที่หลักฐานที่แสดงถึงการเข้ามาของอาณาจักรเขมรในช่วงเวลานี้คือ ปรางค์แขก

        หลังจากพุทธศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา อาณาจักรเขมรได้ขยายอิทธิพลเข้ามายังพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากขึ้น เช่น ปราสาทพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ ปราสาทหินพิมายจังหวัดนครราชสีมา และขยายมายังเมืองละโว้และเมืองต่าง ๆ ในอาณาจักรทวารวดี จนเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้อาณาจักรทวารวดีล่มสลาย

        ในระยะนี้อาณาจักรเขมรเข้ามามีอิทธิพลในแถบดินแดนที่เป็นอาณาจักรทวารวดีมาก่อน เชื่อกันว่าเมืองละโว้น่าจะเป็นศูนย์กลางที่สำคัญทางภาคกลาง มีการนับถือพุทธศาสนา นิกายมหายาน ที่น่าจะได้รับมาจากเขมร งานศิลปกรรมที่สำคัญ ได้แก่ พระปรางค์สามยอด พระพุทธรูปนาคปรก พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี เป็นต้น โดยเฉพาะทางด้านประติมากรรมนี้ช่างได้มีการผสมผสานระหว่างศิลปะทวารวดี (วัฒนธรรมเดิม) กับศิลปะเขมร (วัฒนธรรมใหม่)

        ราวปลายพุทธศตวรรษที่ 17 การค้าขายระหว่างอาณาจักรละโว้กับจีนเจริญรุ่งเรืองขึ้นอย่างมาก ต่อมาเมื่ออาณาจักรเขมรเสื่อมอำนาจลงในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 ทำให้อาณาจักรต่าง ๆ ประกาศตัวเป็นเอกราช ประกอบกับเส้นทางการค้ามีการเปลี่ยนแปลงทำให้เมืองละโว้ หรือลพบุรีถูกลดบทบาทลง และมีเมืองใหม่อย่างอยุธยาเกิดขึ้นมาแทน ในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 19 นับตั้งแต่นั้นมาเมืองลพบุรีก็มีฐานะเป็นเมืองที่อยู่ในการปกครองของอาณาจักรอยุธยาเป็นต้นมา

ภาพที่ 8  พระปรางค์สามยอด ศิลปะแบบเขมรในประเทศไทย มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 สร้างขึ้นในศาสนาพุทธ นิกายมหายาน มีลักษณะเป็นปราสาท 3 หลัง เรียงต่อกัน ก่อด้วยศิลาแลงประดับด้วยลายปูนปั้น

       ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

        อารยธรรมทวารวดีไม่ได้มีการพบเฉพาะในพื้นที่ภาคกลางเท่านั้น ยังมีการพบในหลายพื้นที่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หลักฐานที่ถือเป็นเอกลักษณ์ คือ ใบเสมาหินขนาดใหญ่ เมืองที่สำคัญ ได้แก่ เมืองฟ้าแดดสงยาง (หรือฟ้าแดดสูงยาง) อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้ค้นพบใบเสมาหินจำนวนมาก บางแผ่นมีการจำหลักเรื่องในพุทธประวัติ หรือชาดก บางแผ่นมีจารึกอักษรปัลลวะของอินเดียด้วย

ภาพที่ 9  ใบเสมาพบที่เมืองฟ้าแดดสงยาง จังหวัดกาฬสินธุ์ มีการสลักภาพพุทธประวัติตอนพิมพาพิลาป ด้านบนมีภาพพระพุทธเจ้าประทับนั่ง ด้านล่างมีรูปพระนางพิมพาสยายพระเกศาเช็ดพระบาทพระพุทธองค์ เพื่อเป็นการแสดงความเคารพ