ประวัติศาสตร์ไทยสมัยก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 (ก่อนสมัยสุโขทัย)
ประวัติความเป็นมาของชนชาติไทย
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
รัฐโบราณในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: ฟูนัน-สุวรรณภูมิ
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
รัฐโบราณในบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา: ทวารวดี (อู่ทอง นครปฐม และละโว้)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
รัฐโบราณในบริเวณภาคใต้ของไทย: ลังกาสุกะ ตักโกละ ตามพรลิงค์ และศรีวิชัย
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
รัฐโบราณในบริเวณภาคเหนือของไทย: โยนกเชียงแสน และหริภุญชัย
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ประวัติศาสตร์ไทยสมัยหลังพุทธศตวรรษที่ 19 (สมัยการสถาปนาราชธานีของอาณาจักรไทย)
กรุงสุโขทัย
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กรุงศรีอยุธยา
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กรุงธนบุรี
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงรัชกาลที่ 1-3
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงรัชกาลที่ 4-5
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
100%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงรัชกาลที่ 6-8
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงรัชกาลที่ 9
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
100%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
บุคคลสำคัญกับการสร้างสรรค์วัฒนธรรมไทย
บุคคลสำคัญในช่วงก่อนกรุงรัตนโกสินทร์
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
บุคคลสำคัญในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ 1
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
บุคคลสำคัญในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ 2
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
บุคคลสำคัญในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ 3
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
บุคคลสำคัญในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ 4
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
บุคคลสำคัญในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ 5
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย

กรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงรัชกาลที่ 4-5

ยอดวิว 0

แบบฝึกหัด

EASY

กรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงรัชกาลที่ 4-5 (ชุดที่ 1)

HARD

กรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงรัชกาลที่ 4-5 (ชุดที่ 2)

news

กรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงรัชกาลที่ 4-5

เนื้อหา

รัตนโกสินทร์ในสมัย
รัชกาลที่ 4-5

ด้านการเมือง

        ในสมัยรัชกาลที่ 4 สยามประสบปัญหาเผชิญหน้ากับการขยายอิทธิพลของชาติมหาอำนาจจักรวรรดินิยมตะวันตก อันได้แก่ อังกฤษและฝรั่งเศส เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพยายามทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์รวมอำนาจทางการเมืองและสังคมสยาม เช่น โปรดเกล้าฯ ให้มีการแก้ไขระเบียบประเพณีบางอย่างที่ทรงเห็นว่าล้าสมัยโดยทรงให้ประชาชนได้เข้าเฝ้าพระองค์อย่างใกล้ชิดขณะที่พระองค์เสด็จผ่าน เวลาเข้าเฝ้าให้ขุนนางและข้าราชการสวมเสื้อและให้ประชาชนถวายฎีการ้องทุกข์ได้ ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชนมีความใกล้ชิดกันมากกว่าแต่ก่อน

        เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2411 มีพระชนมพรรษาได้เพียง 15 พรรษา โดยมีสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ การปกครองส่วนใหญ่อยู่ในมือของขุนนางสกุลบุนนาค เห็นได้จากการแต่งตั้งวังหน้า เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เรียกประชุมพระราชวงศ์และเสนาบดี แต่งตั้งกรมหมื่นบวรวิไชยชาญ พระราชโอรสของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ดำรงตำแหน่งวังหน้าเป็นกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญโดยไม่คอยรับสนองพระบรมราชโองการตามประเพณี


ภาพที่ 1  ภาพถ่ายสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)

ที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Somdet_Chaophraya_Sri_Suriwongse#/media/File:Sri_Suriyawongse.JPG

        ด้วยเหตุที่สภาพทางการเมืองภายในราชสำนักมีลักษณะดังกล่าว จึงทำให้รัชกาลที่ 5 ทรงตระหนักและทรงพยายามดึงอำนาจรวมศูนย์เข้าสู่สถาบันพระมหากษัตริย์ เหตุการณ์วิกฤตการณ์วังหน้าในปี พ.ศ. 2417 ก็เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้ง กล่าวคือ ได้เกิดการวิวาทขึ้นระหว่างฝ่ายวังหลวงกับฝ่ายวังหน้า เหตุการณ์มีความรุนแรงถึงขนาดวังหน้าต้องเสด็จลี้ภัยทางการเมืองไปอยู่ในสถานกงสุลอังกฤษ เหตุการณ์คลี่คลายเมื่อวังหน้าทรงยอมลดพระราชอำนาจลงและเสด็จไปประทับ ณ พระราชวังบวรสถานมงคล จนเสด็จทิวงคตในปี พ.ศ. 2428 ตำแหน่งวังหน้าจึงถูกยกเลิกไปในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยมีการสถาปนาตำแหน่งสยามมกุฎราชกุมารขึ้นแทน

        ในปี พ.ศ. 2413 หลังจากเสด็จขึ้นครองราชย์ได้ 2 ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงวางรากฐานทางอำนาจด้วยการตั้งกรมทหารมหาดเล็กขึ้นเพื่อสร้างฐานพระราชอำนาจของกษัตริย์และในต้นปี พ.ศ. 2416 ได้ทรงออกพระราชบัญญัติสำหรับหอรัษฏากรพิพัฒน์ จ.ศ. 1235 เพื่อรวมการเก็บภาษีเข้าสู่ศูนย์กลาง ซึ่งเป็นการลิดรอนอำนาจของกรมกองต่าง ๆ ที่เคยมีหน้าที่เก็บภาษี
        หลังจากพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่ 2 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพยายามปฏิรูปการปกครองเพื่อรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง ภายใต้สถาบันพระมหากษัตริย์ ด้วยการตราพระราชบัญญัติขึ้นหลายฉบับ เป็นการปฏิรูปด้านกฎหมาย การคลังและสังคม แต่การปฏิรูปดังกล่าวก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างฝ่ายวังหลวงกับวังหน้า รัชกาลที่ 5 จึงต้องทรงชะลอการปฏิรูปในด้านต่าง ๆ จนกระทั่งกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญทิวงคตใน พ.ศ. 2428 รัชกาลที่ 5 จึงทรงดึงอำนาจเข้าสู่สถาบันพระมหากษัตริย์ได้อย่างสมบูรณ์

        ต่อมากลุ่มเจ้านายและข้าราชการที่ได้รับการศึกษาจากทวีปยุโรป ซึ่งเรียกว่า กลุ่มก้าวหน้า ร.ศ. 103 ได้นำความกราบบังคมทูลต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ปรับปรุงการปกครองของประเทศให้เป็นแบบพระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชดำรัสตอบว่าเมืองสยามในขณะนั้นขัดสนคนมีความรู้ และยังไม่พร้อมที่จะปกครองภายใต้รัฐธรรมนูญ สิ่งสำคัญสำหรับประเทศไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง แต่เป็นการปฏิรูปการบริหารราชการ

        ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2417-2428 กลุ่มขุนนางเก่าเริ่มหมดบทบาททางการเมือง ขณะเดียวกันกับพระราชโอรสและพระอนุชาของรัชกาลที่ 5 มีพระชนมายุมากขึ้น ต่างเป็นกำลังสำคัญที่ช่วยในการบริหารราชการ ปรากฏว่าระหว่างปี พ.ศ. 2418-2432 รัชกาลที่ 5 ทรงตั้งพระอนุชาหลายพระองค์ขึ้นทรงกรม ในช่วงนี้พระองค์ยังทรงมีกำลังทหารมากขึ้น สถาบันพระมหากษัตริย์จึงมีความมั่นคง

ด้านเศรษฐกิจ

        การเผชิญหน้ากับจักรวรรดินิยมตะวันตกในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของสยามอย่างมาก เมื่อเซอร์จอห์น เบาริง (Sir John Bowring) เข้ามาทำสัญญาทางการค้ากับสยามใน พ.ศ. 2398 สนธิสัญญาฉบับนี้เรียกว่า สนธิสัญญาเบาว์ริง (Bowring Treaty) เนื้อหาของสนธิสัญญาเป็นการกำหนดรูปแบบและวิธีการติดต่อค้าขายระหว่างสยามกับอังกฤษ ที่สำคัญคือ ให้ยกเลิกระบบการค้าผูกขาดของพระคลังสินค้าและอนุญาตให้ส่งออกข้าว ปลา เกลือได้ ยกเว้นปีที่เกิดขาดแคลน สยามเก็บภาษีขาเข้าได้ไม่เกินร้อยละสาม และสยามต้องให้ความสะดวกแก่คนในบังคับอังกฤษให้สามารถเดินทางได้ทั่วราชอาณาจักร


ภาพที่ 2  ภาพวาดเซอร์จอห์น เบาว์ริ่ง 

ที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/John_Bowring#/media/File:Sir_John_Bowring_by_John_King.jpg

   หลังจากที่สยามทำสนธิสัญญาเบาว์ริงกับอังกฤษใน พ.ศ. 2498 แล้ว ในเวลาต่อมาได้มีชาติอื่นๆ อีก 13 ชาติ ส่งทูตเข้ามาเจรจาทำสนธิสัญญากับสยามทำนองเดียวกับสนธิสัญญาเบาว์ริง

สนธิสัญญาเบาว์ริงมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของสยาม ดังต่อนี้

        1.  การค้าขยายตัว จากการที่สยามยกเลิกระบบการค้าผูกขาดของพระคลังสินค้ามาเป็นการค้าเสรี ทำให้การค้าของสยามเจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว เพียง 1 ปี หลังการทำสนธิสัญญามีเรือสินค้าต่างชาติเข้ามาติดต่อค้าขายเป็นจำนวนมาก

        2.  เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิต สนธิสัญญาเบาว์ริงที่ทำกับอังกฤษและกับชาติอื่น ๆ ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญในโครงสร้างการผลิตของสยาม กล่าวคือ ได้เปลี่ยนจากการผลิตเพื่อยังชีพมาเป็นการผลิตเพื่อการค้า โดยมีเงินตราเข้ามาเป็นปัจจัยแลกเปลี่ยนสำคัญ ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจเข้าสู่แบบสมัยใหม่ของสยาม ภายใต้การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ ทำให้ข้าวกลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญอย่างยิ่งขึ้นมา รัฐบาลเองก็ให้การสนับสนุนการส่งข้าวไปขายพร้อมกับส่งเสริมการทำนา
         นอกจากข้าวยังมีสินค้าอีก 2 อย่างที่มีความสำคัญขึ้นมาแทนที่น้ำตาล ซึ่งเคยเป็นสินค้าความสำคัญในสมัยรัชกาลที่ 3 คือ ดีบุกและไม้สัก แร่ดีบุกมีอยู่ในภาคใต้ ส่วนไม้สักมีทางภาคเหนือของประเทศ

        3.  เศรษฐกิจสยามเข้าสู่ระบบทุนนิยมโลก การทำสนธิสัญญาเบาว์ริงถือเป็นการนำเศรษฐกิจสยามเข้าสู่ระบบทุนนิยมโลก ทำให้การผลิตในภาคการเกษตรขยายตัวมากขึ้น เช่น เกิดการขยายตัวในการเพาะปลูกข้าว แต่คนสยามส่วนใหญ่ยังมีฐานะเป็นเพียงผู้ผลิตขั้นปฐมภูมิ ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้นายทุนต่างชาติ เช่น นายทุนชาวจีนและนายทุนชาวตะวันตกเข้ามามีบทบาทควบคุมระบบเศรษฐกิจของสยาม

        4.  เกิดระบบเศรษฐกิจแบบเงินตรา เงินตราที่ใช้กันอยู่เดิม คือ เบี้ยและพดด้วงเริ่มขาดแคลนในการซื้อขายแลกเปลี่ยน นอกจากนี้เบี้ยยังแตกง่ายและเงินพดด้วงทำปลอมได้ง่าย รัชกาลที่ 4 จึงทรงตั้งโรงกษาปณ์เพื่อผลิตเงินเหรียญชนิดและราคาต่าง ๆ ขึ้นในปี พ.ศ. 2403

        5.  เกิดการปฏิรูประบบภาษีอากรและการคลัง  อีกด้านหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ หลังสนธิสัญญาเบาว์ริง คือ การปรับปรุงภาษีอากร โดยเฉพาะการออกพระราชบัญญัติสำหรับหอรัษฏากรพิพัฒน์ จ.ศ. 1235 ซึ่งเป็นจุดแรกของการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบการคลังที่เป็นระบบในสมัยต่อมา

ด้านสังคม

        ในสมัยรัชกาลที่ 4 แม้ว่าโครงสร้างทางสังคมโดยทั่วไปยังคงเหมือนเดิม แต่เกิดความเปลี่ยนแปลงทางสังคมหลายอย่างจากยุคสมัยแบบจารีตไปสู่ยุคสมัยใหม่ จากประกาศต่าง ๆ ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้แสดงให้เห็นถึงความพยายามที่จะปรับปรุงฐานะของสามัญชนหรือไพร่ให้มีเสรีภาพมากขึ้นในหลาย ๆ ด้าน และองค์พระมหากษัตริย์พยายามวางพระองค์ใกล้ชิดกับราษฎรมากขึ้น เช่น การประกาศยกเลิกการลงโทษราษฎรที่แอบดูการเสด็จพระราชดำเนิน ออกหมายประกาศรับฎีกาของราษฎรเดือนละ 4 ครั้ง ให้สิทธิแก่ผู้หญิงในด้านการศึกษาและการสมรส ประกาศให้ราษฎรทำงานกับฝรั่งได้

        การดำเนินการปรับปรุงประเทศเริ่มต้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชย์ แต่การปฏิรูปสังคมสยามเริ่มอย่างจริงจังในปี พ.ศ. 2416 อันเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบริหารราชการแผ่นดินด้วยพระองค์เองอย่างสมบูรณ์ อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงเริ่มจากองค์พระมหากษัตริย์และมีลักษณะแบบค่อยเป็นค่อยไป รัชกาลที่ 5 ทรงเปลี่ยนแปลงสถานะของไพร่ให้เป็นพลเมือง ปลดปล่อยลูกทาสซึ่งนำไปสู่การเลิกทาส และปฏิรูปการศึกษาโดยการตั้งโรงเรียนในวัดสำหรับราษฎรขึ้น