ประวัติศาสตร์ไทยสมัยก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 (ก่อนสมัยสุโขทัย)
ประวัติความเป็นมาของชนชาติไทย
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
รัฐโบราณในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: ฟูนัน-สุวรรณภูมิ
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
รัฐโบราณในบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา: ทวารวดี (อู่ทอง นครปฐม และละโว้)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
รัฐโบราณในบริเวณภาคใต้ของไทย: ลังกาสุกะ ตักโกละ ตามพรลิงค์ และศรีวิชัย
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
รัฐโบราณในบริเวณภาคเหนือของไทย: โยนกเชียงแสน และหริภุญชัย
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ประวัติศาสตร์ไทยสมัยหลังพุทธศตวรรษที่ 19 (สมัยการสถาปนาราชธานีของอาณาจักรไทย)
กรุงสุโขทัย
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กรุงศรีอยุธยา
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กรุงธนบุรี
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงรัชกาลที่ 1-3
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงรัชกาลที่ 4-5
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
100%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงรัชกาลที่ 6-8
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงรัชกาลที่ 9
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
100%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
บุคคลสำคัญกับการสร้างสรรค์วัฒนธรรมไทย
บุคคลสำคัญในช่วงก่อนกรุงรัตนโกสินทร์
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
บุคคลสำคัญในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ 1
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
บุคคลสำคัญในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ 2
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
บุคคลสำคัญในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ 3
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
บุคคลสำคัญในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ 4
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
บุคคลสำคัญในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ 5
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย

กรุงศรีอยุธยา

ยอดวิว 0

แบบฝึกหัด

EASY

กรุงศรีอยุธยา (ชุดที่ 1)

HARD

กรุงศรีอยุธยา (ชุดที่ 2)

news

กรุงศรีอยุธยา

เนื้อหา

กรุงศรีอยุธยา

การสถาปนาอาณาจักรอยุธยา

        พระเจ้าอู่ทองทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีในปี พ.ศ. 1893 แล้วขึ้นครองราชย์เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์อู่ทอง ทรงพระนามว่า สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 


ภาพที่ 1  พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระรามาธิบดี (พระเจ้าอู่ทอง)

ที่มา:  https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88_1#/media/%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%A5%E0%B9%8C:Phrajaouthong06.jpg

        จากพระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐฯ กล่าวว่า พระพุทธรูปวัดพนัญเชิง สร้างในปี พ.ศ. 1867 ก่อนการตั้งกรุงศรีอยุธยาถึง 26 ปี แสดงว่าก่อนที่จะมีการตั้งอาณาจักรอยุธยาพื้นที่บริเวณนี้มีชุมชนอาศัยอยู่แล้ว
        ส่วนพระราชประวัติของพระเจ้าอู่ทองว่าพระองค์เป็นใคร มาจากไหน ก็ยังคลุมเครือหาข้อสรุปไม่ได้ แต่สันนิษฐานว่าพระเจ้าอู่ทองมีความสัมพันธ์อันดีกับแคว้นละโว้ (ลพบุรี) และแคว้นสุพรรณภูมิ (สุพรรณบุรี) จนสามารถรวมทั้งสองแคว้นตั้งเป็นอาณาจักรอยุธยาขึ้น

        กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีที่มีความเจริญรุ่งเรือง มั่งคั่ง มั่นคงและมีความยิ่งใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นานถึง 417 ปี โดยมีปัจจัยสนับสนุน ดังนี้

        1.  ปัจจัยภายใน

         1) กรุงศรีอยุธยามีทำเลที่ตั้งอันเหมาะสม คือ มีแม่น้ำล้อมรอบ 3 ด้าน ได้แก่ แม่น้ำลพบุรีทางด้านเหนือ แม่น้ำเจ้าพระยาทางด้านตะวันตกและทางใต้ ส่วนทางด้านทิศตะวันออกได้ขุดคูเชื่อมทำให้เกิดเป็นแม่น้ำป่าสัก กรุงศรีอยุธยาจึงมีแม่น้ำล้อมรอบ นับเป็นชัยภูมิที่มั่นคง ป้องกันการโจมตีของข้าศึกได้อย่างดี
           2) กรุงศรีอยุธยามีดินดีและน้ำท่าอุดมสมบูรณ์ ทำการเกษตรได้ผลดีมาโดยตลอด มีปลาชุกชุม จึงไม่ขาดแคลนอาหาร
           3) กรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่บริเวณที่ราบภาคกลาง มีแม่น้ำสายต่าง ๆ จากทางเหนือไหลผ่านลงไปยังทะเลอ่าวไทย และอยู่ไม่ห่างไกลจากอ่าวไทย เฉกเช่น สุโขทัย จึงสามารถควบคุมเส้นทางคมนาคม เส้นทางการค้าและเส้นทางยุทธศาสตร์ระหว่างรัฐที่อยู่เหนือขึ้นไปตอนในกับเมืองท่าชายฝั่งทะเลอีกทั้งตั้งอยู่ไม่ไกลจากปากอ่าว เรือสินค้าเข้าถึงได้โดยสะดวก ด้วยเหตุนี้จึงทำให้กรุงศรีอยุธยากลายเป็นเมืองท่าศูนย์กลางการค้านานาชาติ และได้ประโยชน์อย่างมหาศาลจากการค้าทางทะเลที่เริ่มมีความสำคัญแทนที่การค้าทางบก

        2.  ปัจจัยภายนอก
             ในช่วงเวลานั้นเขมรหมดอิทธิพลที่เคยมีในดินแดนไทย จนกระทั่งไม่สามารถต้านทานกองทัพอยุธบาที่เข้าไปตีเขมร ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ได้


ภาพที่ 2  ภาพวาดกรุงศรีอยุธยา โดยบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา

ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%98%E0%B8%A2%E0%B8%B2#/media/%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%A5%E0%B9%8C:Gezicht_op_Judea,_de_hoofdstad_van_Siam_Rijksmuseum_SK-A-4477.jpeg

การเมืองสมัยอยุธยา

        ในสมัยอยุธยาตอนต้น (พ.ศ. 1893-1991) สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ทรงขยายอำนาจไปยังเขมร ยึดเมืองนครธมของเขมรได้ในปี พ.ศ. 1896 แต่ยังรักษาสัมพันธไมตรีกับอาณาจักรสุโขทัย แม้จะยึดเมืองพิษณุโลกของสุโขทัยไว้ได้แต่ก็ยอมคืนให้

        หลังสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 สวรรคต สมเด็จพระราเมศวร พระราชโอรส ครองราชย์ได้ปีเดียวก็ถูกสมเด็จพระบรมราชาธิบดีที่ 1 (ขุนหลวงพ่องั่ว, ขุนหลวงพะงั่ว) จากเมืองสุพรรณภูมิยกกองทัพมาชิงราชสมบัติและตั้งราชวงศ์สุพรรณภูมิขึ้น สมเด็จพระบรมราชาธิบดีที่ 1 ทรงขยายอำนาจไปทางเหนือยึดสุโขทัยเป็นประเทศราชได้ในปี พ.ศ. 1921 และทำสงครามกับอาณาจักรล้านนา (เป็นความขัดแย้งระหว่างเชื้อสายของราชวงศ์อู่ทองจากละโว้ และราชวงศ์สุพรรณภูมิจากสุพรรณภูมิ)

        ในช่วงปี พ.ศ. 1931-1952 ราชวงศ์อู่ทองกลับมามีอำนาจอีกในสมัยสมเด็จพระราเมศวร ซึ่งทรงกลับมาชิงราชสมบัติและขึ้นครองราชย์เป็นครั้งที่ 2 หลังจากนั้นราชวงศ์สุพรรณภูมิก็กลับมาครองอำนาจอีก จนหลังสมัยสมเด็จพระมหินทราธิราช ราชวงศ์สุโขทัยจึงขึ้นมามีอำนาจแทนที่ทั้งสองราชวงศ์ (ช่วงเสียกรุงครั้งที่ 1 พระเจ้าบุเรงนอง กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งอาณาจักรพม่า ได้อภิเษกขุนพิเรนทรเทพ ซึ่งมีเชื้อสายราชวงศ์พระร่วง ขึ้นเป็นพระมหาธรรมราชาธิราช ปกครองอาณาจักรอยุธยา)

        การเมืองสมัยอยุธยาตอนต้นมีการแบ่งระดับความสำคัญของเมืองเป็นวงรอบ จากศูนย์ออกไปยังวงรอบนอก ได้แก่ ราชธานี, เมืองลูกหลวง, หัวเมืองระดับต่าง ๆ (ชั้นจัตวาถึงชั้นเอก) และหัวเมืองประเทศราช สำหรับเมืองลูกหลวง พระมหากษัตริย์จะโปรดฯส่งข้าราชการผู้ใหญ่ โดยเฉพาะพระมหาอุปราชไปปกครองอย่างอิสระ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ในอนาคต จึงเท่ากับเป็นช่องทางให้เกิดการสะสมกำลังคน และสร้างไมตรีกับเมืองอื่นเพื่อแข็งข้อเป็นอิสระจากราชธานี หรือไม่ก็ยกกำลังมาช่วงชิงราชสมบัติเมื่อสิ้นสมัยกษัตริย์องค์ก่อน

        การปฏิรูปการปกครองในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแสดงถึงความพยายามของพระมหากษัตริย์ในการควบคุมอำนาจและบทบาททางการเมืองของพระบรมวงศานุวงศ์ ทรงลดความสำคัญของเมืองลูกหลวงลง และปรับปรุงระบบจตุสดมภ์เดิม (เวียง วัง คลัง นา) ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเพิ่มตำแหน่งเสนบดีอีก 2 ตำแหน่ง (สมุหนายก และสมุหพระกลาโหม) ทำให้กลุ่มขุนนางกลายเป็นสถาบันการเมืองที่เข้มแข็งและมีบทบาทการเมืองสูงมาก จนสามารถแย่งชิงอำนาจจากพระมหากษัตริย์ได้ในเวลาต่อมา

        หลังการเสียกรุงศรีอยุธยาปี พ.ศ. 2112 ไม่นานอยุธยาค่อย ๆ ฟื้นฟูกลับคืนสู่ความมีเสถียรภาพ และความมั่นคงทางการเมืองในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช ด้วยความช่วยเหลือของพระราชโอรสทั้งสองพระองค์ คือ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชและสมเด็จพระเอกาทศรถ อยุธยาประกาศอิสรภาพจากพม่าในปี พ.ศ. 2127 โดยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และได้ทำสงครามต่อต้านการรุกรานของพม่าจนได้รับชัยชนะ สงครามครั้งสำคัญคือ สงครามยุทธหัตถี ในปี พ.ศ. 2135 ทำให้กรุงศรีอยุธยาไม่มีกองทัพข้าศึกใด ๆ มาโจมตีเมืองหลวงต่อมาอีกนานถึงเกือบสองศตวรรษ

     สภาพการณ์ทางการเมืองของอาณาจักรอยุธยาในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีความเป็นปึกแผ่น ศูนย์กลางอำนาจที่เมืองหลวงมีความมั่นคง ทำให้เจ้าเมืองไม่มีโอกาสสั่งสมกำลังยกกองทัพมาแย่งชิงอำนาจที่กรุงศรีอยุธยา พระบรมวงศานุวงศ์ถูกจำกัดอำนาจและบทบาท นอกจากบางพระองค์ที่ทรงไว้วางพระทัย ส่วนขุนนางถูกควบคุมด้วยระเบียบและการบังคับบัญชาที่เข้มงวดเด็ดขาด พระราชอำนาจและสถานภาพของพระมหากษัตริย์จึงมีสูงมาก

        อย่างไรก็ตาม เสถียรภาพที่มั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์อยุธยาดำรงอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง จนถึงสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมทรงขึ้นเสวยราชย์โดยการสนับสนุนของเหล่าขุนนาง ทำให้พระองค์ทรงถ่วงดุลอำนาจทางการเมืองระหว่างกลุ่มขุนนางด้วยกัน โดยทรงอนุญาตให้เหล่าขุนนางแสวงหาผลประโยชน์อย่างกว้างขวางจากการค้าระหว่างประเทศ เท่ากับเป็นการเปิดโอกาสให้ขุนนางกลุ่มต่าง ๆ แสวงหาความมั่งคั่งและอำนาจ ขณะเดียวกันกับที่ภาวะสงครามที่อยุธยาต้องเผชิญมาหลายทศวรรษยุติลง ส่งผลให้การค้าต่างประเทศฟื้นตัวสู่ภาวะปกติ ขุนนางผู้ใหญ่สามารถสะสมทรัพย์สินจนมีฐานะมั่นคงเกิดการรวมกลุ่มเพื่อพิทักษ์ปกป้องผลประโยชน์ วิกฤตการณ์ทางการเมืองเกิดขึ้นเมื่อสิ้นสมัยพระเจ้าทรงธรรม และขุนนางกลุ่มต่าง ๆ ได้ต่อสู้แย่งชิงอำนาจกัน จนกระทั่งในที่สุดออกญากลาโหมสามารถปราบปรามขุนนางกลุ่มต่าง ๆ พร้อมทั้งปลดพระอาทิตยวงศ์ออกจากราชสมบัติ แล้วปราบดาภิเษกสมเด็จพระเจ้าปราสาททองขึ้นเป็นกษัตริย์

        สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองและสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีการควบคุมขุนนางอย่างเข้มงวดด้วยวิธีการต่าง ๆ และมีการรับขุนนางชาวต่างชาติเข้ารับราชการ

     สมัยอยุธยาตอนปลายมีการแย่งชิงราชสมบัติเกือบทุกรัชกาล ผู้ชนะก็จะได้เป็นกษัตริย์และกำจัดฝ่ายพ่ายแพ้ หมุนเวียนเช่นนี้จนกระทั่งสิ้นสุดสมัยอยุธยาใน พ.ศ. 2310

เศรษฐกิจอยุธยา

        พื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ก่อให้เกิดรายได้หลักของอาณาจักรอยุธยาขึ้นอยู่กับการเกษตร การค้าและการเก็บภาษีอากร

         1.  การเกษตร เป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญของอยุธยา ประชาชนส่วนใหญ่เป็นชาวนา ข้าวเป็นพืชที่สำคัญที่สุด การปลูกข้าวทำกันในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่และความเอื้ออำนวยของธรรมชาติทำให้การปลูกข้าวในแถบนี้ได้ผลิตผลมาก และเป็นผลให้มีผู้คนจากแหล่งอื่นเข้ามาอาศัยทำมาหากินจำนวนมาก อีกทั้งอยุธยามีนโยบายสนับสนุนให้พลเมืองหักร้างถางพงบุกเบิกที่นาทำการเพาะปลูก

         นอกจากเศรษฐกิจของอยุธยาจะอาศัยผลิตผลจากข้าวแล้ว รัฐยังมีรายได้จากอากรค่านา ซึ่งประชาชนจะจ่ายเป็นข้าวเปลือกให้แก่ฉางหลวงทุกปี เรียกว่า หางข้าว ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าในสมัยอยุธยาตอนต้นเก็บในอัตราละกี่ถัง แต่ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเปลี่ยนจากการเก็บ หางข้าวมาเก็บเป็นเงินโดยเก็บไร่ละสลึง

          ข้าวยังเป็นสินค้าส่งไปขายต่างประเทศอีกด้วย ปรากฏหลักฐานว่าอยุธยาส่งข้าวและพืชพันธุ์ธัญญาหารไปขายที่มะละกา บริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดาที่เมืองปัตตาเวียเป็นลูกค้าข้าวรายสำคัญและมีการส่งข้าวปริมาณมากขายให้จีนในสมัยอยุธยาตอนปลาย นอกจากนี้รัฐยังเก็บข้าวเป็นเสบียงไว้ใช้ในเวลาสงคราม การเพาะปลูกจึงเป็นรากฐานที่สร้างความมั่นคงและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจให้แก่สังคมอยุธยา

         2.  การค้า การค้าภายในและการค้าต่างประเทศ (การค้าทางทะเล) เป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สร้างความมั่งคั่งให้รัฐ ทั้งพระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ และขุนนาง

         เนื่องจากเศรษฐกิจของอยุธยาเป็นแบบยังชีพ การค้าภายในจึงทำกันอย่างจำกัด แบบแลกเปลี่ยนซื้อขายระหว่างผู้มีผลิตผลอย่างหนึ่งกับผู้มีผลิตผลอีกอย่างหนึ่ง ประชาชนส่วนใหญ่ยังคงผลิตเครื่องยังชีพเกือบทุกชนิดขึ้นใช้เอง การค้าภายในเป็นระบบการแลกเปลี่ยนสินค้าที่ขาดแคลนภายในท้องถิ่นและระหว่างท้องถิ่น

          ในด้านการค้าระหว่างประเทศ รัฐใช้วิธีผูกขาดการค้าโดยผ่าน พระคลังสินค้า มีการกำหนดรายการสินค้าผูกขาดและสินค้าต้องห้าม แต่รัฐมิได้เข้าไปควบคุมการผลิตโดยตรง เพียงแต่ราษฎรต้องขายผลิตผลที่เป็นสินค้าออกเกือบทั้งหมดให้รัฐผ่าน "พระคลังสินค้า" และรัฐเป็นผู้ขายสินค้าต่างประเทศทุกชนิดแก่ราษฎร แต่ราษฎรสามารถขายสินค้าที่ไม่ใช่สินค้าส่งออกหรือสินค้าต้องห้ามได้อย่างค่อนข้างอิสระ การดำเนินงานของพระคลังสินค้าเป็นไปในลักษณะของการผูกขาดการค้า กล่าวคือ ทำหน้าที่เป็นคนกลางในการซื้อขายสินค้าสำคัญกับราษฎร และพ่อค้าชาวต่างชาติ ทั้งราษฎรและชาวต่างชาติต้องซื้อสินค้าผ่านพระคลังสินค้าเท่านั้น 
           การค้าต่างประเทศของไทยสมัยอยุธยาผูกพันอยู่กับสินค้าประเภทของป่าเป็นสำคัญ และมีสินค้าประเภทอื่น ๆ เช่น อาหาร แร่ เครื่องสังคโลก การผูกขาดการค้าโดยพระคลังสินค้า ทำให้อยุธยาสามารถกอบโกยความมั่งคั่งจากการค้าไ้ด้อย่างมหาศาล

           กิจกรรมการค้าที่เฟื่องฟูในสมัยอยุธยานำมาซึ่งความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมทำให้ชนชั้นปกครองซึ่งเป็นผู้ดำเนินกิจกรรมการค้ากับต่างประเทศมีความมั่งคั่งร่ำรวย มีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี มีโอกาสใช้ของฟุ่มเฟือย และช่วยเสริมสร้างอำนาจทางการเมือง แต่สำหรับชนชั้นล่างในสังคมอยุธยาชีวิตไม่ได้เปลี่ยนไปมากนัก เพราะมีฐานะเป็นเพียงผู้ผลิตเท่านั้น

        3.  การเก็บภาษีอากร ราษฎรหรือไพร่ในสมัยอยุธยาจะมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับพระมหากษัตริย์หรือรัฐผ่านการเก็บภาษีอากร โดยราษฎรหรือไพร่มีหน้าที่ที่จะต้องเสียภาษีอากรให้พระมหากษัตริย์เป็นการตอบแทนที่พระองค์ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ราษฎรเข้าไปทำมาหากินในที่ดินของพระองค์ พราะตามแนวคิดของสังคมไทยในสมัยนั้นถือว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นเจ้าของที่ดินทั้งหมดในราชอาณาจักร ภาษีอากรที่พระมหากษัตริย์เก็บได้จากราษฎรจะนำไปใช้จ่ายในการบริหารราชอาณาจักร นอกจากภาษีอากรแล้ว รัฐยังมีรายได้จากจกอบ (จังกอบ) ส่วย ฤชา ภาษีสินค้าขาเข้าและภาษีสินค้าขาออกจากการค้าระหว่างประเทศ

สังคมสมัยอยุธยา

        ในสมัยอยุธยา โครงสร้างทางสังคมเป็นแบบเจ้าขุนมูลนาย มีการจัดระบบที่มีผลให้เกิดการแบ่งชนชั้นในสังคมเป็น 2 ระบบอย่างชัดเจน คือ ระบบไพร่และระบบศักดินา

         1.  ระบบไพร่ เป็นวิธีการที่รัฐควบคุมแรงงานของประชาชนตามระดับชั้น โดยการให้มูลนายระดับต่าง ๆ ควบคุมไพร่ทุกคนจะต้องขึ้นทะเบียนสังกัดกับหัวหน้าของตน ถ้าไพร่ไร้สังกัดจะถูกส่งเข้าเป็นคนของหลวง หรือ "ไพร่หลวง" คือ สังกัดกรมกองในราชธานี มีอัครมหาเสนาบดี เสนาบดีและขุนนางเป็นหัวหน้าควบคุม แยกเป็นกรมต่าง ๆ โดยขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์ มีหน้าที่ถูกเกณฑ์แรงงานในการทำงานสาธารณประโยชน์ เช่น สร้างกำแพงเมือง ขุดลอกคูคลอง เป็นต้น        

          เมื่อมีการปฏิรูปการปกครองในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ มีการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางมากขึ้น เจ้าเมืองและมูลนายตามหัวเมือง จะถูกควบคุมโดยเสนาบดีที่เมืองหลวง ไพร่ตามหัวเมืองจึงต้องขึ้นสังกัดกรมกองในราชธานีด้วย ทำให้ไพร่ส่วนใหญ่กลายเป็นไพร่สังกัดกรมต่าง ๆ หรือเป็นไพร่หลวง ส่วนไพร่ที่พระมหากษัตริย์พระราชทานให้พระบรมวงศานุวงศ์ หรือขุนนาง เรียกว่า ไพร่สม มีหน้าที่รับใช้นายของตน

         2. ระบบศักดินา เป็นการจัดระเบียบทางสังคมด้วยการจำแนกฐานะสังคมของประชาชนตั้งแต่สูงสุดจนถึงต่ำสุด กำหนดหน้าที่ ความรับผิดชอบ อภิสิทธิ์และสิทธิต่าง ๆ ที่บุคคลในแต่ละระดับชั้นในสังคมสามารถจะมีได้ตามกฎหมาย โดยมีจำนวนที่นาหรือศักดินามากน้อยเป็นเครื่องแสดงบ่งชี้ฐานะสูงต่ำตามลำดับ เช่น เจ้านายหรือพระบรมวงศานุวงศ์ กำหนดศักดินาระหว่าง 500-100,000 ศักดินาระหว่าง 400-10,000 คือ พวกข้าราชการหรือขุนหมื่นต่ำกว่า 400 ลงมา ยังไม่ถือว่าเป็นขุนนาง พระสงฆ์ศักดินาระหว่าง 100-2,400

        คนทุกคนและทุกระดับชั้นจะมีศักดินาประจำตัว ยกเว้นพระมหากษัตริย์เพียงพระองค์เดียว ทรงเป็นสมมติเทพ เป็นเจ้าชีวิตและเจ้าแผ่นดิน อีกทั้งทรงเป็นผู้พระราชทานศักดินาให้แก่ข้าแผ่นดินทุกคน

      สังคมไทยสมัยอยุธยาแบ่งคนในสังคมออกเป็น 2 ชนชั้นใหญ่ๆ คือ ชนชั้นปกครองกับชนชั้นที่ถูกปกครอง

   1.  ชนชั้นปกครอง ประกอบด้วย

              1.1  พระมหากษัตริย์ มีฐานะเป็นผู้ปกครองและผู้นำสูงสุด ทรงมีหน้าที่ดูแลทุกข์สุขของไพร่ฟ้าอาณาประชาราษฎร์ รักษาความสงบเรียบร้อยของสังคมด้วยการตราพระราชกำหนดกฎหมาย จัดวางระเบียบสังคมและตัดสินกรณีพิพาทต่าง ๆ ทำนุบำรุงพระศาสนา ตลอดจนศิลปวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของสังคม และหน้าที่สำคัญที่สุดอีกประการหนึ่งของพระมหากษัตริย์ คือ ทรงเป็นผู้นำในการต่อสู้ป้องกันการรุกรานของศัตรูจากภายนอก

              1.2  พระราชวงศ์หรือเจ้านาย หมายถึง ผู้สืบสายใกล้ชิดของพระมหากษัตริย์ซึ่งมีตำแหน่งลดหลั่น ลงมา มีหน้าที่ช่วยพระมหากษัตริย์ในการปกครอง เจ้านายมีสิทธิเหนือสามัญชนหลายประการ เช่น ไม่ถูกเกณฑ์แรงงาน ไม่ต้องเสียภาษี ได้รับผลประโยชน์จากไพร่ในสังกัด และได้รับพระราชทานเบี้ยหวัดประจำปี เมื่อเจ้านายมีคดีความศาลกรมวังเท่านั้นที่จะพิจารณาคดี

              1.3  ขุนนางหรือข้าราชการ คือ กลุ่มสามัญชนที่ได้รับราชการในตำแหน่งต่าง ๆ สามัญชนที่รับราชการและได้รับพระราชทานศักดินาตั้งแต่ 400-1,000 จะได้รับการยกย่องว่าเป็น ขุนนาง ถ้าศักดินาต่ำกว่า 400 ยังไม่ถือว่าเป็นขุนนาง

              ขุนนางมีอำนาจหน้าที่บังคับบัญชากรมกองต่าง ๆ ที่ได้รับมอบหมาย ควบคุมไพร่พลจัดเก็บภาษีจากไพร่พลในสังกัดและภาษีที่อยู่ในบังคับบัญชากรมกอง รวมไปถึงพิจารณาอรรถคดีต่าง ๆ ที่อยู่ในอำนาจของกรมกองที่ตนบังคับบัญชา ในยามสงครามขุนนางต้องเกณฑ์ไพร่พลในกรมกองให้ครบตามจำนวนออกไปรบตามคำสั่งด้วย
             
              รายได้หลักของขุนนางมาจากการปฏิบัติหน้าที่ เช่น ค่าธรรมเนียม ภาษีอากรที่เก็บจากประชาชนอาชีพต่าง ๆ รวมทั้งพ่อค้าชาวต่างชาติ โดยนำเข้าท้องพระคลังหลวง ส่วนที่เหลือนำมาจัดแบ่งเฉลี่ยกันเอง

              สำหรับสิทธิของขุนนางนั้น ทั้งตัวขุนนางและครอบครัวได้รับการยกเว้นไม่ต้องถูกเกณฑ์แรงงาน ไม่ต้องเสียภาษี มีไพร่ในสังกัดตามฐานันดรศักดิ์ ไม่ต้องไปศาลเอง มีสิทธิใช้ทนายไปให้การในศาลแทน ขุนนางจะถูกสอบสวนต่อเมื่อพระมหากษัตริย์ทรงอนุญาต ขุนนางมีสิทธิเข้าเฝ้าตามลำดับยศศักดิ์ มีเสมียนทนาย มีเครื่องยศต่าง ๆ เช่น หีบหมากเงิน หีบหมากทอง ช้าง ม้า ข้าคน ที่ดิน แต่สิ่งเหล่านี้จะต้องถวายคืนเมื่อถึงแก่กรรมหรือลาออกจากราชการ

              1.4  พระสงฆ์ เป็นบุคคลที่มีลักษณะพิเศษกว่าบุคคลอื่นในสังคมไทย กล่าวคือ เป็นผู้ที่มีฐานะอันศักดิ์สิทธิ์ในสังคม สามัญชนไม่ว่าตำแหน่งฐานะใด หรือแม้แต่พระมหากษัตริย์ก็ต้องให้ความเคารพพระสงฆ์ด้วยการกราบไหว้ คณะสงฆ์ยังดำรงฐานะชนชั้นนำทางจิตใจของชนชั้นสามัญกับชนชั้นสูง สถาบันสงฆ์ยังเป็นที่พึ่งพิงของคนทุกชนชั้นในสังคม ทั้งทางจิตใจและพิธีกรรมทุก ๆ อย่างตั้งแต่เกิดจนตาย เทศนาสั่งสอนอบรมศีลธรรมจรรยาและแนวทางการดำเนินชีวิต ตลอดจนเป็นแหล่งถ่ายทอดศิลปวิทยาการหรือความรู้แขนงต่าง ๆ

               พระสงฆ์ได้รับการยกเว้นจากทางราชการไม่ต้องถูกเกณฑ์แรงงานหรือเข้าเวรทำงานให้มูลนายตลอดเวลาที่อุปสมบทอยู่ นอกจากนี้วัดต่าง ๆ มีที่ดินไร่นาซึ่งมีผู้ศรัทธาถวายไว้ เรียกว่า ที่ดินกัลปนา และมีข้าพระคอยทำงานบนที่ดินของสงฆ์ให้เกิดประโยชน์ ผลประโยชน์บนที่ดินกัลปนานั้นวัดไม่ต้องเสียภาษี วัดหลายวัดจึงมั่งคั่งร่ำรวย

   2.  ชนชั้นที่ถูกปกครอง ประกอบด้วย

                2.1  ไพร่หรือสามัญชน ในสังคมสมัยอยุธยา รัฐกำหนดให้ไพร่หรือสามัญชนทุกคนมีสังกัดอยู่ในการควบคุมดูแลของมูลนาย ต้องเสียภาษีและถูกเรียกเกณฑ์แรงงานรับใช้ในกิจการของรัฐ ทั้งนี้รัฐจะตอบแทนโดยการให้ความคุ้มครองชีวิต ทรัพย์สิน และสิทธิที่ไพร่พึงมีตามกฎหมาย

       ไพร่ในสมัยอยุธยาแบ่งเป็น 2 ชนิด ในด้านสถานะและสิทธิทางสังคมของไพร่ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของสังคม มีหน้าที่ทำการผลิตเพื่อเลี้ยงสังคม ผลิตผลจากแรงงานไพร่เป็นสินค้าส่งไปขายต่างประเทศ ไพร่ยังต้องถูกเกณฑ์แรงงาน เสียภาษีอากรให้แก่รัฐ และเป็นทหารในยามที่บ้านเมืองมีศึกสงคราม หรือแม้แต่เมื่อเกิดการแย่งชิงอำนาจในหมู่ชนชั้นปกครอง กำลังไพร่พลของแต่ละฝ่ายนับเป็นส่วนสำคัญในการวัดฐานะอำนาจของเจ้านายและขุนนาง

        ไพร่หลวง คือ ไพร่ที่สังกัดพระมหากษัตริย์แต่ก็มิได้ทรงควบคุมเอง ทรงแบ่งปันแจกจ่ายให้ไปประจำกรมกองต่าง ๆ และให้ขุนนางที่กำกับกรมกองนั้น ๆ เป็นผู้ดูแลบังคับบัญชาแทนพระองค์ ไพร่หลวงจะต้องมาเข้าเวรรับราชการตามกรมกองที่ตนเองสังกัดตามกำหนดระยะเวลาคือ ปีละ 6 เดือน หรือที่เรียกกันว่า เข้าเดือนออกเดือน
        ไพร่สม เป็นไพร่ที่พระมหากษัตริย์พระราชทานให้แก่มูลนาย คือ เจ้านายและขุนนาง ไพร่สมจึงเป็นไพร่ของมูลนายโดยตรง มีหน้าที่คอยรับใช้มูลนายในกิจการต่าง ๆ

                2.2  ทาส เป็นกลุ่มคนที่มีฐานะต่ำที่สุดของสังคม ถือเป็นทรัพย์สินและสามารถตกทอดเป็นมรดกและเป็นแรงงานทำหน้าที่รับใช้เจ้านาย มูลนาย และราชการ ข้าหรือทาสแบ่งเป็นหลายประเภท เช่น ทาสเชลย ทาสสินไถ่ สำหรับการควบคุมข้าหรือทาสนั้นไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด ในสมัยอยุธยาทาสถูกกำหนดศักดินาไว้เพียง 5 และถูกควบคุมอย่างเคร่งครัดโดยมีการตราเป็นกฏหมายลักษณะทาส
                ทาสทุกประเภท ยกเว้นทาสเชลย ความเป็นทาสมิได้ถาวรตลอดไปเพราะสังคมอยุธยาเปิดช่องทางให้ทาสมีโอกาสที่จะเป็นไทได้ คือ เมื่อทาสนำเงินค่าตัวมาไถ่ถอนตัวเองก็จะเป็นอิสระ และอีกทางหนึ่งคือ การหลุดพ้นตามบทบัญญัติกฎหมาย ส่วนทาสเชลย รวมทั้งลูกทาสเชลย ไม่มีสิทธิที่จะซื้ออิสรภาพของตนเองและไม่มีสิทธิอื่น ๆ ในสังคมไทย

        การแบ่งชนชั้นต่าง ๆ ของสังคมอยุธยา ไม่ได้เป็นการแบ่งแยกอย่างตายตัว การเลื่อนชั้นทางสังคมจากชนชั้นหนึ่งไปสู่อีกชนชั้นหนึ่งเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ ถ้าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถและทำความดีความชอบต่อบ้านเมือง โอกาสในการเลื่อนชั้นทางสังคมจะมีมากในภาวะที่บ้านเมืองมีศึกสงครามเพราะทั้งเจ้านาย ขุนนาง ข้าราชการ และไพร่ถูกเกณฑ์เข้ากองทัพมีโอกาสแสดงฝีมือและความสามารถ ประกอบความดีความชอบได้มากกว่าเวลาปกติ อย่างไรก็ตามโอกาสที่จะได้เลื่อนฐานะมีน้อยมาก ชนชั้นสูงมีโอกาสที่จะเข้ารับราชการและเลื่อนฐานะให้สูงขึ้นมากกว่า

ความเสื่อมของอาณาจักรอยุธยา

        ในสมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศ) ซึ่งครองราชย์นาน 9 ปี กรุงศรีอยุธยาก็เสียแก่พม่าเป็นครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2310

        ปัจจัยที่ทำให้อาณาจักรอยุธยาเสื่อมลง ได้แก่

        1.   ปัจจัยภายใน ที่สำคัญ คือ               

     - การแย่งชิงอำนาจทางการเมืองในหมู่เจ้านายและขุนนาง การรบพุ่งแย่งชิงอำนาจกันทำให้เสียกำลังคน และเมื่อแย่งชิงอำนาจมาได้หรือตั้งราชวงศ์ใหม่ได้แล้ว ก็มีการกำจัดผู้ที่มีความรู้ความสามารถของราชวงศ์อื่นก่อนอีกด้วย จึงเป็นทางหนึ่งที่ทำให้อยุธยาอ่อนแอลง

     - ความอ่อนแอของผู้นำ สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ไม่ทรงพระปรีชาสามารถแต่ใคร่จะได้รับราชสมบัติ จนพระอนุชา คือ สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรต้องถวายให้ เมื่อเกิดศึกสงครามก็มิได้ทรงเตรียมการป้องกันบ้านเมืองให้ดี จึงเสียกรุงแก่พม่า

           2.  ปัจจัยภายนอก ได้แก่ การขยายอำนาจของพม่า ในระยะนั้นพม่ามีความเข้มแข็ง สามารถยกทัพมาล้อมกรุงศรีอยุธยาตั้งแต่ พ.ศ. 2308 จนฝ่ายไทยพ่ายแพ้ในปี พ.ศ. 2310