ประวัติศาสตร์ไทยสมัยก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 (ก่อนสมัยสุโขทัย)
ประวัติความเป็นมาของชนชาติไทย
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
รัฐโบราณในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: ฟูนัน-สุวรรณภูมิ
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
รัฐโบราณในบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา: ทวารวดี (อู่ทอง นครปฐม และละโว้)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
รัฐโบราณในบริเวณภาคใต้ของไทย: ลังกาสุกะ ตักโกละ ตามพรลิงค์ และศรีวิชัย
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
รัฐโบราณในบริเวณภาคเหนือของไทย: โยนกเชียงแสน และหริภุญชัย
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ประวัติศาสตร์ไทยสมัยหลังพุทธศตวรรษที่ 19 (สมัยการสถาปนาราชธานีของอาณาจักรไทย)
กรุงสุโขทัย
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กรุงศรีอยุธยา
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กรุงธนบุรี
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงรัชกาลที่ 1-3
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงรัชกาลที่ 4-5
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
100%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงรัชกาลที่ 6-8
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงรัชกาลที่ 9
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
100%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
บุคคลสำคัญกับการสร้างสรรค์วัฒนธรรมไทย
บุคคลสำคัญในช่วงก่อนกรุงรัตนโกสินทร์
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
บุคคลสำคัญในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ 1
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
บุคคลสำคัญในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ 2
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
บุคคลสำคัญในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ 3
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
บุคคลสำคัญในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ 4
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
บุคคลสำคัญในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ 5
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย

กรุงสุโขทัย

ยอดวิว 0

แบบฝึกหัด

EASY

กรุงสุโขทัย (ชุดที่ 1)

HARD

กรุงสุโขทัย (ชุดที่ 2)

news

กรุงสุโขทัย

เนื้อหา

กรุงสุโขทัย

การสถาปนาราชวงศ์พระร่วง

        อาณาจักรสุโขทัยตั้งอยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำยม ซึ่งอยู่ทางตอนบนของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา มีประวัติความเป็นมาอย่างยาวนาน โดยสามารถสืบย้อนเรื่องราวก่อนที่จะเกิดอาณาจักรราชวงศ์พระร่วง ได้จากหลักฐานในศิลาจารึกหลัก ที่ 2 ที่มีชื่อเรียกว่า ศิลาจารึกวัดศรีชุม มีเนื้อความกล่าวถึงเมืองสุโขทัยว่า มีพ่อขุนศรีนาวนำถุมปกครอง  เมื่อพ่อขุนศรีนาวนำถุมสวรรคต ขอมสบาดโขลญลำพง ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นชาวเขมรได้ยึดครองสุโขทัยไว้ ต่อมาพ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด ซึ่งเป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ของพ่อขุนศรีนาวนำถุมและเป็นพระราชบุตรเขยของกษัตริย์เขมร ได้ร่วมมือกับพระสหาย คือ พ่อขุนบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยาง โจมตีขอมสบาดโขลญลำพงจนสามารถยึดเมืองทั้งหมดกลับมาได้ พ่อขุนผาเมืองทรงอภิเษกพ่อขุนบางกลางหาวขึ้นครองกรุงสุโขทัย มีพระนามว่า "พ่อขุนศรีอินทราทิตย์" นับเป็นต้นราชวงศ์พระร่วง


ภาพที่ 1  พระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%82%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A2%E0%B9%8C#/media/%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%A5%E0%B9%8C:%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%82%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A2%E0%B9%8C.jpg

อาณาจักรสุโขทัย มีปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดการตั้งเป็นอาณาจักร ดังนี้

        1.  ปัจจัยภายใน ได้แก่

               1.1  ทำเลที่ตั้ง ดินแดนที่รวมกันเป็นอาณาจักรสุโขทัยมีลักษณะตั้งอยู่บนชุมทางการค้าขาย โดยมีเส้นทางการค้าหลายเส้นทางที่เชื่อมเข้ามาในสุโขทัย มีทั้งจากเมืองท่าเมาะตะมะ (ในเมียนมาร์) ล้านนา หลวงพระบาง เวียดนาม ดินแดนภาคตะวันออกเฉียงหนือที่อยู่ในอำนาจของอาณาจักรเขมร และจากภาคกลางมาตามลำน้ำสายต่าง ๆ นอกจากนี้ยังอยู่ในจุดที่มีอิทธิพลอารยธรรมพม่า มอญและเขมรมาบรรจบกัน อีกทั้งเมืองสุโขทัย ซึ่งเป็นศูนย์กลาง ตั้งอยู่แถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนบน ซึ่งห่างไกลจากศูนย์กลางอำนาจของอาณาจักรเขมรในขณะนั้น ทำให้สุโขทัยสามารถเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาได้ โดยไร้คู่แข่งจากภายนอก

               1.2  การร่วมมือกัน เช่น กรณีที่พ่อขุนผาเมืองและพ่อขุนบางกลางหาวร่วมมือกันขับไล่ขอมสบาดโขลญลำพงได้สำเร็จ ต่อจากนั้นพ่อขุนผาเมืองยังยอมเสียสละโดยอภิเษกพ่อขุนลางกลางหาวให้ขึ้นเป็นกษัตริย์สุโขทัย

               1.3  ความสามารถของผู้นำ กษัตริย์สุโขทัยมีความเป็นนักรบและนักปราชญ์ เช่น

    - พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงทำสงครามขยายอาณาเขตได้กว้างขวางยิ่งกว่ากษัตริย์สุโขทัยทุกพระองค์ และทรงวางรากฐานทางพระพุทธศาสนาในดินแดนสุโขทัย

    - พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) ทรงเป็นปราชญ์ทางพระพุทธศาสนา ทรงนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทยและทรงใช้หลักธรรมในการปกครอง นอกจากนี้ยังทรงพระราชนิพนธ์หนังสือ ไตรภูมิพระร่วงซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับคติความเชื่อต่าง ๆ เช่น ภพภูติต่าง ๆ นรก สวรรค์ การเวียนว่ายตายเกิด ทวีปทั้งสี่ พระเจ้าจักรพรรดิ ฯลฯ

        2.  การสร้างความสัมพันธ์กับจีน

               ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นระยะที่กุบไลข่าน (Kublai Khan) จักรพรรดิราชวงศ์หยวนกำลังขยายอำนาจเข้ามาในเอเชีย พ่อขุนรามคำแหงมหาราชจึงติดต่อกับจีนในระบบรัฐบรรณาการ ทำให้จีนยอมรับสุโขทัยและไม่ขัดข้องที่สุโขทัยจะประกาศอำนาจตนเป็นอิสระ เพราะไม่กระทบกระเทือนจีน การติดต่อกับจีนนี้ ทำให้สุโขทัยได้รับเอาเทคโนโลยีการทำเครื่องเคลือบจากจีนมา และสามารถผลิตงานหัตถกรรมเครื่องเคลือบที่มีชื่อเสียง นั่นคือ "เครื่องสังคโลก" ได้อีกด้วย

การเมืองสมัยสุโขทัย

        ประวัติศาสตร์อาณาจักรสุโขทัยตลอดสมัย แบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะแรกประมาณปี พ.ศ. 1792-1921 สุโขทัยมีฐานะเป็นอาณาจักรอิสระ ระยะที่ 2 ประมาณปี พ.ศ. 1921-2006 เป็นสมัยที่สุโขทัยตกเป็นประเทศราชของอาณาจักรอยุธยา โดยมีช่วงเวลาสั้น ๆ ที่สามารถแยกตัวเป็นอิสระได้

        ในสมัยสุโขทัย หัวเมืองต่าง ๆ ได้รวมตัวกันอย่างหลวม ๆ ความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์กับเจ้าเมืองในอาณาจักรเป็นลักษณะความสัมพันธ์แบบเครือญาติ ดังนั้นความสัมพันธ์ระหว่างเมืองสุโขทัยกับหัวเมืองจึงขึ้นอยู่กับพระมหากษัตริย์แต่ละพระองค์เป็นสำคัญ เมื่อพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถสวรรคต หัวเมืองต่าง ๆ ที่เคยอยู่ภายใต้อำนาจก็จะแยกตัวเป็นอิสระ นอกจากนี้ความไม่มีเสถียรภาพในการเมืองการปกครองของสุโขทัยทำให้อาณาจักรอยุธยาเข้ามาแทรกแซงจนสามารถผนวกสุโขทัยได้ในที่สุด

เศรษฐกิจสมัยสุโขทัย

       พื้นฐานทางเศรษฐกิจของอาณาจักรสุโขทัยขึ้นอยู่กับการเกษตร การค้าและหัตถกรรม

        1.  การเกษตร อาณาจักรสุโขทัยมีพื้นฐานหลักทางเศรษฐกิจอยู่ที่การเกษตร แต่สุโขทัยตั้งอยู่บนที่ราบเชิงเขาซึ่งเป็นที่ลาด และห่างไกลจากแม่น้ำสายหลัก จึงมีปัญหาในการกักเก็บน้ำเพื่อใช้ในการบริโภคและการเพาะปลูก การเกษตรของสุโขทัยจึงต้องใช้ระบบชลประทานเข้ามาช่วยควบคุมน้ำที่ไหลบ่าจากบริเวณภูเขา โดยสร้างแนวคันดินและทำนบกั้นน้ำเรียกว่า "สรีดภงส์" สำหรับในเขตที่ลุ่มมีการสร้างเหมืองฝายและขุดคูคลองส่งน้ำเป็นแนวยาวและที่กักเก็บน้ำภายในเมือง เรียกว่า "ตระพัง"

        2.  การค้า การค้าของสุโขทัยมีทั้งการค้าระหว่างเมืองต่าง ๆ และการค้าระหว่างประเทศ อันเนื่องมาจากว่าเมืองสุโขทัย ซึ่งเป็นศูนย์กลางอาณาจักร ได้ตั้งอยู่บนชุมทางการค้าของเส้นทางการค้าทางบน ด้านศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวถึง "ตลาดปสาน" มีความหมายว่า ตลาดที่มีห้องหรือร้านเป็นแถวติดต่อกันซึ่งน่าจะมาจากคำว่า "บาซาร์" ในภาษาเปอร์เซีย แสดงให้เห็นถึงการที่สุโขทัยมีตลาดให้ประชาชนมาซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและผลผลิต ในด้านการค้าภายในอาณาจักรนั้นมีนโยบายการไม่เก็บภาษีผ่านด่านหรือภาษี  จกอบ (จังกอบ) 

        นอกจากนี้อาณาจักรสุโขทัยยังเปิดให้มีกาค้าเสรี ดังข้อความในจารึกว่า “ใครจักใคร่ค้าช้าง ค้า ใครจักใคร่ค้าม้า ค้า ใครจักใคร่ค้าเงือนค้าทอง ค้า” สันนิษฐานว่าการค้าระหว่างอาณาจักรสุโขทัยกับ ดินแดนใกล้เคียงคงมีความเจริญรุ่งเรือง โดยสุโขทัยเป็นศูนย์กลางการค้าในภูมิภาคและยังมีการค้ากับจีน เมืองเมาะตะมะ และบริเวณอ่าวไทย

        3.  หัตถกรรม หัตถกรรมในแคว้นสุโขทัยที่สำคัญ คือ เครื่องสังคโลก ซึ่งสร้างชื่อเสียงและทำรายได้ให้แก่สุโขทัย เตาเผาเครื่องสุโขทัยเรียกว่าเตาทุเรียง มีแหล่งผลิตที่สำคัญ 3 แห่ง ได้แก่ เตาทุเรียงสุโขทัย เตาทุเรียงป่ายาง และเตาทุเรียงเกาะน้อย

สังคมสมัยสุโขทัย

        สังคมในสมัยสุโขทัยมีรากฐานมาจากสังคมเผ่า มาสู่สังคมเมืองและสังคมระดับอาณาจักรในที่สุด เป็นสังคมที่นับถือศาสนาพุทธ ประชากรมีจำนวนไม่มากและอาศัยอยู่ในพื้นที่ไม่กว้างขวางนักสามารถติดต่อกันได้สะดวก มีระบบการปกครองแบบพ่อปกครองลูก ผู้นำหรือผู้ปกครองดูแลประชาชนได้อย่างใกล้ชิด
         อย่างไรก็ตาม สังคมสุโขทัยยังไม่มีความซับซ้อนเป็นสังคมที่ผู้คนมีวัฒนธรรมคล้ายคลึงกัน ชนชั้นในสมัยนี้ประกอบด้วยพระมหากษัตริย์ เจ้านาย ขุนนาง เป็นชนชั้นปกครอง ไพร่และทาสเป็นชนชั้นใต้ปกครอง และพระสงฆ์เป็นชนนั้นพิเศษ ที่เป็นที่เคารพของชนชั้นอื่น ๆ

ความเสื่อมและการสิ้นสุดของอาณาจักรสุโขทัย

        หลังจากที่พระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล) สวรรคตในปี พ.ศ. 1981 ทางอยุธยาไม่ตั้งผู้ใดขึ้นเป็นพระมหาธรรมราชาอีก แต่ให้ผู้มีเชื้อสายราชวงศ์พระร่วงมาปกครองเมืองพิษณุโลกในฐานะประเทศราชของอยุธยา จนถึงปี พ.ศ. 2006 เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถซึ่งมีเชื้อสายราชวงศ์พระร่วง เสด็จไปประทับที่เมืองพิษณุโลก พระองค์จึงถือโอกาสผนวกเอาณาจักรสุโขทัยเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาตั้งแต่นั้นมา

       สาเหตุความเสื่อมของอาณาจักรสุโขทัย 

        1.  ปัจจัยภายใน ที่สำคัญ คือ

         - การแก่งแย่งอำนาจของผู้นำ ปรากฏชัดเจนเมื่อครั้งพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) ยังทรงเป็นมหาอุปราชครองเมืองศรีสัชนาลัย ต้องทรงยกทัพไปปราบศัตรูที่กรุงสุโขทัยแล้วปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ และในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 3 (ไสลือไทย) สวรรคต ได้เกิดสงครามแย่งชิงราชสมบัติระหว่างพระยาบาลเมืองและพระยาราม
         - ความไม่เข้มแข็งของผู้นำ กษัตริย์สุโขทัยนอกจากพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พ่อขุนรามคำแหง และพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) แล้ว กษัตริย์สุโขทัยองค์อื่น ๆ ล้วนแต่ขาดความเข้มแข็ง ทำให้อาณาจักรสุโขทัยตกอยู่ในอำนาจของอยุธยาในช่วงปลาย
          - การถูกตัดเส้นทางการค้า สุโขทัยเสื่อมข้างสำคัญลงในฐานะชุมทางการค้าทางบก เดิมสุโขทัยลำเลียงสินค้าออกทะเลทางอ่าวไทย และอ่าวเมาะตะมะได้ (ผ่านอาณาจักรมอญ ซึ่งเป็นพันธมิตร) แต่เมื่อมีการตั้งอาณาจักรอยุธยาขึ้น เส้นทางการค้าผ่านไปตามแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างจึงถูกปิดกั้นไป กอปรกับเส้นทางออกทะเลที่อ่าวเมาะตะมะก็อยู่ไกลเกินไปและมีความยากลำบากมากกว่า  จึงเป็นผลให้เกิดความอ่อนแอทางเศรษฐกิจ

        2.  ปัจจัยภายนอก

              การขยายอำนาจขึ้นไปทางเหนือของอาณาจักรอยุธยา โดยการใช้กำลังทหาร การแทรกแซงกิจการภายในและการสร้างความสัมพันธ์ทางเครือญาติ ทำให้อาณาจักรสุโขทัยอ่อนแอลงเรื่อย ๆ จนสิ้นสุดลงถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถในที่สุด