ประวัติศาสตร์ไทยสมัยก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 (ก่อนสมัยสุโขทัย)
ประวัติความเป็นมาของชนชาติไทย
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
รัฐโบราณในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: ฟูนัน-สุวรรณภูมิ
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
รัฐโบราณในบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา: ทวารวดี (อู่ทอง นครปฐม และละโว้)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
รัฐโบราณในบริเวณภาคใต้ของไทย: ลังกาสุกะ ตักโกละ ตามพรลิงค์ และศรีวิชัย
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
รัฐโบราณในบริเวณภาคเหนือของไทย: โยนกเชียงแสน และหริภุญชัย
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ประวัติศาสตร์ไทยสมัยหลังพุทธศตวรรษที่ 19 (สมัยการสถาปนาราชธานีของอาณาจักรไทย)
กรุงสุโขทัย
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กรุงศรีอยุธยา
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กรุงธนบุรี
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงรัชกาลที่ 1-3
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงรัชกาลที่ 4-5
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
100%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงรัชกาลที่ 6-8
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงรัชกาลที่ 9
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
100%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
บุคคลสำคัญกับการสร้างสรรค์วัฒนธรรมไทย
บุคคลสำคัญในช่วงก่อนกรุงรัตนโกสินทร์
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
บุคคลสำคัญในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ 1
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
บุคคลสำคัญในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ 2
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
บุคคลสำคัญในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ 3
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
บุคคลสำคัญในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ 4
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
บุคคลสำคัญในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ 5
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย

สถานะและบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยกับการพัฒนาชาติในยุคสมัยต่าง ๆ

ยอดวิว 0

แบบฝึกหัด

EASY

สถานะและบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยกับการพัฒนาชาติในยุคสมัยต่างๆ (ชุดที่ 1)

HARD

สถานะและบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยกับการพัฒนาชาติในยุคสมัยต่างๆ (ชุดที่ 2)

news

สถานะและบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยกับการพัฒนาชาติในยุคสมัยต่าง ๆ

เนื้อหา

สถาบันพระมหากษัตริย์ไทย

        สถาบันพระมหากษัตริย์ไทย มีความสำคัญยิ่งต่อสังคมไทยมาช้านาน เป็นสถาบันสูงสุดทางการเมืองการปกครองของไทยที่ยั่งยืนมั่นคงคู่กับสถาบันชาติ สถาบันศาสนา และวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  ในปัจจุบันมีอยู่หลายคำที่สื่อถึงองค์พระมหากษัตริย์ แต่ละคำนั้นต่างก็มีความหมายและแนวคิดแฝงไว้ เช่น

      พระมหากษัตริย์ คำว่า "กษัตริย์" เป็นภาษาสันสกฤต มาจากรากศัพท์
คำว่า "ขตฺติย" ("เขตฺต" + "อิย") แปลว่า ผู้เป็นใหญ่แห่งเขต (นา)
มีพื้นฐานมาจากในอดีตนั้นสังคมมนุษย์เป็นสังคมเกษตรกรรม จึงต้องมีผู้ดูแลไม่ให้ใครเข้ามารุกรานพื้นที่ ต่อมาคำนี้ยังคงมีการเรียกผู้นำกลุ่มนี้ในเชิงของการเป็นนักรบด้วย ดังนั้น ความหมายของพระมหากษัตริย์จึงมีนัยยะทั้งสองอย่าง คือ ผู้เป็นใหญ่แห่งเขต และ นักรบผู้ยิ่งใหญ่ ซึ่งแสดงถึงสถานะและบทบาทหน้าที่ของพระมหากษัตริย์
      พระเจ้าแผ่นดิน หมายถึง การเป็นเจ้าของแผ่นดิน รวมถึงการสร้างความอุดมสมบูรณ์ของแผ่นดิน เนื่องจากพลเมืองไทย ทำอาชีพเกษตรเป็นหลัก
ดังนั้น จึงมีพระราชพิธีเพื่อสร้างขวัญกำลังใจ เช่น พระราชพิธีแรกนาขวัญ เป็นต้น
      พระเจ้าอยู่หัว แสดงถึง ความเป็นที่เคารพสูงสุดเหนือหัว

        สถาบันพระมหากษัตริย์มีพัฒนาการต่อเนื่องยาวนานควบคู่กับแผ่นดินไทย ย้อนหลังไปถึงการสถาปนาอาณาจักรโบราณ ที่ปรากฏในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่พบในดินแดนไทย ยืนยันถึงบทบาทของพระมหากษัตริย์ในฐานะผู้ปกครองสูงสุดของอาณาจักร เป็นเอกอัครศาสนูปถัมภก ดูแลทุกข์สุข ปกป้องคุ้มครองประชาน และสืบสานวัฒนธรรมของชาติ โดยอาณาจักรไทยผ่านรูปแบบการปกครองแตกต่างกันตามลำดับ

      1.  แบบพ่อปกครองลูก (ปิตาธิปไตย)
      2.  แบบธรรมราชา 
      3.  แบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (ตามคติเทวราชา)
      4.  แบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

สถาบันพระมหากษัตริย์ในสมัยสุโขทัย

        ในสมัยสุโขทัยตอนต้นพระมหากษัตริย์มีคำนำหน้าพระนามว่า “พ่อขุน” หมายถึง ผู้เป็นใหญ่กว่าขุนทั้งหลายซึ่งครองเมืองต่าง ๆ ในราชอาณาจักรสุโขทัย ส่วนรูปแบบการปกครองมีลักษณะเป็นแบบพ่อปกครองลูก (ปิตาธิปไตย) โดยวิเคราะห์จากการที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรงอนุญาตให้พลเมืองของพระองค์ที่มีทุกข์เดือดร้อนให้ถวายฎีกา โดยการสั่นกระดิ่งหน้าพระราชวัง และพระองค์จะทรงไต่สวนให้ความเป็นธรรมด้วยพระองค์เอง นอกจากนี้ทุกวันพระ พระองค์ได้อารธนาพระสงฆ์ให้นั่งบนกระดานหินหรือพระแท่นมนังศิลาบาตร เพื่ออบรมสั่งสอนประชาชน

         ด้วยแนวคิดของพุทธศาสนาที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อสังคมไทย ทำให้ในเวลาต่อมากษัตริย์สุโขทัยจึงใช้พระนามว่า “พระมหาธรรมราชา” รูปแบบการปกครองจึงเปลี่ยนเป็นแบบธรรมราชา คือ การนำความคิดความเชื่อในพระพุทธศาสนามาช่วยในการปกครองบ้านเมือง พระมหากษัตริย์ในช่วงเวลานี้ที่มีชื่อเสียงคือ พระมหาธรรมราชาที่ 1 ซึ่งได้ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญ นั่นคือ "ไตรภูมิพระร่วง"

  • ด้านตุลาการ ในสมัยดังกล่าวใช้หลักพระธรรมศาสตร์
  • ด้านพระศาสนา พระมหากษัตริย์สุโขทัยทรงเป็น อัครศาสนูปถัมภกทุกศาสนา ส่งเสริมพระพุทธศาสนาทั้งการนิมนต์พระเถระสังฆราชและคณะสงฆ์นิกายลังกาวงศ์จาก เมืองนครศรีธรรมราช ให้มาเผยแผ่ศาสนา นอกจากนี้ยังทำนุบำรุงความเชื่ออื่น ๆ เช่น ผีเทพยดาที่สถิตอยู่บนเขา ซึ่งเป็นความเชื่อแต่ดั้งเดิม
  • ด้านวัฒนธรรม จุดเด่น คือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์ลายสือไทย หรือตัวหนังสือไทย และจารึกไว้บนแท่งหิน ซึ่งต่อมาเรียกว่า "ศิลาจารึกหลักที่ 1" ทำให้ไทยเป็นชาติที่มีเอกลักษณ์ทางอักษรและภาษาไทยสืบมาถึงปัจจุบัน
        ในสมัยสุโขทัยสถาบันพระมหากษัตริย์ มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประชาชน แสดงถึงพระมหากษัตริย์ไม่ได้วางพระองค์เป็นเทพเจ้า แต่เป็นผู้นำบ้านเมืองปกป้องลูกหลานให้อยู่เย็นเป็นสุข

สถาบันพระมหากษัตริย์ในสมัยอยุธยา – ธนบุรี

        ในสมัยอยุธยาได้รับอิทธิพลระบบการปกครองจากดินแดนรอบข้าง นั่นคือ เขมร (กัมพูชา) และยังได้รับแนวคิดจากศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู เช่น การกระทำพิธีบรมราชาภิเษกให้พระมหากษัตริย์เป็นเทพเจ้า หรือสมมุติเทพ ตามคติเทวราชา ที่ว่ากษัตริย์คือเทพที่ลงมาจุติบนโลกมนุษย์เพื่อดูแลประชาชนและบ้านเมืองให้เป็นสุข การสร้างพระราชวังเป็นที่ประทับ การประทับบนพระที่นั่งที่สูงกว่าคนทั่วไปและมีการประดับด้วยสัญลักษณ์อันแสดงถึงความเป็นสมมุติเทพ การใช้คำราชาศัพท์ซึ่งส่วนมากเป็นคำศัพท์เขมร ทำให้พระมหากษัตริย์อยู่เหนือคนธรรมดาทั่วไป และยังทำให้พระมหากษัตริย์อยู่ในฐานะเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คนทั่วไปจะละเมิดไม่ได้ แนวคิดดังกล่าวปรากฏให้เห็นในกฎมณเฑียรบาล ถูกตราขึ้นในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เป็นข้อห้ามเคร่งครัดและมีบทลงโทษรุนแรง เช่น ห้ามจ้องมองพระมหากษัตริย์กษัตริย์ ห้ามแตะต้องพระองค์ เป็นต้น ซึ่งแนวคิดและสถานะของพระมหากษัตริย์มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมไทยและราชสำนักไทยจนถึงปัจจุบัน (แต่ได้รับการปรับปรุงให้มีความเป็นสากลตามแบบอย่างตะวันตกมากขึ้น ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)
         บทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ในสมัยอยุธยาเปี่ยมไปด้วยอำนาจสิทธิ์ขาดแบบอย่างพระมหากษัตริย์ตามระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่กำกับไว้ด้วยหลักธรรมด้านการปกครองทางพระพุทธศาสนา ยกตัวอย่างเช่น ทศพิธราชธรรม สังคหวัตถุ 4 และจักรวรรดิวัตร 12 และยังคงเป็นสถาบันสูงสุดทางการเมือง การปกครอง พระมหากษัตริย์อยุธยาหลายพระองค์ทรงเป็นผู้นำทัพในการแผ่ขยายอิทธิพลทางการเมืองการปกครอง และสร้างความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจให้กับราชอาณาจักร

        ในสมัยธนบุรี สถานะของสถาบันพระมหากษัตริย์ยังคงมีลักษณะเช่นเดียวกับอยุธยา คือ
ทำหน้าที่ในการปกป้องชาติบ้านเมือง ดูแลทุกข์สุขประชาชน ทำนุบำรุงศาสนา เช่นเดียวกับกษัตริย์ไทยในอดีต

สถาบันพระมหากษัตริย์ในสมัยรัตนโกสินทร์

        สถาบันกษัตริย์คงไว้ซึ่งสถานะอันศักดิ์สิทธิ์ตามคติของศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู สืบมาจากอยุธยาทุกประการ ดังเช่นการขึ้นครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ที่มีการทำพิธีบรมราชาภิเษกเพื่อเลื่อนตนเองสู่สถานะสมมุติเทพ แนวคิดดังกล่าวประกอบพระราชพิธีและสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่สำคัญ เช่น

  • พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในพระราชพิธีนี้ประกอบด้วย การทรงพระมุรธาภิเษกหรือสรงน้ำเพื่อกระทำให้เกิดความบริสุทธิ์ ทรงรับพระสุพรรณบัฏจารึก พระบรมนามาภิไธย และทรงรับเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ ประกอบด้วย
    1.  พระมหาเศวตฉัตร
    2.  พระมหาพิชัยมงกุฎ
    3.  พระแสงขรรค์ชัยศรี
    4.  พัดวาลวิชนีและพระแส้จามรี
    5.  ฉลองพระบาทเชิงงอน

   **ทั้งหมดนี้ทำขึ้นเพื่อเน้นความสำคัญของพระมหากษัตริย์ประดุจเทพเจ้า
  • พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา หรือพระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัจจา หมายถึง พระราชพิธีมงคลแห่งความซื่อสัตย์ ที่ใช้น้ำเป็นตัวกำหนด เพื่อสาบานตนว่าจะจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ 
       สำหรับสัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ เช่น พระราชวัง พระที่นั่ง พระราชลัญจกรหรือตราประจำแผ่นดิน ประจำราชวงศ์ และประจำรัชกาล

    ต่อมาเมื่อล่วงเข้าสู่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 อันเป็นยุคสมัยที่อิทธิพลของจักรวรรดินิยมตะวันตกได้แผ่เข้ามายังภูมิภาคเอเชีย สถานะของสถาบันพระมหากษัตริย์ได้ถูกปรับให้มีความเป็นสากลอย่างตะวันตกมากขึ้น ธรรมเนียมบางอย่างที่สืบทอดมาแต่โบราณถูกปรับเปลี่ยนหรือยกเลิกไป ยกตัวอย่างเช่น การหมอบคลานเข้าเฝ้า ให้เปลี่ยนมาเป็นการยืนโค้งคำนับอย่างตะวันตกแทน หรือการสวมเสื้อเข้าเฝ้า (เริ่มธรรมเนียมในสมัยรัชกาลที่ 4) แม้กระนั้นพระมหากษัตริย์ก็ยังทรงเป็งองค์รัฏฐาธิปัตย์ ผู้มีอำนาจเต็ม ตามการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

    และภายหลังเมื่อเกิดการอภิวัฒน์สยามขึ้น เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 สถานะของสถาบันพระมหากษัตริย์จึงได้เปลี่ยนมาอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ และไม่ได้มีอำนาจสิทธิ์ขาดเช่นแต่เดิมอีกต่อไป ตราบจนปัจจุบัน แม้กระนั้นสถานะของพระมหากษัตริย์ยังทรงได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ในหมวดที่ 2


 บทบาทของสถาบัน
พระมหากษัตริย์ต่อการพัฒนาชาติไทย

        สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสัญลักษณ์ของการดำรงอยู่ของชาติไทยมาต่อเนื่อง สังคมไทยให้ความสำคัญกับสถาบันพระมหากษัตริย์มาตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน เป็นสถาบันทางสังคมที่เข้มแข็ง ทำให้ประเทศไทยสามารถรักษาความเป็นไทยภายใต้พระบรมโพธิสมภาร ไม่ว่าการปกครองประเทศจะเปลี่ยนแปลงจากระบอบราชาธิปไตยที่เป็นการปกครองแบบ “พ่อปกครองลูก” โดยใช้อำนาจอธิปไตยปกครองประชาชนบนพื้นฐานความรัก เมตตา ดุจบิดาพึงมีต่อบุตร มาเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่เปรียบเสมือนสมมุติเทพที่มีอำนาจเหนือปวงชน จนมาสู่ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับกำหนดรูปแบบการปกครองและประมุขแห่งรัฐไว้ว่า ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ พระราชอำนาจทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นฐานะประมุขของรัฐ หรือในฐานะอื่น ได้ถูกกำหนดไว้โดยชัดแจ้งในรัฐธรรมนูญ (หมวดที่ 2)

        พระมหากษัตริย์ในระบอบรัฐธรรมนูญของไทยแม้จะได้รับการเทิดทูนให้ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ และรัฐธรรมนูญยังกำหนดพระราชอำนาจของ  พระมหากษัตริย์ โดยให้พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยซึ่งเป็นของประชาชน โดยใช้อำนาจนิติบัญญัติผ่านทางรัฐสภา อำนาจบริหารผ่านทางคณะรัฐมนตรี และอำนาจตุลาการผ่านทางศาล การกำหนดเช่นนี้หมายความว่าอำนาจต่าง ๆ จะใช้ในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว อำนาจเหล่านี้มีองค์กรเป็นผู้ใช้ ฉะนั้นการที่บัญญัติว่า พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการผ่านทางองค์กรต่าง ๆ นั้น จึงเป็นการเทิดพระเกียรติ แต่อำนาจที่แท้จริงอยู่ที่องค์กรที่เป็นผู้พิจารณานำขึ้นทูลเกล้าถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย

        พระมหากษัตริย์ในระบอบรัฐธรรมนูญของไทย ทรงมีอำนาจบางประการที่ได้รับการรับรองโดยรัฐธรรมนูญ และเป็นพระราชอำนาจที่ทรงใช้ได้ตามพระราชอัธยาศัยจริง ๆ ได้แก่ การแต่งตั้งคณะองคมนตรี การแต่งตั้งข้าราชการในพระองค์ และสมุหราชองครักษ์ การแก้ไขเพิ่มเติมกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ การพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เป็นต้น

        พระราชอำนาจที่ส่งผลกระทบต่อการเมืองการปกครองอย่างแท้จริง คือ พระราชอำนาจในการยับยั้งร่างพระราชบัญญัติ ในกรณีที่พระมหากษัตริย์ทรงไม่เห็นด้วยกับร่างพระราชบัญญัติที่ผ่านการเห็นชอบของรัฐสภามาแล้วและนายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้ แต่พระองค์อาจใช้พระราชอำนาจยับยั้งได้ เช่น กรณีพระราชบัญญัติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งรัฐสภาจะต้องนำร่างพระราชบัญญัติที่ถูกยับยั้งนั้นไปพิจารณาใหม่

ความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์ในสังคมไทย

        1.  การเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชน ตามประวัติศาสตร์ชาติไทยพระมหากษัตริย์ทรงทำหน้าที่ปกครองประเทศด้วยความเป็นธรรม ปกป้องคุ้มครองราชอาณาจักรจากการรุกราน ทำให้ประชาชนดำรงชีวิตอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข มีเสรีภาพในการทำมาหากิน ใช้ชีวิตตามวิถีเครือญาติ ผูกพันกับการทำเกษตร และมีศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ประชาชนจึงมีความผูกพันกับสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างลึกซึ้ง มั่นคง มีความสามัคคีกลมเกลียวกันเกิดความเป็นปึกแผ่นและเป็นพลังสำคัญ

        2.  พระมหากษัตริย์ไทยทรงเป็นผู้นำการพัฒนาประเทศในหลาย ๆ ด้าน ได้แก่

             2.1  การปกครองประเทศ เป็นผู้จัดสรรพื้นที่ ออกแบบวิธีการ และแบ่งผู้รับผิดชอบตามความเหมาะสม ความจำเป็น ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในแต่ละช่วงเวลา โดยยึดทศพิธราชธรรม สังคหวัตถุ 4 และจักรวรรดิวัตร 12 เพื่อสร้างความร่มเย็นและผาสุกให้แก่ประชาชน

             2.2  การพัฒนาเศรษฐกิจ ที่มุ่งสร้างงานและรายได้ให้ทุกคนสามารถเลี้ยงดูตนเองและครอบครัวได้เป็นปกติสุขมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ทำให้เศรษฐกิจในสมัยนั้นมีความมั่นคง มีการสร้างความสัมพันธ์ทางการค้ากับต่างประเทศ โดยปรับเปลี่ยนรูปแบบและวิธีดำเนินการไปตามยุคสมัย รวมทั้งสร้างรากฐานการพัฒนาประเทศให้ทันสมัย ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสื่อสารโดยตั้งกรมไปรษณีย์โทรเลข การนำรถไฟมาใช้ในการคมนาคมขนส่ง ขุดคลองชลประทานเพื่อการเกษตร เป็นต้น

             2.3  การพัฒนาสังคม ส่งเสริมการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุขโดยเสริมสร้างความสัมพันธ์ฉันท์เครือญาติเพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลกัน สามารถยึดโยงกันเป็นชาติไทยจนถึงปัจจุบัน ส่งเสริมด้านการศึกษาดังที่ในสมัยรัชกาลที่ 5 ส่งผู้มีศักยภาพไปเล่าเรียนยังต่างประเทศ เพื่อนำความรู้กลับมาใช้พัฒนาประเทศต่อไป ในปัจจุบันพระมหากษัตริย์ทรงเมตตาจัดการเรียนการสอนให้ในพื้นที่ห่างไกลและบนพื้นที่สูงจนการศึกษาได้แผ่ขยายครอบคลุมทั่วประเทศ ส่วนด้านวัฒนธรรมให้ริเริ่มให้มีวัฒนธรรมประเพณีต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตแต่ละช่วงเวลา เช่น ประเพณีสิบสองเดือน วัฒนธรรมตามเทศกาลและการแต่งกายแบบไทย เป็นต้น

        3.  ความมั่นคงของประเทศ พระมหากษัตริย์หลายพระองค์ทรงมี พระอัจฉริยภาพในการรักษาความมั่นคงของประเทศในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งการใช้วัฒนธรรมเชื่อมความสัมพันธ์กับประเทศใกล้เคียง ด้วยการเสด็จเยี่ยมเยือนและแลกเปลี่ยนความรู้ การสร้างสัมพันธ์กับประเทศมหาอำนาจในแต่ละยุคสมัยเพื่อคงความเป็นอธิปไตยและความเป็นชาติและการสานสัมพันธไมตรีกับประเทศต่าง ๆ

        4.  การปกครองของไทยจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สู่ระบอบประชาธิปไตย ได้ปรับปรุงระบบการบริหารราชการแผ่นดินมาโดยลำดับ คือ สมัยสุโขทัยได้จำลองลักษณะครอบครัวมาใช้ในการปกครอง เป็นการใช้อำนาจของพ่อปกครองลูก แบบให้ความเมตตา และให้เสรีภาพแก่ราษฎรตามสมควร

          ต่อมาในสมัยอยุธยา พระมหากษัตริย์ทรงเป็นศูนย์รวมแห่งอำนาจทั้งปวงในแผ่นดิน มีการปรับปรุงรูปแบบการปกครองใหม่ โดยแยกการบริหารราชการออกเป็นฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหาร มีสมุหนายกและสมุหพระกลาโหมเป็นผู้รับผิดชอบ นอกเหนือจากการปกครองแบบจตุสดมภ์แต่เดิม ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เพื่อให้การปกครองมีประสิทธิภาพมากขึ้น

        นอกจากนี้ ได้ปรับการจัดระเบียบการปกครองให้เข้ากับสถานการณ์บ้านเมือง อย่างในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นความจำเป็นในการปรับปรุงการปกครองใหม่ เนื่องจากระบบเดิมล้าสมัย ขาดประสิทธิภาพ การทำงานซ้ำซ้อน ขาดการควบคุมและการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง ทำให้เปิดโอกาสให้จักรวรรดินิยมตะวันตกเข้าแทรกแซงได้ง่าย จึงทรงนำเอาสิ่งใหม่ ๆ มาใช้ในการปกครองประเทศ อาทิ ทรงจัดตั้งคณะที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน ปรับปรุงการบริหารราชการในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น

        ต่อมาเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เกิดเหตุการณ์อภิวัฒน์สยามขึ้น โดยเป็นเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงระบบการปกครอง นำโดยคณะราษฎร ที่มุ่งหวังจะสถาปนาระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยขึ้นในประเทศไทย ทำให้การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สิ้นสุดลง สถานะของสถาบันพระมหากษัตริย์จึงได้เปลี่ยนมาอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ และไม่ได้มีอำนาจสิทธิ์ขาดเช่นแต่เดิมอีกต่อไป ตราบจนปัจจุบัน แม้กระนั้นสถานะของพระมหากษัตริย์ยังทรงได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ (หมวดที่ 2)

      การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นต้นแบบการปกครองที่มีธรรมาภิบาล

        การปกครองแบบพ่อกับลูกนับจากสมัยสุโขทัยจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ยังมีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อจิตใจของคนไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัชกาลที่ 9 ที่ทรงมีพระปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชน ชาวสยาม” แสดงให้เห็นหลัธรรมาภิบาลของการปกครองไทย เพราะมีวิธีการที่จะปกครองแผ่นดินโดยธรรม และมีเป้าหมายที่จะไปให้ถึง คือ ประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม โดยยึดหลักทศพิธราชธรรมมาใช้ในการปกครอง ประกอบด้วย

  • ทาน คือ การให้
  • ศีล คือ การตั้งใจและกายให้สุจริต
  • ปริจจาคะ คือ การเสียสละ
  • อาชชวะ คือ ความชื่อตรง
  • มัททวะ คือ ความอ่อนโยน
  • ตปะ คือ การกระทำหน้าที่ครบถ้วน
  • อักโกธะ คือ ความไม่โกรธ
  • อวิหิงสา คือ ความไม่เบียดเบียนมนุษย์และสัตว์
  • ขันติ คือ ความอดทน
  • อวิโรธนะ คือ การคิดและกระทำที่ปราศจากอารมณ์ยินดียินร้าย

      หลักทศพิธราชธรรมนี้เป็นทั้งหลักศาสนาและศีลธรรมเป็นเครื่องควบคุมการใช้อำนาจของพระมหากษัตริย์ที่ไม่ให้กระทบต่อสิทธิ เสรีภาพ ทรัพย์สิน ชีวิต ร่างกายของพลเมือง จึงเป็นหลักปกครองที่ไม่ล้าสมัยและสอดคล้องกับหลักประชาธิปไตยสมัยใหม่ ก่อเกิดหลักการบริหารจัดการที่ดี ทั้งยังเป็นการดำเนินการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เนื่องจากเป็นแนวทางที่เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนมีส่วนเข้ามาร่วมในการบริหารประเทศ มีกระบวนการร่วมรับรู้ รับฟัง ร่วมคิด และร่วมรับผิดชอบ ทำให้การกำหนดนโยบาย มาตราการต่าง ๆ ดำเนินไปด้วยความรอบรู้ รอบคอบ และระมัดระวัง มีการใช้เหตุใช้ผลในการดำเนินงาน หากผู้บริหารประเทศ ผู้มีหน้าที่ทั้งราชการ นักการเมือง และประชาชนทั่วไป น้อมนำทศพิธราชธรรมไปปฏิบัติเจริญรอยตามเบื้องยุคลบาท ประเทศไทยจะสามารถพัฒนาให้ก้าวหน้าและคนไทยสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุขและยั่งยืน

      สังคมไทยภายใต้ระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
จะมีความพร้อมเผชิญการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

        การยึดมั่นในสถาบันกษัตริย์ภายใต้การปฏิบัติตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร  จะก่อให้เกิดพลังในสังคมไทยที่พร้อมจะพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้าต่อไปได้อย่างมั่นคง  โดยดำเนินการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างจริงจัง เสริมสร้างฐานเศรษฐกิจภายในประเทศให้เข้มแข็ง โดยเฉพาะในระดับฐานราก คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีผ่านการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างรู้เท่าทันแข่งขันในเวทีโลกได้อย่างมั่นคงและรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้คงอยู่ถึงคนรุ่นต่อไป ความสำเร็จของสถาบันพระมหากษัตริย์กับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

       ดังตัวอย่างเช่นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงนำพาประเทศให้รอดพ้นจากการตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก ทรงปฏิรูปประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าทัดเทียมนานาอารยประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการปฏิรูประบบการบริหารราชการแผ่นดิน การจัดตั้งกระทรวง กรม การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน คมนาคม การสื่อสาร การศึกษา กฎหมาย ศาสนา วัฒนธรรม ฯลฯ จนเป็นแบบแผนในการวางรากฐานการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในเวลาต่อมา

        ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าหลักการทรงงานและพระปรีชาสามารถของพระองค์ท่านนั้น เป็นที่ยอมรับในระดับสากลอย่างแท้จริง จากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่ช่วยให้ชาวไทยได้รอดพ้นจากความทุกข์เข็ญได้อย่างยั่งยืน และยังส่งผลถึงการบรรเทาทุกข์โศก และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในประเทศเพื่อนบ้านอีกด้วย รางวัลและคำสดุดีเฉลิมพระเกียรติทั้งหลายที่ได้ทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นประจักษ์พยานได้อย่างดีถึงพระปรีชาสามารถในพระองค์ แต่เหนือสิ่งอื่นใด พระปรีชาสามารถอันเป็นที่ยอมรับด้วยใจของประชาคมโลกเป็นสิ่งที่ประชาชนชาวไทยปลาบปลื้มปีติเป็นอย่างยิ่ง ดังในปี พ.ศ. 2549 ที่ทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ (Human Development Lifetime Achievement Award) ของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme: UNDP) ดังความตอนหนึ่งของนายโคฟี อานัน (Kofi Annan) เลขาธิการสหประชาชาติ (ในขณะนั้น) ซึ่งได้กล่าวสดุดีพระองค์ไว้ในโอกาสดังกล่าวว่า

“...พระองค์ทรงเอื้อมพระหัตถ์เอื้อไปยังบรรดาผู้ที่ยากจนที่สุด และเปราะบางที่สุดในสังคมไทย ทรงรับฟังปัญหาของพวกเขาเหล่านั้น และให้ความช่วยเหลือพวกเขาเหล่านั้นให้สามารถยืนหยัดดำรงชีวิตของตนเองต่อไป ได้ด้วยกำลังของตัวเอง...โครงการเพื่อการพัฒนาชนบทต่างๆ ขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังประโยชน์ให้กับประชาชนนับล้าน ๆ ทั่วทั้งสังคมไทย...”