ในอดีตประเทศไทยมีความอุดมสมบูรณ์และมีความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตสูงมากแห่งหนึ่งของโลก แต่เมื่อเวลาผ่านไป ป่าไม้ของไทยลดจำนวนลง จากข้อมูลพื้นที่ป่าไม้ของไทยในปี พ.ศ. ๒๕๐๔ ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าไม้ประมาณ 53.33% เป็นเนื้อที่กว่า 171.02 ล้านไร่ ตารางข้อมูลการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้ของไทยระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๐๔-๒๕๕๑
พ.ศ. | พื้นที่ป่าไม้ (ตารางกิโลเมตร) | พื้นที่ป่าไม้ (%) |
2504 | 273,629.00 | 53.33 |
2516 | 221,707.00 | 43.21 |
2519 | 198,417.00 | 38.67 |
2521 | 175,224.00 | 34.15 |
2525 | 156,600.00 | 30.52 |
2528 | 150,866.00 | 29.40 |
2531 | 143,830.00 | 28.03 |
2532 | 143,417.00 | 27.95 |
2534 | 136,698.00 | 26.64 |
2536 | 133,554.00 | 26.03 |
2538 | 131,485.00 | 25.62 |
2541 | 129,722.00 | 25.28 |
2543 | 170,110.78 | 33.15 |
2547 | 167,590.98 | 32.66 |
2548 | 161,001.30 | 31.38 |
2549 | 158,652.59 | 30.92 |
2551 | 172,185.28 | 33.44 |
การลดลงของพื้นที่ป่าไม้ในประเทศไทยเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การลักลอบตัดไม้ทำลายป่า บุกรุกป่าเพื่อการเกษตร เพื่อที่อยู่อาศัย ทำเหมืองแร่ เนื่องจากการเพิ่มจำนวนประชากร
การปฏิบัติการตามนโยบายแห่งชาติ โดยนโยบายแห่งชาติกำหนดให้มีพื้นที่ป่าไม้ทั่วประเทศอย่างน้อยร้อยละ 40 เพื่อการจัดการและรักษาทรัพยากรธรรมชาติใน
ระยะยาว
การให้ความรู้กับประชาชน ว่าป่าไม้เป็นสมบัติของส่วนรวม ทุกคนต้องรักษาและดูแล
ส่งเสริมการปลูกป่าและป้องกันการบุกรุกป่าเพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าและป้องกันการเสียพื้นที่ป่าที่ยังเหลืออยู่
การใช้ไม้อย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ ให้มากที่สุดทุกส่วน และส่งเสริมให้มีการใช้ซ้ำไม่ให้เสียเปล่า
กำหนดพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ได้แก่
o วนอุทยาน ตามเขตแนวอุทยานขนาดใหญ่เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงและได้เรียนรู้เกี่ยวกับความสำคัญของธรรมชาติ
o อุทยานแห่งชาติ โดยอุทยานแห่งชาติแห่งแรกคือ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
o สวนพฤกษาศาสตร์ เพื่อรวบรวมพรรณไม้จากทั้งในและต่างประเทศสำหรับให้การศึกษากับประชาชน สวนพฤกษาศาสตร์แห่งแรกของไทยคือ สวนพฤกษาศาสตร์พุแคจังหวัดสระบุรี
o สวนรุกขชาติ ที่รวบรวมพรรณไม้ท้องถิ่นสำหรับให้ความรู้ประชาชน
o เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เพื่อปกป้องสัตว์ต่าง ๆ ในธรรมชาติจากการคุมคามของมนุษย์
o พื้นที่อนุรักษ์ธรรมชาติ คือพื้นที่ธรรมชาติต่าง ๆ เช่น เกาะ ภูเขา ทะเลสาบ แหล่งขุดค้นซากดึกดำบรรพ์
o พื้นที่สงวนชีวาลัย คือพื้นที่สำหรับการศึกษาความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ เช่น
ป่าสะแกราช
o พื้นที่มรดกโลก จากพื้นที่ที่มีความพิเศษโดดเด่นต่าง ๆ ทั้งทางธรณีวิทยา วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต มีปรากฏการทางธรรมชาติที่โดดเด่น มีความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตที่โดดเด่น โดยขอให้ทาง UNESCO ประกาศให้เป็นพื้นที่มรดกโลก
สัตว์ป่าเป็นทรัพยากรประเภทที่เกิดทดแทนได้ แต่ปัจจุบันพบว่าประชากรสัตว์ป่าลดจำนวนลงเรื่อย ๆ เนื่องจากพื้นที่อยู่อาศัยลดลง ถูกรบกวน หรือถูกล่าโดยมนุษย์
สาเหตุที่สัตว์ป่าลดจำนวนลง เช่น แหล่งที่อยู่อาศัยถูกรบกวน บุกรุก หรือถูกทำลายโดยมนุษย์ การล่าสัตว์ การลักลอบค้าสัตว์ป่าเพื่อประโยชน์ต่าง ๆ หรือ ภัยธรรมชาติ
การจัดการและแนวทางการอนุรักษ์ โดย การกำหนดพื้นที่อนุรักษ์ เช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า อุทยานแห่งชาติ การจัดตั้งศูนย์เพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์สัตว์ป่าเพื่อเพิ่มจำนวนสัตว์ป่า การจัดตั้งศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่า เช่น บึงบรเพ็ด และจัดตั้งสถานีวิจัยสัตว์ป่าเพื่อการศึกษา วิจัยพฤติกรรมและนิเวศวิทยาของสัตว์ป่าเพื่อนำไปใช้ในการอนุรักษ์ต่อไป
กำหนดระดับการถูกคุมคามของสัตว์
แต่ละชนิด ตามหลักการสากล (IUCN red list) มีการกำหนดระดับของการถูกคุกความไว้หลายระดับได้แก่
NE (not evaluated) ไม่ถูกคุกคาม,
DD (data deficient) มีข้อมูลน้อย,
LC (least concern) ถูกคุกคามในระดับต่ำ,
NT (near threatened) ใกล้ถูกคุกคาม,
VU (vulnerable) กำลังถูกคุกคาม,
EN (endamgered) กำลังอยู่ในอันตราย,
CR (critically endangered) กำลังอยู่ในอันตรายอย่างยิ่ง,
EW (extinct in the wild) สูญพันธุ์แล้วในธรรมชาติ แต่ยังมีเหลือในศูนย์เพาะเลี้ยง, และ EX (extinct) สูญพันธุ์ไปจากโลก
โดยนักเรียนสามารถเข้าไปตรวจสอบชื่อสิ่งมีชีวิตและระดับการถูกคุมคามได้จาก https://www.iucn.org/resources/conservation-tools/iucn-red-list-threatened-species#RL_index