ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับปัจจัยทางกายภาพและปัจจัยทางชีวภาพ
ปัจจัยทางกายภาพ
อุณหภูมิ
- อุณหภูมิมีผลต่อการทำงานของเอนไซม์และกระบวนการเมแทบอลิซึมของสิ่งมีชีวิต ดังนั้นสิ่งมีชีวิตจะมีการปรับตัวเพื่อให้อยู่รอด เช่น นกนางแอ่นอพยพมาหากินใกล้เส้นศูนย์สูตรในฤดูหนาว การจำศีลหนีหนาวของหมีในเขตร้อน การมีขนยาวปกคลุมร่างกายของสัตว์ในเขตหนาว เป็นต้น
แสง
- เป็นแหล่งพลังงานในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงเพื่อสร้างอาหารของพืชและสาหร่าย ซึ่งมีบทบาทเป็นผู้ผลิตในระบบนิเวศ เกี่ยวข้องกับการหุบและบานของดอกไม้บางชนิด ช่วงเวลาออกหากินของสัตว์ และเป็นปัจจัยจำกัดของสิ่งมีชีวิตในน้ำ ทำให้สิ่งมีชีวิตในน้ำอาศัยอยู่บริเวณผิวน้ำเป็นจำนวนมาก
น้ำหรือความชื้น
- น้ำเป็นตัวกลางในการเกิดปฏิกิริยาในร่างการ เป็นตัวทำละลาย ลำเลียงสารไปยังส่วนต่าง ๆ ภายในร่างกาย และเป็นตัวช่วยควบคุมอุณหภูมิในร่างกาย
ดิน
-เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย แหล่งหลบภัย แหล่งอาหาร แหล่งผสมพันธุ์ และเลี้ยงตัวอ่อนของสิ่งมีชีวิต อีกทั้งยังเป็นแหล่งของแร่ธาตุที่พืชต้องการ เช่น ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม
แก๊ส
- แก๊สออกซิเจนมีความจำเป็นต่อการหายใจของสิ่งมีชีวิตเกือบทุกชนิด แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จำเป็นต่อการสังเคราะห์แสงในพืช และแก๊สบางชนิด เช่น แก๊สแอมโมเนียม ก็สามารถเป็นแหล่งไนโตรเจนสำหรับพืชได้
สภาพความเป็นกรด-ด่าง
- ความเป็นกรด-เบสส่งผลต่อการทำงานของเอนไซม์ในสัตว์ ส่งผลต่อความสามารถในการดูดซึมแร่ธาตุของพืช และส่งผลต่อการทำงานของจุลินทรีย์ในดิน ดังนั้นสิ่งมีชีวิตต้องอาศัยอยู่ในแหล่งที่มีสภาพความเป็นกรด - เบสที่เหมาะสม ซึ่งสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกัน มีสภาพความเป็นกรด-เบสที่เหมาะสมต่างกัน ส่งผลให้เกิดการแพร่กระจายของสิ่งมีชิต ตามค่าความเป็นกรด-เบสของสิ่งแวดล้อม
ความเค็ม
- มีผลต่อการรักษาปริมาณน้ำในร่างกายของสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตที่พบในระบบนิเวศที่มีการเปลี่ยนแปลงความเค็มมาก เช่น ระบบนิเวศป่าชายเลน จะมีกลไกรักษาความเข้มข้นน้ำในร่างกาย เรียกว่า osmoregulation
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับปัจจัยทางชีวภาพ
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน
อย่างการอยู่กันเป็นฝูงสัตว์ ซึ่งมีข้อดีคือ สร้างความแข็งแกร่งและความปลอดภัยในฝูง แต่ก็มีข้อเสีย คือเกิดการแย่งชิงอาหาร และการเป็นจ่าฝูง
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกัน
- ภาวะพึ่งพา (matualism : +,+) สิ่งมีชีวิตได้ประโยชน์ร่วมกัน และไม่สามารถแยกจากกันได้ มักเป็นความสัมพันธ์ระหว่างจุลินทรีย์ขนาดเล็กกับสิ่งมีชีวิตที่ขนาดใหญ่กว่า เช่น ไลเคนเป็นการอยู่ร่วมกันระหว่างรากับสาหร่าย แบคทีเรีย Rhizobium ในปมรากถั่ว Trichonympha sp. ในลำไส้ปลวก ราไมคอร์ไรซากับรากพืช แบคทีเรีย E. coli ในลำไส้คน

รูปที่ 1 ไลเคนเป็นการอยู่ร่วมกันระหว่างรากับสาหร่าย
ที่มา https://sites.google.com/site/nantawanphothong/khwam-samphanth-ni-rabb-niwes/khwam-samphanth-rahwang-sing-mi-chiwit-kab-paccay-thang-chiwphaph
- ภาวะได้ประโยชน์ร่วมกัน (Protocooperation : +,+) สิ่งมีชีวิตได้ประโยชน์ร่วมกัน และสามารถแยกกันอยู่ได้ เช่น นกเอี้ยงกับควาย แมลงกับดอกไม้ ดอกไม้ทะเลกับปลาการ์ตูน มดดำกับเพลี้ย
รูปที่ 2 ดอกไม้ทะเลกับปลาการ์ตูน
ที่มา https://bio.libretexts.org/Bookshelves/Human_Biology - ภาวะอิงอาศัยหรือภาวะเกื้อกูล (commensalism : +,0) สิ่งมีชีวิตฝ่ายหนึ่งได้รับประโยชน์ แต่อีกฝ่ายไม่ได้รับประโยชน์และไม่เสียประโยชน์ เช่น เหาฉลามได้รับอาหารที่ปลาฉลามกินไม่หมด กล้วยไม้อาศัยบนต้นไม้ใหญ่ นกทำรังบนต้นไม้

รูปที่ 3 เหาฉลามอยู่ร่วมกันกับฉลาม คอยกินเศษอาหารอยู่รอบๆ
ที่มา https://sites.google.com/site/nantawanphothong/
- ภาวะปรสิต (parasitism : +,-) สิ่งมีชีวิตฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์ เรียกว่า ปรสิต และอีกฝ่ายหนึ่งเสียประโยชน์ เรียกว่า ผู้ถูกอาศัย ปรสิตภายนอกร่างกาย เช่น เห็บ หมัด เหา และปรสิตภายในร่างกาย เช่น พยาธิ


รูปที่ 4 กาฝากกับต้นมะม่วง รูปที่ 5 พยาธิที่อาศัยอยู่ในร่างกายของคนและสัตว์ที่มา https://sites.google.com/site/4555nutgatesree2/phawa-prsit
- ภาวะล่าเหยื่อ (predation : +,-) สิ่งมีชีวิตฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์โดยการจับอีกฝ่ายเป็นอาหาร เรียกว่า ผู้ล่า แต่อีกฝ่ายเสียประโยชน์จากการถูกจับเป็นอาหาร เรียกว่า ผู้ถูกล่า เช่น เหยี่ยวกับหนู ทั้งผู้ล่าและผู้ถูกล่าต่างพยายามปรับตัวเพื่อความอยู่รอด

รูปที่ 6 เสือไล่จับม้าลาย
ที่มา https://sites.google.com/site/32555suksiri/khwam-samphanth-khxng-rabb-niwes/phawa-kar-la-heyux-predation
- ผู้ล่าพยายามพัฒนาระบบประสาทในการรับความรู้สึก พัฒนาโครงสร้างสำรับการล่า เช่น เขี้ยว เหล็กใน และเข็มพิษ มีความว่องไวสูง และมีการพรางตัวเพื่อล่าเหยื่อ- ผู้ถูกล่ามีการสร้างสารเคมีเพื่อสื่อสารเตือนภัย หรือการสร้างสารพิษในพืช มีการพรางตัว (camouflage) หรือทำให้ร่างกายมีสีใกล้เคียงกับสิ่งแวดล้อม (cryptic coloration) เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ล่าเห็น- ภาวะแข่งขัน (competition : -,-) สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ร่วมกัน และต่างฝ่ายต่างแก่งแย่งปัจจัยในการดำรงชีพ (niche) ส่งผลให้เสียประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย การแก่งแย่งแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ การแก่งแย่งระหว่างสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน (intraspecific competition) และ การแก่งแย่งระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกัน (interspecific competition)

รูปที่ 7 กวางกำลังต่อสู้กัน
ที่มา https://sites.google.com/site/rabbniwes25/khwam-sam-phanth/phawa-khaengkhan