การเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบปฐมภูมิ (Primary succession)
เป็นการเปลี่ยนแปลงแทนที่ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ที่ไม่เคยมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่มาก่อน เช่น พื้นที่ที่ปกคลุมด้วยลาวาจากภูเขาไฟ รอยแตกของผนังตึก โขดหิน เมื่อรอยแตกนั้นได้รับลม แสงแดด ความชื้น น้ำฝน หรือสาเหตุอื่นที่ทำให้บริเวณรอยแตกนั้นมีการสะสมดิน จึงทำให้เริ่มมีสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก เช่น แบคทีเรีย เชื้อรา หรือสาหร่าย เข้าไปอาศัย ต่อมารอยแตกเริ่มมีการสึกกร่อนมากขึ้น ทำให้ปริมาณของดินมีมากขึ้น สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป
รูปที่ 1 การเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบปฐมภูมิ
ที่มา https://garciabiome.weebly.com/succession.html
สิ่งมีชีวิตพวกใหม่จะอพยพเข้าไปอาศัยครอบครองพื้นที่นั้น ตัวอย่างเช่น เมื่อดินในรอยแตกมีความชื้น และออกซิเจนมากเพียงพอ หากมีเมล็ดพืชปลิวเข้าไปติดในรอยแตก เมล็ดพืชเหล่านั้นจะงอก แล้วเจริญเติบโตขึ้นเป็นต้นไม้ สัตว์ต่างๆ เช่น แมลง ก็อาจจะเข้าไปอาศัย สัตว์หรือพืชอื่นก็จะตามเข้าไป ทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตหลากหลายมากขึ้น
สิ่งมีชีวิตที่อพยพเข้าไปอาศัยครอบครองพื้นที่เป็นพวกแรก เรียกว่า “ผู้บุกเบิก” สิ่งมีชีวิตเหล่านี้มักจะมีคุณสมบัติพิเศษ เช่น มีขนาดเล็ก มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม เจริญเติบโตและขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว สามารถปรับตัวให้เหมาะสมเพื่อดำรงชีวิต ในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิ ความชื้น แร่ธาตุ ความเข้มของแสงที่จำกัดได้
2.การเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบทุติยภูมิ ( secondary succession )
เป็นการเปลี่ยนแปลงแทนที่ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ที่สิ่งมีชีวิตเดิมถูกทำลายจากปัจจัยต่างๆ เช่น พื้นที่ที่เกิดน้ำท่วมขัง พื้นที่ที่เกิดไฟป่า หรือการบุกรุกตัดต้นไม้ทำลายป่าของมนุษย์ ทำให้พื้นที่แห่งนั้นกลายเป็นพื้นที่ว่างเปล่า ความเข้มของแสงและอุณหภูมิสูงขึ้น ความชื้นลดน้อยลง สิ่งมีชีวิตกลุ่มใหม่ๆ ก็จะค่อยๆ อพยพเข้าไปครอบครองพื้นที่นั้นแทน
รูปที่ 2 การเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบทุติยภูมิ
ที่มา https://www.britannica.com/science/secondary-succession
การเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบทุติยภูมิ ใช้เวลาน้อยกว่าแบบปฐมภูมิ เนื่องจากมีความพร้อมของสารอินทรีย์ที่พืชต้องการอยู่แล้ว
การเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบทุติยภูมิในพื้นที่ที่เคยทำไร่ข้าวโพด
![]() | ![]() |
ก. | ข. |
![]() | ![]() |
ค. | ง. |
รูปที่ 3 การเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบทุติยภูมิในพื้นที่ที่เคยทำไร่ข้าวโพด ที่มา https://environmentttt.wordpress.com/การเปลี่ยนแปลงแทนที่/ |
ก. ในช่วงปีแรก : พื้นที่ในไร่ยังคงมีซากของต้นข้าวโพดหลงเหลืออยู่
ข. ในช่วงปีที่ 2 : พบว่ามีต้นหญ้ารุกรานเข้ามาในพื้นที่ และขึ้น กระจายไปทั่ว
ค. ในช่วงปีที่ 3 : ต้นหญ้าเจริญเติบโตสมบูรณ์ และมีพวกต้นแห้ว กระเทียมขึ้นแซมอยู่ในไร่
ง. ในช่วงปีที่ 10 : มีไม้พุ่มและไม้ยืนต้นเกิดขึ้น
1.ปัจจัยทางกายภาพ เป็นปัจจัยที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้น น้ำ อากาศ ภูมิประเทศ และภัยธรรมชาติ เช่น ภูเขาไฟระเบิด แผ่นดินไหว น้ำท่วม ถ้าเกิดจากภัยธรรมชาติจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจทำให้มีการเปลี่ยนแปลงจากสภาพบริเวณบนบกเป็นแหล่งน้ำ เช่น
2.ปัจจัยทางชีวภาพ เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกันระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิต เช่น ต้นมะม่วงที่เคยมีมดแดงอาศัยอยู่ เมื่อมีมดดำย้ายมาอยู่ จำนวนประชากรมดแดงจะค่อย ๆ ลดลงจนหมดไป
การเปลี่ยนแปลงแทนที่ทำให้สิ่งแวดล้อมทางกายภาพและสิ่งแวดล้อมทางชีวภาพเปลี่ยนแปลงไป และมีผลทำให้องค์ประกอบของระบบนิเวศเปลี่ยนแปลงไปด้วย