ไบโอมบนบกและไบโอมในน้ำ

ยอดวิว 0

แบบฝึกหัด

MEDIUM

ไบโอมบนบกและไบโอมในน้ำ (ชุดที่ 1)

เนื้อหา

ไบโอมบก ไบโอมน้ำ

ไบโอม (biomes) หรือชีวนิเวศ คือ ระบบนิเวศใดก็ตามที่มีองค์ประกอบของปัจจัยทางกายภาพ และ ปัจจัยทางชีวภาพ ที่คล้ายกัน เช่น มีอุณหภูมิ ความชื้น ปริมาณน้ำฝนที่ใกล้เคียงกัน มีชนิดของสิ่งมีชีวิตที่คล้ายคลึงกัน แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1. ไบโอมบนบก  ( Terrestrial biomes ) และ 2. ไบโอมในน้ำ ( Aquatic biomes )

Summary#6 World Biomes | Biomes, Environmental science, Life science

https://www.pinterest.com/pin/379357968592563959/

ไบโอมบนบก (Terrestrial biomes) ใช้เกณฑ์ปริมาณน้ำฝนและอุณหภูมิเป็นตัวกำหนดไบโอมบนบกที่มีอยู่ในโลกนี้แบ่งออกได้หลายไบโอม แต่ไบโอมบนบกที่สำคัญ ที่จะกล่าวถึงได้แก่ไบโอมป่าดิบชื้น ไบโอมป่าผลัดใบในเขตอบอุ่น ไบโอมทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น ไบโอมสะวันนา ไบโอมป่าสน ไบโอมทะเลทรายและไบโอมทุนดรา เป็นต้น
A world map shows the eight major biomes, polar ice caps, and mountains. Tropical forests, deserts and savannas are found primarily in South America, Africa and Australia. Tropical forests also dominate southeast Asia. Deserts dominate the Middle East and are found in the southwestern United States. Temperate forests dominate the eastern United States, Europe and Eastern Asia. Temperate grasslands dominate the midwestern United States and parts of Asia, and are also found in South America. Boreal forest is found in northern Canada, Europe and Asia, and tundra exists to the north of the boreal forests. Mountainous regions run the length of North and South America, and are found in northern India, Africa and parts of Europe. Polar ice covers Greenland and Antarctica, the latter is not shown on the map.
  1. ป่าดิบชื้น (Tropical Rainforest) ใกล้เขตเส้นศูนย์สูตรของโลก มีอากาศร้อนและชื้น อุณหภูมิเฉลี่ย 27 องศาเซลเซียส มีฝนตกชุกตลอดปีเกือบตลอดปี มีปริมาณน้ำฝนมากที่สุดเฉลี่ย 200-400 เซนติเมตรต่อปี พบพืชและสัตว์หลากหลายพันสปีชีส์ จัดเป็น “ป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุด” สัตว์ที่พบมาก: สมเสร็จ แรด กระจง เก้ง, พืชเด่น: ไม้เถา หวาย เฟิร์น กล้วยไม้ และ ตัวอย่างในไทย: ป่าฮาลา – บาลา นราธิวาส, อุทยานแห่งชาติไทรโยค กาญจนบุรี
  2. ป่าผลัดใบในเขตอบอุ่น (Temperate deciduous forest) พบกระจายทั่วละติจูดกลางปริมาณความชื้นเพียงพอที่ต้นไม้ใหญ่จะเจริญเติบโตได้ดีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 100 เซนติเมตรต่อปี และมีอากาศค่อนข้างเย็น ผลัดใบก่อนฤดูหนาว พืชที่พบ: ไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม ไม้ล้มลุก เมเปิล โอ๊ก ยูคาลิปตัส เชลท์นัท, สัตว์ที่พบ: กวางเอลก์ สุนัขจิ้งจอก ตัวตุ่น และ บริเวณที่พบในไทย: อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง จังหวัดพิษณุโลก
  3. ป่าสน (Coniferous forest) ไม่ผลัดใบ เป็นป่าเขตหนาวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของโลกและจัดเป็นสังคมสิ่งมีชีวิตบนบกที่มีขนาดกว้างใหญ่กว่าไบโอมอื่น ๆละติจูดตั้งแต่ 45 – 67 องศาเหนือ  มีอากาศเย็นและแห้ง ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 25-75 เซนติเมตรต่อปี ส่วนใหญ่จะตกในฤดูร้อน พืชที่พบ : เป็นไม้เนื้ออ่อน จำพวกไพน์ (pine) เฟอ (fir) สพรูซ (spruce)  เฮมลอค (hemlock), สัตว์ที่พบ :  นกฮูกเทาใหญ่ กวางเอลก์ หมีสีน้ำตาล ฮันนี่แบดเจอร์ บีเวอร์ และบริเวณที่พบในไทย : ป่าสนวัดจันทร์ จังหวัดเชียงใหม่, อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว จังหวัดอุตรดิตถ์
  4. ทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น (Temperate grassland) ในเขตยูเรเชีย เรียก สเต็ปป์ (steppe) มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 25 – 50 เซนติเมตรต่อปีมักมีฝนตกในช่วงฤดูร้อน และแห้งแล้งในฤดูหนาว เหมาะสำหรับการทำกสิกร และ ปศุสัตว์เพราะดินมีความอุดมสมบูรณ์สูงมีหญ้าหลายชนิดขึ้นอยู่ พืชที่พบ:เบาบับ (baobab) กระถิน (acacia) และ สัตว์ที่พบ:   ช้าง ม้าลาย สิงโตในแอฟริกา หมีโคลา จิงโจ้ และนกอีมูในออสเตรเลีย
  5. ทุ่งหญ้าสะวันนา (Savanna) มีอากาศร้อนในฤดูร้อนมักเกิดไฟป่า ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 30 – 50 เซนติเมตรต่อปี ดินในพื้นที่สะวันนามีลักษณะแห้ง แข็ง และมีฝุ่นมาก มีต้นไม้กระจายอยู่ห่างๆ กัน ทุ่งสะวันนาในทวีปแอฟริกาเป็นพื้นที่ที่มีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่หลากหลายสายพันธุ์มากที่สุดในโลก พืชที่พบ : ต้นอาเคเชีย (Acacia) ต้นเบาบับ (Baobab)และหญ้า, สัตว์ที่พบ : ละมั่ง  ควายป่า นกกระจอกเทศ ช้าง แรด ยีราฟ สิงโต เสือดาว ไฮยีน่า และ บริเวณที่พบในไทย : อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง จังหวัดพิษณุโลก,เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร จังหวัดตาก
  6. ทะเลทราย (Desert) มีปริมาณฝนตกเฉลี่ยน้อยกว่า 25 เซนติเมตรต่อปีจัดเป็นไบโอมที่มีปริมาณน้ำฝนน้อยที่สุด บางแห่งอาจมีอุณหภูมิเหนือผิวดินสูงถึง 60 องศาเซลเซียสตลอด และบางแห่งมีอากาศค่อนข้างหนาวเย็นพืชมีการป้องกันการสูญเสียน้ำ โดยใบลดรูปเป็นหนาม ลำต้นอวบ เก็บสะสมน้ำดี สัตว์ส่วนใหญ่หากินกลางคืนเพื่อหลีกเลี่ยงอากาศร้อนในตอนกลางวัน, พืชที่พบ:  กระบองเพชร อินทผาลัม และ สัตว์ที่พบ: งู กิ้งก่า สปริงบ็อก อูฐ หมาจิ้งจอกทะเลทราย กิ้งก่าหนาม
  7. ทุนดรา (Tundra) ละติจูดที่ 60 เหนือขึ้นไปจนถึงขั้วโลกอุณหภูมิในฤดูร้อนเฉลี่ยต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียสส่วนในฤดูหนาวมีอากาศหนาวจัด อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็งยาวนานกว่า 6 เดือน ฝนตกน้อยมาก ปริมาณหยาดน้ำฟ้าประมาณ 500 มิลลิเมตร ชุมชนแบบทุนดราเป็นชุมชนแบบง่ายๆ ไม่ยั่งยืนและไม่สมดุล จึงทำให้พบพืชและสัตว์อาศัยอยู่น้อยกว่าไบโอมอื่น ๆ พืชที่พบ : มอส กก หญ้าเซดจ์ (Sedge) และไม้พุ่มเตี้ย เช่น วิลโลแคระ และสัตว์ที่พบ : กวางคาริบู กวางเรนเดียร์ กระต่ายป่าขั้วโลก หนูเลมมิง สุนัขป่าขั้วโลก นกทามิแกน นกเค้าแมวหิมะ

3.3 Terrestrial Biomes – Environmental Biology


ไบโอมน้ำ (Aquatic biomes) ที่พบเป็นองค์ประกอบหลักใบไบโอสเฟียร์ประกอบด้วย ไบโอมแหล่งน้ำจืด (Freshwater biomes) และไบโอมแหล่งน้ำเค็ม (Marine Biomes) และพบกระจายอยู่ทั้งเขต ภูมิศาสตร์ในโลกนี้
  1. ไบโอมแหล่งน้ำจืด (Freshwater biomes) มีเกลือน้อยกว่าร้อยละ 0.1 หรือน้อยกว่า 1 ppt ไบโอมแหล่งน้ำจืดจะแตกต่างจากน้ำเค็มตรงที่ไม่มีน้ำขึ้นน้ำลงเป็นปัจจัยกายภาพสำคัญ มีความสำคัญมากเนื่องจากเราต้องใช้น้ำในการอุปโภค-บริโภค พืชที่พบ: จอก สาหร่าย แหน และ สัตว์ที่พบ: หอย ปลาต่าง ๆ กุ้ง
  2. ไบโอมแหล่งน้ำเค็ม (Marine) มีเกลือเฉลี่ยร้อยละ 3.5 หรือ 35 ppt ประกอบด้วยทะเลและมหาสมุทรซึ่งพบในปริมาณมากถึงร้อยละ 71 ของพื้นที่ผิวโลก พืชที่พบ:ไม้โกงกาง แสม ลำพู, สัตว์ที่พบ: แมลงสาบทะเล หอยนางรม ลิ่มทะเล หอยหมวกเจ๊ก เม่นทะเล ปูลม และ บริเวณที่พบในไทย: หมู่เกาะพีพีและหมู่เกาะลันตา จังหวัดกระบี่, อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม จังหวัดตรัง