การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ

ยอดวิว 0

แบบฝึกหัด

EASY

การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ (ชุดที่ 1)

HARD

การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ (ชุดที่ 2)

เนื้อหา

การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ


       เนื่องจากประเทศไทยตั้งอยู่บนพื้นที่ที่มีความเหมาะสมทางภูมิศาสตร์ และมีอุณหภูมิที่เหมาะสมทำให้ประเทศไทยมีความหลากหลายทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตสูงมากทั้งพืชและสัตว์

ถ้าหากมีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิศาสตร์ หรือสิ่งแวดล้อมก็จะส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางระบบนิเวศให้เปลี่ยนแปลงไป

ซึ่งอาจทำให้มีความหลากหลายมากขึ้นหรือน้อยลงก็ได้
ขึ้นกับการเปลี่ยนแปลงนั้น เกิดขึ้นอย่างไรและผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมนั้นเป็นอย่างไร ผลที่เกิดขึ้นอาจทำให้ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตมีมากขึ้น ถ้าหากทำให้ระบบนิเวศมีความหลากหลายมากขึ้น

แต่ในทางกลับกัน อาจทำให้สิ่งมีชีวิตบางชนิดต้องหายจากพื้นที่ หรือ สูญพันธุ์ไปจากโลก เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศจากเดิมไปมากจนสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นไม่สามารถดำรงชีวิต และสืบทอดสายพันธุ์ต่อไปได้

ถ้าหากระบบนิเวศเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ไม่เหมาะสมแล้วนั้น การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

เช่น จากป่าดิบที่มีต้นไม้สูงใหญ่ กลายเป็นพื้นที่ปลูกพืชทำการเกษตรสิ่งมีชิวิตต่าง ๆ ทั้งพืชและสัตว์ที่เคยอาศัยอยู่ในป่าก็ไม่สามารถที่จะดำรงชีวิตในพื้นที่เกษตรต่อไปได้

สาเหตุของการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ

สาเหตุของการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพไปนั้น เป็นผลมาจากการกระทำของมนุษย์ ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น

  • การเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร
  • การเพิ่มจำนวนประชากรมนุษย์
  • การนำเข้ามาของพืชหรือสัตว์จากต่างถิ่น

สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นปัจจัยที่ทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง


ผลกระทบจากการสูญเสียพื้นที่ป่า

       ในประเทศไทยมีการสูญเสียพื้นที่ป่าไปทุกปีจนเหลือไม่ถึง 25% ของพื้นที่ประเทศในปัจจุบัน และยังคงถูกแผ้วถางอย่างต่อเนื่อง ทั้งพื้นที่ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบชื้น ป่าดิบเขา ป่าชายเลน การเสียพื้นที่ต่าง ๆ นั้นกระทบต่อการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตอย่างมาก เช่น

  • สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมขนาดใหญ่อย่างช้างมีจำนวนลดลง เหลือเพียงประมาณ 1,975 - 2,300 ตัว
  • ประชากรควายป่าที่เหลืออยู่ก็มีเพียง 50 - 70 ตัวเท่านั้น
  • ประชากรนักล่าอย่างเสือโคร่งที่พบเพียง 250 - 500 ตัวในผืนป่าทั่วประเทศ
  • กระซู่ กูปรี และละมั่งนั้น ไม่มีผู้พบเห็นในพื้นที่ประเทศไทยมานานหลายปีแล้ว
  • พื้นที่ป่าชายเลนที่เสียไป ก็จะทำให้สูญเสียแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อนต่าง ๆ ส่งผลให้สิ่งมีชีวิตลดจำนวนลงเพราะขาดที่ทำรังวางไข่ หรือที่อนุบาลตัวอ่อน
  • ส่งผลกับพืชหลายชนิด เช่น กล้วยไม้รองเท้านารีหลายชนิดก็สูญหายไปจากผืนป่าเมืองไทย

นอกจากในเมืองไทยแล้ว การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพนั้นก็ยังส่งผลในระดับโลกอีกด้วย

โดยโลกของเราสูญเสียความหลากหลาย
ทางชีวภาพไปราว
30,000 ชนิดต่อปี หรือ
ประมาณ
3 - 4 ต่อชั่วโมง และการสูญเสีย
ส่วนใหญ่นั้นมาจากป่าเขตร้อนมากที่สุด

ทีมผู้จัดทำ