ภาพถ่ายทางอากาศแบ่งได้เป็น 2 ชนิด
1. ภาพถ่ายแนวดิ่ง หมายถึง ภาพถ่ายที่แกนของกล้องถ่ายภาพถ่ายทางอากาศตั้งฉากพื้นผิวโลก มักมีสัดส่วนคงที่ ใช้ในการรังวัดทำแผนที่ภูมิประเทศ และแปลความหมายข้อมูลภูมิศาสตร์ที่ปรากฏอยู่ในภาพ
2. ภาพถ่ายเฉียง หมายถึง ภาพถ่ายทางอากาศที่แกนกล้องเฉียงไปจากพื้นผิวโลก มีจุดประสงค์เพื่อเก็บรายละเอียดภูมิประเทศทั่วไป ครอบคลุมพื้นที่ได้กว้างกว่าภาพถ่ายแนวดิ่ง และไม่ได้นำไปใช้ทำแผนที่ภูมิประเทศ
แบ่งตามชนิดได้เป็น
1. ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา เป็นดาวเทียมสำรวจข้อมูลด้านสภาพอากาศ เช่น ดาวเทียม GMS และ NOAA
2. ดาวเทียมสมุทรศาสตร์ เป็นดาวเทียมสำรวจข้อมูลด้านลักษณะคลื่นผิวน้ำและใต้ผิวน้ำ ความสูงของคลื่น ศึกษาน้ำแข็งในทะเล อุณหภูมิผิวหน้าทะเล เป็นต้น
3. ดาวเทียมสำรวจแผ่นดิน เป็นดาวเทียมสำรวจข้อมูลด้านทรัพยากรบนแผ่นดิน เช่น ดาวเทียม THEOS เป็นดาวเทียมสำรวจทรัพยากรดวงแรกของไทย ส่วนดาวเทียม LANDSAT เป็นของสหรัฐอเมริกา และดาวเทียม SPOT เป็นของประเทศฝรั่งเศส
4. ดาวเทียมสื่อสาร เพื่อการรับส่งสัญญาณโทรศัพท์ โทรสาร โทรทัศน์ วิทยุ เช่น ดาวเทียมไทยคม
เวลาที่เก็บข้อมูลมาจากดาวเทียม ดาวเทียมก็จะแปลค่าให้เป็นตัวเลข เช่น ดี = 1, แย่ = 2 และ แย่ที่สุด = 3 หรือชนิดของตัวเลขที่ใช้ในระบบราสเตอร์ จะเป็นตัวบอกว่าชั้นข้อมูลนั้น ๆ จะถูกแสดง หรือสามารถนำไปประมวลผลได้อย่างไร ตัวอย่างเช่น ชั้นข้อมูลความสูง ที่มีค่าในช่วง 550 ถึง 560 จะถูกใช้ต่างกับชั้นข้อมูลที่มีค่าแค่ 1, 2 หรือ 3 ซึ่งเป็นตัวแทน น้ำ ดิน พืช จะเห็นได้ว่าข้อมูลที่ส่งกลับมาทุกอย่างจะถูกแปลผลไปเป็นตัวเลข แล้วเวลาใช้งานก็จะแปลตัวเลขมาเป็นข้อมูลที่ต้องการนำเสนอ ในประเทศไทยมีสถานีรับสัญญาณดาวเทียมสำรวจทรัพยากร ตั้งอยู่ที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี และที่เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร และมีสถานีรับสัญญาณของกรมอุตุนิยมวิทยากระจายตามภูมิภาคของประเทศ