คำราชาศัพท์

ยอดวิว 0

แบบฝึกหัด

EASY

คำราชาศัพท์ (ชุดที่ ๑)

MEDIUM

คำราชาศัพท์ (ชุดที่ ๒)

HARD

คำราชาศัพท์ (ชุดที่ ๓)

เนื้อหา

ราชาศัพท์      

        ราชาศัพท์ แปลตรงตัวหมายถึง ถ้อยคำสำหรับพระเจ้าแผ่นดิน แต่ตามที่นิยมยึดถือกันมาจนถึงปัจจุบัน  หมายรวมถึงถ้อยคำจำพวกหนึ่งที่มีลักษณะพิเศษ เป็นคำที่ใช้แก่ พระมหากษัตริย์ เจ้านาย พระศาสดา พระภิกษุสงฆ์ ข้าราชการและสุภาพชนด้วย

        ราชาศัพท์ส่วนมากเป็นศัพท์ที่มาจากภาษาบาลี สันสกฤต เขมรและคำไทยรุ่นเก่า


ระดับฐานะของบุคคลในการใช้ราชาศัพท์

ระดับฐานะของบุคคล แบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม ได้แก่

     ๑. คำที่ใช้กับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์

         ๑.๑ พระมหากษัตริย์
         ๑.๒ ชั้นสมเด็จพระบรม
         ๑.๓ ชั้นเจ้าฟ้า
         ๑.๔ ชั้นพระองค์เจ้า
         ๑.๕ ชั้นหม่อมเจ้า

     ๒. คำที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์

         ๒.๑ สมเด็จพระสังฆราช
               (คำราชาศัพท์ระดับพระองค์เจ้า)
         ๒.๒ พระสงฆ์ (คำสำหรับพระภิกษุสงฆ์)

     ๓. คำที่ใช้กับสุภาพชน (คำสุภาพ)


การใช้ราชาศัพท์สำหรับพระมหากษัตริย์

     ๑. คำนามที่เป็นสิ่งสำคัญอันควรยกย่อง

           ใช้คำว่า "พระบรม" (มาจากคำว่า ปรม ในภาษาบาลี แปลว่า ยิ่งใหญ่) นำหน้า เช่น พระบรมมหาราชวัง  พระบรมราชโองการ พระบรมราชาภิเษก พระบรมราชูปถัมภ์ พระบรมราชานุเคราะห์ พระบรมราชานุสรณ์ พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบรมราโชวาท พระบรมโพธิสมภาร พระบรมเดชานุภาพ พระบรมฉายาลักษณ์ พระบรมศพ พระบรมอัฐิ
           
ในภาษาไทยสงวนคำนี้ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์เท่านั้น

     ๒. คำนามที่เป็นสิ่งสำคัญรองลงมา 

           ใช้คำว่า "พระราช" นำหน้า เช่น พระราชวัง พระราชนิเวศน์ พระราชอำนาจ พระราชวงศ์ พระราชประสงค์  พระราชดำริ พระราชดำรัส พระราชกุศล พระราชปรารภ พระราชทรัพย์ พระราชลัญจกร

     ๓. คำนามที่เป็นสิ่งสามัญทั่วไป 

           ใช้คำว่า "พระ" นำหน้า เช่น พระเจ้า พระองค์ พระกร พระบาท พระโลหิต พระบังคน พระเคราะห์ พระโรค พระแสง พระศรี พระยี่ภู่ พระเก้าอี้ พระป้าย พระโธรน พระฉาย พระสาง พระเขนย พระขนอง พระขนน พระวาตะ

     ๔. คำนามที่เป็นสิ่งที่ไม่สำคัญ 

           หากคำนั้นมักเป็นคำไทย นำหน้าด้วยคำว่าใช้คำว่า "ต้น" นำหน้า เช่น ม้าต้น ช้างต้น เรือต้น และนำหน้าด้วยคำว่า "หลวง" เช่น ลูกหลวง หลานหลวง ของหลวง รถหลวง เรือหลวง สวนหลวง
           ส่วน “หลวง” ที่แปลว่าใหญ่ ไม่จัดว่าเป็นราชาศัพท์ เช่น ภรรยาหลวง เขาหลวง ทะเลหลวง เป็นต้น
           นอกจากคำว่า “ต้น” และ “หลวง” ประกอบท้ายคำแล้ว บางคำยังประกอบคำอื่น ๆ อีก เช่น รถพระที่นั่ง เรือพระที่นั่ง รถทรง เรือทรง ม้าทรง ช้างทรง น้ำสรง ห้องสรง ของเสวย โต๊ะเสวย ห้องบรรทม เป็นต้น


การใช้ราชาศัพท์สำหรับสำหรับเจ้านายหรือพระบรมวงศานุวงศ์

(ตั้งแต่สมเด็จพระบรมราชินีลงไปถึงหม่อมเจ้า)

     ๑. ใช้พระราชนำหน้า

         เช่น พระราชเสาวนีย์ พระราชประวัติ พระราชดำรัส พระราชกุศล พระราโชวาท พระราโชบาย เป็นต้น

     ๒. ใช้พระนำหน้า

         เช่น พระเศียร พระองค์ พระหัตถ์ พระทัย พระบาท
         เว้นแต่หม่อมเจ้าไม่ใช้ “พระ” นำหน้า ใช้ว่า เศียร องค์ หัตถ์ หทัย บาท เป็นต้น

     ๓. ไม่ต้องใช้คำนำหน้าหรือต่อท้าย

         คำนามราชาศัพท์สำหรับเจ้านายอยู่ในตัว ไม่ต้องใช้คำนำหน้าหรือคำต่อท้าย เช่น วัง ตำหนัก 

ราชาศัพท์ตกแต่งขึ้นจากคำไทยดั้งเดิม

     ๑. คำที่ใช้เรียกเครือญาติ

คำที่ใช้เรียกความหมาย
พระเจ้าพี่ยาเธอ พระองค์เจ้าที่เป็นพี่ชายของพระเจ้าแผ่นดิน
สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอเจ้าฟ้าที่เป็นพี่ชายของพระเจ้าแผ่นดิน
พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้าที่เป็นลูกชายของพระเจ้าแผ่นดิน
 สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าที่เป็นลูกชายของพระเจ้าแผ่นดิน


     ๒. คำที่ใช้เรียกส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
 

           มีวิธีตกแต่งโดยเติมคำ “พระ” เช่น พระกราม (กราม) พระเต้า (เต้านม) พระรากขวัญ (ไหปลาร้า) พระยอด (ฝี)

     ๓. คำที่ใช้เรียกกิริยาอาการ 

           มีวิธีตกแต่งโดยเติมคำว่า “ทรง” หน้าคำกริยาหรือหน้าคำนาม เช่น ทรงถาม ทรงไอ ทรงจาม ทรงยืน  ทรงขลุ่ย (เป่าขลุ่ย) ทรงช้าง (ขี่ช้าง) ทรงเรือ (นั่งเรือ)

     ๔. คำที่ใช้เรียกเครื่องใช้ทั่วไป 

           มีวิธีการตกแต่งโดยมีคำ “พระ” เข้าประกอบ เช่น พระแท่น (เตียง  ที่นั่ง) พระแส้ (แส้)


ราชาศัพท์ที่ตกแต่งขึ้นจากคำที่มาจากภาษาอื่น

     ๑. คำที่ใช้เรียกเครือญาติ 

           เช่น พระอัยกา (ปู่  ตา) พระชนนี (แม่)

     ๒. คำที่ใช้เรียกส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย 

           เช่น พระหัตถ์ (มือ) พระองคุลี (นิ้ว) พระอุทร (ท้อง) พระเนตร (ตา) พระขนง (คิ้ว) พระเสโท (เหงื่อ)  พระอัฐิ (กระดูก)

     ๓. คำที่ใช้เรียกเครื่องใช้ทั่วไป 

           เช่น  พระจุฑามณี (ปิ่น) พระกุณฑล (ต่างหู) พระพัชนี (พัด)


การใช้ทรง

     ๑. มีความหมายตามเนื้อความของคำที่ตามหลัง  
           เช่น ทรงม้า (ขี่ม้า) ทรงศีล (รับศีล) ทรงธรรม (ฟังเทศน์) ทรงบาตร (ตักบาตร) ทรงรถ (นั่งรถ) ทรงสกี (เล่นสกี) ทรงกีตาร์ (เล่นกีตาร์)

     ๒. ใช้นำหน้าคำกริยา  กลุ่มคำกริยา (กริยาวลี) 
           ให้เป็นราชาศัพท์ เช่น ทรงฟัง ทรงยินดี 
ทรงขอบใจ ทรงชุบเลี้ยง ทรงเป็นศิษย์เก่า ทรงมีเหตุผล

     ๓. กริยาใดเป็นคำราชาศัพท์อยู่แล้ว จะใช้คำ “ทรง” นำหน้าอีกไม่ได้ 
           เช่น บรรทม เสวย ประทับ สรง


การใช้คำว่า "เสด็จ"

     ๑. ใช้นำหน้าคำกริยาสามัญบางคำให้เป็นคำกริยา
           ราชาศัพท์  
เช่น  เสด็จไป  เสด็จกลับ  เสด็จออก 
           เสด็จขึ้น  เสด็จลง

     ๒. ใช้นำหน้าคำนามราชาศัพท์ให้เป็นคำกริยา
          ราชาศัพท์ 
เช่น  เสด็จพระราชสมภพ 
          เสด็จพระราชดำเนิน


การใช้คำราชาศัพท์ให้ถูกต้องตามเหตุผล

๑. คำว่า "อาคันตุกะ" แปลว่า แขกที่มาเยือน ถ้าเป็นแขกของพระมหากษัตริย์ ใช้ "พระราช" นำหน้า ถ้าไม่ใช่แขกของพระมหากษัตริย์ก็ไม่ต้องมีพระราชนำหน้า เช่น

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นพระราชอาคันตุกะ
ของสมเด็จพระราชินีอลิซาเบธที่ ๒
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นอาคันตุกะ
ของประธานาธิบดี

๒. ในการถวายของแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

ถ้าเป็นของเล็กก็ใช้ ทูลเกล้าฯ ถวาย 
อ่านว่า "ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย"
ถ้าเป็นของใหญ่ก็ใช้ น้อมเกล้าฯ ถวาย  
อ่านว่า "น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย"


การใช้คำราชาศัพท์สำหรับพระศาสดา

  • การใช้คำราชาศัพท์สำหรับเรียกกิริยาอาการของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 
    ต้องใช้ให้ถูกต้องเหมาะสมตามแบบแผน เช่น  สิ้นพระสุรเสียง เสด็จพระพุทธดำเนิน เสด็จออกบรรพชา เสด็จปรินิพพาน ทรงสั่งสอนเวไนยสัตว์ 

  • การใช้ราชาศัพท์สำหรับพระศาสดาของศาสนาอื่น 
    ควรใช้คำแสดงคารวะให้ถูกต้องตามแบบแผนขนบนิยม เช่น เสด็จสู่สวรรค์ ทรงสั่งสอน ทรงประกาศศาสนา