คำภาษาต่างประเทศในภาษาไทยมีหลายภาษา เช่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเขมร ภาษาจีน ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษาอังกฤษ ภาษาชวา-มลายู
๑. สภาพภูมิศาสตร์ ประเทศไทยมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศต่าง ๆ ได้แก่ พม่า ลาว กัมพูชา มาเลเซีย จึงมีการแลกเปลี่ยนภาษากัน เช่น ภาษาเขมร ภาษามลายู
๒. ประวัติศาสตร์ ชนชาติไทยเป็นชนชาติที่มีประวัติศาสตร์อันช้านาน มีการอพยพโยกย้าย มีการทำศึกสงครามกับชนชาติอื่น มีการกวาดต้อนเชลยศึกให้มาอาศัยอยู่ในประเทศไทย ผู้คนเหล่านี้ได้นำถ้อยคำภาษาเดิมของตนเองมาใช้ปะปนกับภาษาไทยด้วย
๓. ศาสนา คนไทยมีเสรีภาพในการนับถือศาสนามาเป็นเวลาช้านาน เมื่อนับถือศาสนาใดก็ย่อมได้รับถ้อยคำภาษาที่ใช้ในคำสอนหรือคำเรียกชื่อต่าง ๆ ในทางศาสนาของศาสนานั้น ๆ มาปะปนอยู่ในภาษาไทยด้วย เช่น ภาษาสันสกฤต ภาษาบาลี ภาษาอาหรับ ภาษาอังกฤษ
๔. การค้าขาย จากหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์ ชนชาติไทยมีการติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้ากับชนชาติต่าง ๆ มาเป็นเวลาอันช้านาน ทำให้มีถ้อยคำในภาษาของชนชาตินั้น ๆ เข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทยเป็นจำนวนมาก
๕. วรรณคดี วรรณคดีอินเดียที่ไทยนำเข้ามา เช่น เรื่องมหากาพย์รามายณะและมหาภารตะ แต่งขึ้นเป็นภาษาสันสกฤต อิเหนาเป็นวรรณคดีที่มีเค้าเรื่องมาจากเรื่องดาหลังของชวา ทำให้ภาษาสันสกฤตและภาษาชวาเข้ามาปะปนในภาษาไทย
๖. ความสัมพันธ์ทางการทูต การเจริญสัมพันธไมตรีทางการทูต ย่อมทำให้ภาษาของเจ้าของถิ่นเดิมหรือผู้อพยพโยกย้ายมาใหม่นำมาใช้ร่วมกัน เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส
๑. คำไทยมีหลายพยางค์ จากเดิมที่เป็นคำพยางค์เดียวก็เพิ่มจำนวนพยางค์ขึ้น
๒. คำไทยเป็นคำควบกล้ำมากขึ้น ปัจจุบันมีคำควบกล้ำที่มีเสียงควบต่างจากเดิมเพิ่มมากขึ้น
๓. มีตัวสะกดหลายตัวที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด ทำให้มีการเขียนและการออกเสียงที่หลากหลาย
๔. มีคำศัพท์ใช้ในภาษามากขึ้น ทำให้เลือกใช้ได้เหมาะสมกับโอกาส
๑. ใช้ตามคำเดิมที่ยืมมา
๒. เปลี่ยนรูปและเสียงให้เปลี่ยนไปจากเดิม เพื่อให้เหมาะกับการออกเสียงภาษาไทย
๓. ตัดคำให้มีเสียงสั้นลง
๔. แผลงสระและพยัญชนะให้เปลี่ยนไปจากเดิม
๕. เปลี่ยนความหมายไปจากเดิมให้เข้ากับความหมายของภาษาไทย
ภาษาบาลี | ภาษาสันสกฤต |
๑. ประสมสระ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ๓. นิยมใช้ ฬ (เช่น กีฬา) ๔. ไม่นิยมคำควบกล้ำ ๕. มีตัวสะกดตัวตามที่แน่นอน | ๑. ประสมสระ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ๒. ประสมด้วย ศ ษ ส ๓. นิยมใช้ ฑ (เช่น กรีฑา) ๔. นิยมคำควบกล้ำ ๕. ไม่มีตัวสะกดตัวตามที่แน่นอน ๖. มีคำว่า “เคราะห์” ๗. มีการใช้ ร หัน |
วรรค | แถวที่ | แถวที่ | แถวที่ | แถวที่ | แถวที่ |
วรรคกะ | ก | ข | ค | ฆ | ง |
วรรคจะ | จ | ฉ | ช | ฌ | ญ |
วรรคฏะ | ฏ | ฐ | ฑ | ฒ | ณ |
วรรคตะ | ต | ถ | ท | ธ | น |
วรรคปะ | ป | ผ | พ | ภ | ม |
๑. พยัญชนะแถวที่ ๑ สะกด พยัญชนะแถวที่ ๑ , ๒ ในวรรคเดียวกันตาม
เช่น สักกะ ทุกข์ สัจจะ มัจฉา เมตตา อิตถี หัตถ์ บุปผา
๒. พยัญชนะแถวที่ ๓ สะกด พยัญชนะแถวที่ ๓ , ๔ ในวรรคเดียวกันตาม
เช่น อัคคี พยัคฆ์ อวิชชา อัชฌาสัย พุทธ ทัพพี
๓. พยัญชนะแถวที่ ๕ สะกด พยัญชนะทุกตัวในวรรคเดียวกันตาม
เช่น สังข์ องค์ สงฆ์ สัญชาติ สัณฐาน สันธาน สัมผัส สัมพันธ์ คัมภีร์ อัมพร
๑. การใช้อักษรบางตัวที่ไม่นิยมใช้ในภาษาไทย เช่น ฆ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ภ ศ ษ ฤ ฤๅ
๒. การใช้ตัวการันต์ท้ายคำ
๓. การแทรก ร เข้าภายในคำ เช่น กนก>กระหนก ปกติ>ปรกติ นิมิต>นิมิตร
๔. การใช้รูปวิสรรชนีย์ (ในตำแหน่งท้ายคำ และใช้กับคำว่า กระ-/ประ- ในต้นพยางค์)
๕. ไม่ใช้เครื่องหมายไม้ไต่คู้ ( ็ )
๖. ใช้รูป รร (ร หัน) กับคำยืมภาษาสันสกฤต
ลักษณะคำภาษาเขมรในภาษาไทย มีดังนี้
๑. มักจะสะกดด้วย จ ญ ร ล ส
เช่น เผด็จ ชาญ ขจร ถกล ตำบล จรัส
๒. มักใช้ บัง บัน บำ นำหน้าคำที่มีสองพยางค์
เช่น บังคม บังเกิด บันดาล บำเพ็ญ บำเหน็จ
๓. นิยมใช้อักษรนำ
เช่น ถนน เจริญ สลา เสน่ง จมูก ไถง แถง
๔. ส่วนมากใช้เป็นราชาศัพท์
เช่น ขนง ขนอง เขนย เสวย บรรทม เสด็จ โปรด ตรัส ทูล สรง
๕. มักเป็นคำแผลง เช่น
ขจอก – กระจอก ขลัง – กำลัง
ผจญ – ประจญ ประทม – บรรทม
ประจง – บรรจง เกิด – กำเนิด
เดิน – ดำเนิน บวช – ผนวช
๖. นิยมขึ้นต้นด้วยเสียง “อำ”
เช่น จำเริญ บำนาญ กำนัล ตำรวจ
๗. ส่วนใหญ่ใช้เป็นคำสามัญ คำในวรรณคดี และคำราชาศัพท์
การยืมคำภาษาอังกฤษมาใช้ในภาษาไทย มี ๓ ลักษณะ ดังนี้
๑. การทับศัพท์ โดยการถ่ายเสียงและถอดตัวอักษรคนไทยนิยมใช้เพราะเข้าใจง่าย สื่อสารได้ชัดเจน
เช่น เกม กราฟ การ์ตูน คลินิก โควตา ไดโนเสาร์ เทคโนโลยี
๒. การบัญญัติศัพท์ โดยการสร้างคำขึ้นใหม่ นิยมใช้ในการสร้างศัพท์ทางวิชาการ
เช่น โลกาภิวัตน์ วิทยาศาสตร์ ปฏิรูป
๓. การแปลศัพท์ โดยการแปลเป็นคำภาษาไทยให้มีความหมายตรงกับคำในภาษาอังกฤษ
เช่น กระดานดำ หนังสือคู่มือ เรื่องสั้น
๑. เสียงพยัญชนะต้นประสม แทรกสระ -อะ ให้เป็นสองพยางค์
เช่น Street > สะตรีท
๒. เสียงพยัญชนะต้นประสมกับ /r l/ มีการออกเสียงเพิ่มขึ้นจากเสียงพยัญชนะต้นประสมในภาษาไทย
เช่น บล็อก เบรก ดรัมเมเจอร์ แฟลชไดร์ฟ ฟรี เทรนเนอร์ เป็นต้น
๓. พยัญชนะบางหน่วยเสียง มีการเพิ่มเสียงที่ไม่ปรากฏในภาษาไทย
เช่น กอล์ฟ สตาฟ บอล อีเมล โบนัส แก๊ส
การยืมคำภาษาจีนมาใช้ในภาษาไทย มักนำมาจากชื่ออาหารการกิน สิ่งของ เครื่องใช้ ระบบทางการค้า เช่น ก๋วยเตี๋ยว เต้าทึ แป๊ะซะ ตะหลิว เก้าอี้ ฮวงซุ้ย หุ้น ห้าง โสหุ้ย
๑. คำยืมส่วนใหญ่เป็นเสียงวรรณยุกต์ตรี/จัตวา
เช่น แปะก๊วย (แปะเกว้) เฉาก๊วย (เฉาเกว้) อั๊ว (อั้ว) บ๊วย (บ้วย)
๒. มักมีพยัญชนะต้นเป็นอักษรกลาง ก จ ต บ ป อ
เช่น กวยจั๊บ เจ๊ง ตั๋ว ปุ๋ย เอี๊ยม
๓. คำที่มีเสียง /เ-ี๊ยะ/ และ /-ั๊วะ/ ในไทยส่วนใหญ่ เป็นคำยืมจีน
เช่น เจี๊ยะ แป๊ะเจี๊ยะ ยี่ปั๊ว กะจั๊วะ