จำแนกตามตำราพระยาอุปกิตศิลปสารได้ ๗ ชนิด คือ
คำที่ใช้เรียกสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม
แบ่งได้ ๕ ชนิด ดังนี้
๑.๑ สามานยนาม คือ คำที่ใช้เรียกสิ่งต่าง ๆ ทั่วไป ไม่เฉพาะเจาะจง เช่น ต้นไม้ หมา โรงเรียน ดอกไม้ หนังสือ วัด เป็นต้น
๑.๒ วิสามานยนาม คือ คำที่ใช้เรียกนามชื่อเฉพาะเจาะจง เช่น ต้นมะม่วง โรงเรียนสวนกุหลาบ หนังสือเรียนวิชาภาษาไทย วัดไชยวัฒนาราม เป็นต้น
๑.๓ สมุหนาม คือ คำที่ใช้เรียกนามเพื่อบอกหมวดหมู่ เช่น คณะ ฝูง กอง กลุ่ม พวก ชุด หมู่ โขลง เป็นต้น
***จะวางอยู่หน้าคำนาม เช่น ฝูงนก คณะนักเรียน
๑.๔ ลักษณนาม คือ คำที่ใช้บอกลักษณะ รูปร่าง ขนาด หรือปริมาณ เช่น ผืน สาย เส้น หมวด ด้าม แท่ง มัด มวน ตน รูป เป็นต้น
***จะวางอยู่หลังนามหรือจำนวนนับ เช่น นก ๑ ฝูง รถ ๑ คัน ปากกา ๑ ด้าม ที่ดิน ๒ ไร่
๑.๕ อาการนาม คือ คำนามที่บอกกิริยาอาการ จะมีคำว่า “การ” หรือ “ความ” นำหน้าคำกริยาหรือคำวิเศษณ์ เช่น ความรัก การกิน ความสุข การออกกำลังกาย เป็นต้น
***ถ้า “การ” หรือ “ความ” ไม่นำหน้าคำกริยาหรือคำวิเศษณ์ถือว่าเป็นคำประสม ไม่ถือเป็นอาการนาม เช่น การบ้าน การไฟฟ้า เป็นต้น
คำที่ใช้แทนคำนาม
แบ่งได้ ๖ ชนิด ดังนี้
๒.๑ บุรุษสรรพนาม คือ สรรพนามที่ใช้แทนบุคคล แบ่งเป็น
- บุรุษที่ ๑ เช่น ฉัน ผม ข้าพเจ้า
- บุรุษที่ ๒ เช่น เธอ ท่าน ใต้เท้า
- บุรุษที่ ๓ เช่น เขา พระองค์ พวกเขา
๒.๒ ประพันธสรรพนาม คือ สรรพนามที่ใช้เชื่อมประโยคย่อย ทำหน้าที่แทนนามหรือสรรพนาม ได้แก่คำว่า ที่ ซึ่ง อัน ผู้
๒.๓ นิยมสรรพนาม คือ สรรพนามที่ใช้แทนนามชี้เฉพาะ เช่นคำว่า นี่ นั่น โน่น นี้ นั้น โน้น
๒.๔ อนิยมสรรพนาม คือ สรรพนามที่ใช้แทนนามทั่วไป เช่นคำว่า ใคร อะไร ไหน ***ไม่ต้องการคำตอบ
๒.๕ ปฤจฉาสรรพนาม คือ สรรพนามที่ใช้แทนนามที่มีเนื้อความเป็นคำถาม เช่นคำว่า ใคร อะไร ไหน *** ต้องการคำตอบ
๒.๖ วิภาคสรรพนาม คือ สรรพนามที่ใช้แยกส่วน ได้แก่คำว่า ต่าง บ้าง กัน
คำที่แสดงกิริยาอาการหรือแสดงสภาพ
แบ่งได้ ๕ ชนิด ดังนี้
๓.๑ อกรรมกริยา คือ กริยาที่ไม่ต้องการกรรม เช่น น้ำท่วม ฝนตก ฉันร้องไห้ ไก่ขัน
๓.๒ สกรรมกริยา คือ กริยาที่ต้องการกรรม เช่น นกจิกหนอน น้องกินขนม ทหารจับโจร
๓.๓ วิกตรรถกริยา คือ กริยาที่ต้องการส่วนเติมเต็ม เช่น คำว่า เป็น เหมือน คล้าย เท่า คือ ดุจ เป็นต้น
๓.๔ กริยานุเคราะห์ คือ กริยาที่ทำหน้าที่เป็น กริยาช่วยทำให้ใจความสมบูรณ์มากขึ้น เช่นคำว่า คง จะ กำลัง ถูก เป็นต้น
๓.๕ กริยาสภาวมาลา คือ กริยาที่ทำหน้าที่เป็นคำนาม
คำที่ประกอบกับคำอื่นเพื่อขยายความให้ชัดเจนขึ้น สามารถใช้ประกอบได้ทั้งคำนาม คำสรรพนาม คำกริยา และคำวิเศษณ์
คำวิเศษณ์ แบ่งได้ ๑๐ ชนิด ดังนี้
๔.๑ ลักษณวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์เพื่อบอกลักษณะ เช่น สี ขนาด เสียง กลิ่น รส ความรู้สึก อาการ เป็นต้น
เช่น ดี ชั่ว ขาว ดำ ใหญ่ เหม็น ช้า
๔.๒ กาลวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์เพื่อบอกเวลา
เช่น เช้า สาย บ่าย เที่ยง เย็น ค่ำ
๔.๓ สถานวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์เพื่อบอกสถานที่
เช่น บน ล่าง เหนือ ใต้ บก น้ำ
๔.๔ ประมาณวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์เพื่อบอกปริมาณและจำนวนนับ
เช่น จุ หลาย ทั้งหมด บ้าง บาง ทุก มาก น้อย ***วางอยู่หลังกริยาจะเป็นประมาณวิเศษณ์
๔.๕ นิยมวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่บอกความชี้เฉพาะ
เช่น นี่ นั่น โน่น นี้ นั้น โน้น ทั้งนี้ อย่างนี้ ดังนั้น ดังนี้ ทีเดียว แน่นอน
๔.๖ อนิยมวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่บอกความไม่ชี้เฉพาะ
เช่น ใด ไหน ใคร อะไร ทำไม กี่ เช่นไร *** ไม่ต้องการคำตอบ
๔.๗ ปฤจฉาวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่บอกความเป็นคำถาม
เช่น ใด ไหน ใคร อะไร ทำไม กี่ เช่นไร *** ต้องการคำตอบ
๔.๘ ประติชญาวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์บอกการขานรับ
เช่น จ้ะ จ๋า ครับ ค่ะ คะ
๔.๙ ประติเษธวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์บอกความปฏิเสธ
เช่น ไม่ บ่ หามิได้ หา...ไม่
๔.๑๐ ประพันธวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ประกอบคำกริยา หรือคำวิเศษณ์เพื่อเชื่อมประโยคใช้กับประโยคความซ้อนแบบวิเศษณานุประโยค
เช่น เมื่อ จน เพราะ ตาม อย่างที่ เพื่อ
นิยมสรรพนาม | นิยมวิเศษณ์ |
แทนคำนาม และคำสรรพนาม | ขยายคำนาม สรรพนาม กริยา และวิเศษณ์ |
ไม่ปรากฏคำนาม และสรรพนาม | วางอยู่หลังคำนาม สรรพนาม กริยา และวิเศษณ์ |
มักขึ้นต้นประโยค |
อนิยมสรรพนาม | อนิยมวิเศษณ์ |
ไม่ต้องการคำตอบ | ไม่ต้องการคำตอบ |
แทนคำนาม และสรรพนาม | ขยายคำนาม สรรพนาม กริยา และวิเศษณ์ |
ไม่ปรากฏคำนาม และสรรพนาม | วางอยู่หลังคำนาม สรรพนาม กริยา และวิเศษณ์ |
ปฤจฉาสรรพนาม | ปฤจฉาวิเศษณ์ |
ต้องการคำตอบ | ต้องการคำตอบ |
แทนคำนาม และสรรพนาม | ขยายคำนาม สรรพนาม กริยา และวิเศษณ์ |
ไม่ปรากฏคำนาม และสรรพนาม | วางอยู่หลังคำนาม สรรพนาม กริยา และวิเศษณ์ |
ประพันธสรรพนาม | ประพันธวิเศษณ์ |
ใช้กับประโยคความซ้อน แบบคุณานุประโยค | ใช้กับประโยคความซ้อน แบบวิเศษณานุประโยค |
ขยายคำนาม และสรรพนาม | ขยายคำกริยา และวิเศษณ์ |
ได้แก่ คำว่า ที่ ซึ่ง อัน ผู้ | เช่นคำว่า เมื่อ จน เพราะ เพื่อ ฯลฯ |
คำที่ทำหน้าที่เชื่อมคำหรือกลุ่มคำ
แบ่งได้ ๒ ชนิด ดังนี้
๕.๑ บุพบทที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างคำต่อคำ เพื่อบอกความเป็นเจ้าของ บอกความเกี่ยวข้อง บอกจุดมุ่งหมาย บอกเวลา บอกสถานที่ บอกความเปรียบ เช่น
๕.๒ บุพบทที่ไม่แสดงความสัมพันธ์กับบทอื่น ทำหน้าที่เป็นคำทักทาย คำเรียกขาน
เช่น ดูกร ข้าแต่ ดูรา เป็นต้น
คำที่ทำหน้าที่เชื่อมประโยค
แบ่งได้ ๔ ชนิด ดังนี้
๖.๑ เชื่อมใจความที่คล้อยตามกัน เช่นคำว่า และ ทั้ง...และ ก็ พอ...ก็ แล้ว...จึง ครั้น...จึง ก็ดี ก็ตาม ทั้ง...ก็
๖.๒ เชื่อมใจความขัดแย้งกัน เช่นคำว่า แต่ แต่ทว่า แต่ว่า กว่า...ก็ แต่...ก็ แม้...ก็
๖.๓ เชื่อมใจความเป็นเหตุเป็นผลกัน เช่นคำว่า เพราะ...จึง เพราะฉะนั้น...จึง ดังนั้น...จึง (เหตุก่อนผล)
๖.๔ เชื่อมใจความเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่นคำว่า ไม่...ก็ หรือ ไม่เช่นนั้น มิฉะนั้น
คำที่ไม่ได้ตั้งใจเปล่งออกมาเพื่อแสดงอารมณ์และความรู้สึก
แบ่งได้ ๒ ชนิด ดังนี้
๗.๑ อุทานแสดงอาการ เพื่อแสดงอารมณ์และความรู้สึก
เช่น โอ๊ย อุ๊ย ชิชะ อุเหม่ แหม เฮ้อ โอ้โฮ พระเจ้าช่วย อนิจจา พุทโธ่ ว้าย
๗.๒ อุทานเสริมบท เพื่อเป็นคำเสริมสร้อย อาจอยู่ต้นคำ ท้ายคำ หรือแทรกกลางคำก็ได้
เช่น หยูกยา อาหงอาหาร โกหกพกลม กระดูกกระเดี้ยว ดอกเอ๋ยดอกไม้