คือ เสียงที่เปล่งออกมาจากเส้นเสียงโดยตรง ซึ่งลมที่ออกมาในระหว่างการเปล่งเสียงนั้นจะกระทบกับเส้นเสียงทำให้สั่นจนเกิดเป็นเสียงก้อง และลมจะไม่ถูกสกัดกั้นด้วยฐานใด ๆ ในปาก แต่จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปปากและระดับของลิ้น
มีทั้งหมด ๒๑ รูป ๒๑ เสียง ซึ่งเสียงสระแบ่งได้ ๓ ประเภท คือ สระเดี่ยว สระประสม และสระเกิน ดังต่อไปนี้
คือ สระที่ออกเสียงโดยอวัยวะในช่องปากตำแหน่งเดียวตลอดเสียง แบ่งเป็น สระเสียงสั้น (รัสสระ) และ สระเสียงยาว (ทีฆสระ) มีเสียงคู่กันจำนวน ๙ คู่ รวมทั้งหมด ๑๘ เสียง ดังตารางต่อไปนี้
คือ สระที่ออกเสียงโดยอวัยวะที่ใช้ในการออกเสียงมีการเปลี่ยนแปลงจากตำแหน่งหนึ่งไปยังอีกตำแหน่งหนึ่ง
ในปัจจุบัน* แบ่งออกเป็น ๓ เสียง ดังตารางต่อไปนี้
คือ เสียงสระที่มีเสียงซ้ำกับเสียงสระแท้ และมีเสียงพยัญชนะผสมอยู่ด้วย มี ๘ เสียง* ดังต่อไปนี้
รูปสระในภาษาไทย มี ๒๑ รูป ดังนี้
สระต่าง ๆ เกิดจากการประกอบกันของรูปสระ ดังตารางต่อไปนี้
ตัวอย่างเช่น
คือ เสียงที่เปล่งออกมาจากลำคอ แล้วลมถูกสกัดกั้นด้วยฐานอวัยวะต่าง ๆ ในปาก จนเกิดเป็นเสียงก้องและไม่ก้อง มีทั้งหมด ๔๔ รูป ๒๑ เสียง ดังตารางต่อไปนี้
โดยเสียงพยัญชนะ หรือเสียงแปรนั้น แบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ พยัญชนะต้นเดี่ยว พยัญชนะควบกล้ำ และพยัญชนะท้าย ดังต่อไปนี้
คือ เสียงพยัญชนะต้นที่มีเพียงเสียงเดียว โดยเสียงพยัญชนะทั้ง ๒๑ เสียงดังที่ปรากฏตามตารางก่อนหน้า สามารถเป็นพยัญชนะต้นได้ทุกเสียง
ตัวอย่างเช่น
คือ เสียงพยัญชนะที่ออกเสียง ๒ เสียงติดต่อกันโดยไม่มีเสียงสระมาคั่นกลาง มีทั้งหมด ๑๑ คู่ ดังตารางต่อไปนี้
ตัวอย่างเช่น
คือ เสียงพยัญชนะที่ปรากฏตามหลังสระในแต่ละพยางค์ โดยมี ๙ เสียง หรือ ๙ มาตรา ดังต่อไปนี้
ตัวอย่างเช่น
รูปพยัญชนะที่ไม่สามารถเป็นตัวสะกดได้ มีทั้งหมด ๗ ตัว ได้แก่ ผ ฝ ฌ อ ห ฉ ฮ (ผีฝากเฌอเอมให้ฉันฮะ) และไม่จัดลงในเสียงตัวสะกด ๘ มาตรา
คือ ระดับเสียงสูงและต่ำในภาษาไทยและส่งผลให้ความหมายของคำแตกต่างกันไป มีทั้งหมด ๔ รูป ๕ เสียง ได้แก่ เสียงสามัญ (ไม่มีรูป) เสียงเอก ( ่ ) เสียงโท ( ้ ) เสียงตรี ( ๊ ) เสียงจัตวา ( ๋ )
โดยจะแบ่งเสียงวรรณยุกต์ได้เป็น ๒ ประเภท ดังต่อไปนี้
คือ เสียงวรรณยุกต์ที่คงที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงระดับของเสียง ได้แก่ เสียงสามัญ (ระดับกลาง) เสียงเอก (ระดับต่ำ) และเสียงตรี (ระดับสูง)
คือ เสียงวรรณยุกต์ที่มีการเปลี่ยนแปลงระดับของเสียง ได้แก่ เสียงโท (เปลี่ยนระดับจากสูงมาต่ำ) และเสียงจัตวา (เปลี่ยนระดับจากต่ำขึ้นไปสูง)
สามารถแสดงระดับเสียงวรรณยุกต์ตามกราฟ ดังต่อไปนี้
ตัวอย่างเช่น