ประโยค หมายถึง ถ้อยคำหลายคำที่นำมาเรียงกันแล้วเกิดใจความสมบูรณ์
ประโยคมีส่วนประกอบสำคัญ ๒ ส่วน คือ ภาคประธานและภาคแสดง โดยภาคประธานเป็นส่วนที่เป็นผู้กระทำ เพื่อให้ทราบว่า "ใครหรืออะไรที่แสดงอาการในประโยคนั้น ๆ" ส่วนภาคแสดงเป็นส่วนที่บอกว่า "สิ่งที่จะกล่าวถึงนั้น ทำอะไร อยู่ในสภาพใด หรือเป็นอะไร" เช่น
ภาคประธาน | ภาคแสดง |
คุณพ่อของผม นักเรียนคนนั้น ผู้ชายที่ยืนอยู่หลังห้อง | พูดเร็วมาก ชอบดอกไม้สีแดง เป็นหัวหน้าห้องสมุด |
เราอาจแบ่งประโยคตามเจตนาของผู้ส่งสารที่แสดงในประโยคได้เป็น ๓ ประเภท คือ
เป็นประโยคที่ผู้ส่งสารใช้บอกกล่าวหรือแจ้งเรื่องราวให้ผู้รับสารทราบ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ประโยคบอกเล่า
เป็นประโยคที่ผู้ส่งสารใช้ถามเรื่องราวเพื่อให้ผู้รับสารตอบสิ่งที่ผู้รับสารอยากรู้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ประโยคคำถาม
เป็นประโยคที่ผู้ส่งสารใช้เพื่อให้ผู้รับสารกระทำอาการตามความต้องการของผู้ส่งสาร เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ประโยคคำสั่งหรือขอร้อง
เป็นประโยคที่นำคำมาเรียงกัน แล้วมีความหมายสมบูรณ์บอกให้รู้ว่า ใครทำอะไร โดยมีเนื้อความเพียงประการเดียว
เป็นประโยคที่มีประโยคความเดียวตั้งแต่ ๒ ประโยคขึ้นไปมารวมกัน โดยมีคำสันธานเชื่อมประโยค เพื่อให้ได้ใจความสำคัญติดต่อกันเป็นประโยคเดียวโดยแต่ละประโยคจะมีน้ำหนักหรือความสำคัญเท่ากัน
ประโยคความรวมแบ่งย่อยได้เป็น ๔ แบบ ดังนี้
๒.๑ ประโยคที่มีเนื้อความคล้อยตามกัน มีสันธาน และ แล้ว แล้ว...ก็ ครั้น...จึง พอ...ก็ ฯลฯ เป็นตัวเชื่อม
๒.๒ ประโยคที่มีเนื้อความขัดแย้งกัน มีสันธาน แต่ แต่ทว่า กว่า...ก็ ฯลฯ เป็นตัวเชื่อม
๒.๓ ประโยคที่มีเนื้อความให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง มีสันธาน หรือ หรือไม่ก็ ไม่เช่นนั้น มิฉะนั้น...ก็ ฯลฯ เป็นตัวเชื่อม
๒.๔ ประโยคที่มีเนื้อความเป็นเหตุเป็นผลกัน มีสันธาน จึง ฉะนั้น ดังนั้น เพราะฉะนั้น ฯลฯ เป็นตัวเชื่อม
เป็นประโยคที่ประกอบด้วยประโยคหลัก (มุขยประโยค) กับประโยคย่อย (อนุประโยค) โดยแต่ละประโยคจะมีน้ำหนักหรือความสำคัญไม่เท่ากัน เช่น ฉันหลังรักกานดาซึ่งเคยมีคนรักมาก่อนแล้ว พ่อป่วยหนักจนต้องนอนโรงพยาบาลอยู่หลายวัน
ประโยคความซ้อนแบ่งย่อยได้เป็น ๓ แบบ ดังนี้
๓.๑ ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่เหมือนนาม (นามานุประโยค) อาจเป็นบทประธาน บทกรรม หรือประโยคที่ตามหลังคำ “ว่า” “ให้” เป็นตัวเชื่อม
๓.๒ ประโยคย่อยซึ่งทำหน้าที่เหมือนวิเศษณ์ขยายนามหรือสรรพนาม (คุณานุประโยค) โดยมีประพันธสรรพนาม ที่ ซึ่ง อัน เป็นตัวเชื่อม
๓.๓ ประโยคย่อยซึ่งทำหน้าที่เหมือนวิเศษณ์ขยายกริยาหรือขยายวิเศษณ์ด้วยกัน (วิเศษณานุประโยค) โดยมีประพันธวิเศษณ์ (เมื่อ ขณะ ขณะที่ จน เพื่อ เพราะ ตาม ตั้งแต่ ดัง ราว ราวกับ ราวกับว่า เหมือน) เชื่อม
๑. ประโยคกรรตุ หรือ ประโยคประธาน คือ ประโยคที่มีประธานอยู่หน้าตามด้วยกริยา
๒. ประโยคกรรม คือ ประโยคที่มีกรรมอยู่หน้า เพื่อเน้นกรรมให้ชัดเจน
๓. ประโยคกริยา คือ ประโยคที่มีคำกริยา "เกิด มี ปรากฏ" ขึ้นต้น
๔. ประโยคการิต คือ ประโยคที่มีผู้รับใช้ โดยมักจะมีคำว่า “ให้” ตามหลังผู้กระทำ
๕. ประโยคกริยาสภาวมาลา คือ ประโยคที่นำกริยาหรือกริยาวลีมาใช้เหมือนคำนาม