คำพ้อง

ยอดวิว 0

แบบฝึกหัด

EASY

แบบฝึกหัดคำพ้อง (ชุดที่ ๑)

MEDIUM

แบบฝึกหัดคำพ้อง (ชุดที่ ๒)

HARD

แบบฝึกหัดคำพ้อง (ชุดที่ ๓)

เนื้อหา

คำพ้อง

คือ คำที่มีเสียง รูปเขียนหรือความหมาย อย่างใดอย่างเหมือนกัน คำว่า "พ้อง" ในภาษาไทย หมายถึง เหมือน แบ่งเป็น ๔ ประเภท ดังนี้


๑. คำพ้องรูป

คือ คำที่รูปเขียนเหมือนกัน แต่มีการอ่านออกเสียง และความหมายที่แตกต่างกัน เช่น

กรี

กะ-รี = ช้าง
กฺรี = กระดูกแหลมที่หัวกุ้ง
ครุ
คะ-รุ = หนัก, ครู 
คฺรุ = ภาชนะสานด้วยไม้ไผ่ รูปร่างคล้ายถังน้ำ มีหูหิ้ว ยาชันก้นรั่ว ใช้ตักน้ำหรือหาบน้ำ
ปรัก
ปะ-หฺรัก = หัก, พัง
ปฺรัก = เงิน
พยาธิ
พะ-ยา-ทิ = ความเจ็บไข้
พะ-ยาด = สัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง ซึ่งในระยะหนึ่งของชีวิตจะเป็นปรสิตอยู่ในร่างการมนุษย์และสัตว์
ปรามาส
ปะ รา-มาด = การจับต้อง ลูบคลำ
ปฺรา-มาด = ดูถูก
มน
มะ-นะ = ใจ
มนฺ = กลม ๆ โค้ง ๆ ไม่มีเหลี่ยม

๒. คำพ้องเสียง

คือ คำที่อ่านออกเสียงเหมือนกัน แต่มีรูปเขียนและความหมายที่แตกต่างกัน เช่น
กัน
กัลป์ = ระยะหนึ่งในช่วงเวลาอันยาวนานเป็นการนับอายุของโลกตามคติของพราหมณ์
กรรณ = หู
กัณฑ์ = หมวด, ตอน ใช้กับคำเทศน์
กัณฐ์ = คอ เช่น ทศกัณฐ์
กัน = กีดขวางไว้ไม่ให้เข้ามาหรือออกไป

จัน

จัน = 1. ชื่อต้นไม้ที่มีผลสุกสีเหลือง หอม กินได้ เรียกว่า ลูกจัน
        2.เครื่องหมายวรรคตอนชนิดหนึ่ง (ดอกจัน)
จันท์ = (แบบ) จันทร์, ดวงเดือน
จันทน์ = ชื่อพันธุ์ไม้บางชนิดที่มีเนื้อไม้ ดอก หรือมีผลหอม ใช้ทำยาและปรุงเครื่องหอม เช่น จันทน์กะพ้อ  จันทน์ชะมด จันทน์ขาว

ปราณี

ปฺรา-นี = ผู้มีชีวิต, สัตว์, คน
ปรานี = เอ็นดูด้วยความสงสาร ; เมตตาปรานี

สาน

สาน = อาการที่ใช้เส้นตอกทำด้วยไม้ไผ่ หวาย กก ใบลาน เป็นต้น ขัดกันให้เป็นผืนเช่น เสื่อ หรือทำขึ้นเป็นวัตถุมีรูปร่างต่าง ๆ เช่น กระบุง กระจาด
สาร  = 1. น. แก่น, เนื้อแท้, มักใช้คู่กับ แก่นสาร
          2. น. ช้างใหญ่
          3. น. สิ่งที่มีองค์ประกอบเป็นอย่างเดียวกัน มีสมบัติเฉพาะของตนเอง
          4. น. ข้าวที่สีหรือตำเอาเปลือกออกแล้ว เรียกว่า ข้าวสาร
ศานต์ = สงบ
ศาณ = 1. น. หินลับมีด หินเจียระไน
           2. น. ผ้าป่าน ว. ทำด้วยป่านหรือปอ (ป. สาณ) 
ศาล = องค์กรที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาอรรถคดีโดยดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ

๓. คำพ้องรูปและพ้องเสียง

คือ คำที่มีรูปเขียนและการอ่านออกเสียงเหมือนกัน แต่ความหมายแตกต่างกัน เช่น

ขัน

  • น. ภาชนะสำหรับตักหรือใส่น้ำ
  • ก. ทำให้ตึงด้วยวิธีการหมุนกวดเร่งเข้าไป
  • ก. อาการร้องอย่างหนึ่งของไก่หรือนก
  • ก. หัวเราะ

สาง

  • น. ผี
  • น. สัตว์ในนิยายเข้าใจกันว่ามีรูปร่างอย่างเสือ
  • (วรรณ) น. ช้าง
  • น. ปรากฏบนท้องฟ้าในเวลาเช้ามืด เรียกว่า ท้องฟ้าสาง
  • น. หวี, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระสาง

๔. คำพ้องความหมาย

คือ คำที่ความหมายหมือนกัน แต่มีรูปเขียนที่แตกต่างกัน หรือเรียกว่า “คำไวพจน์” มักปรากฏในบทร้อยกรองหรือวรรณคดี เช่น

น้ำ

วารี  คงคา  นที  อุทก  ชล  ชโลทร  สลิล  สมุทร  สาคร  สินธุ์

ท้องฟ้า

นภ  นภา  ทิฆัมพร  โพยม  อัมพร  หาว  คคนางค์  เวหา  เวหน

จระเข้

นักกะ  นักกระ  กุมภา  กุมภีล์  กุมภิล  สุงสุมาร  สุงสุมารี

กษัตริย์

บดินทร์  ภูมี  ภูมิ  ภูมิธร  ภูมินทร์  ภูบาล  ภูวนาถ  ภูวไนย  ภูวเนตร  นฤเบศ  นฤปะ  นฤบาล  นโรดม  นราธิเบศร์  นรบดี  นริศวร  ธรณินทร์  ไท  ไท้  ธเรศ 

ศัตรู

อริ  บร  ดัสกร  ไพรี  ไพริน  ไพรินทร์  ริปู  เวรี  ปัจจามิตร 

งาม

พิไล  โสภา  สิงคลิ้ง  รางชาง  ลำเพา  ลาวัณย์  ลออ  รุจิรา  รุจิ  โศภิณ  อะเคื้อ

ใจ

ฤทัย  ดวงแด  ฤดี  มโน  มน  กมล  หทัย 

ทีมผู้จัดทำ