อะตอมและสมบัติของธาตุ
วิวัฒนาการของแบบจำลองอะตอม
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สัญลักษณ์นิวเคลียร์ของธาตุ และอนุภาคในอะตอมและไอโซโทป
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
100%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
หมู่ คาบ ความเป็นโลหะ อโลหะ และกึ่งโลหะ ของธาตุในตารางธาตุ
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
100%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สมบัติของธาตุเรพรีเซนเททีฟตามหมู่และคาบ
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
100%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สมบัติของธาตุโลหะแทรนซิชัน และเปรียบเทียบสมบัติกับธาตุโลหะในกลุ่มธาตุเรพรีเซนเททีฟ
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ค่าครึ่งชีวิต สมบัติของไอโซโทปกัมมันตรังสี และผลกระทบธาตุต่อสิ่งแวดล้อม
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
100%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
100%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย

ค่าครึ่งชีวิต สมบัติของไอโซโทปกัมมันตรังสี และผลกระทบธาตุต่อสิ่งแวดล้อม

ยอดวิว 2.5k

แบบฝึกหัด

EASY

ค่าครึ่งชีวิต สมบัติของไอโซโทปกัมมันตรังสี และผลกระทบธาตุต่อสิ่งแวดล้อม

MEDIUM

ค่าครึ่งชีวิต สมบัติของไอโซโทปกัมมันตรังสี และผลกระทบธาตุต่อสิ่งแวดล้อม

HARD

ค่าครึ่งชีวิต สมบัติของไอโซโทปกัมมันตรังสี และผลกระทบธาตุต่อสิ่งแวดล้อม

เนื้อหา

ธาตุกัมมันตรังสี และการนำธาตุไปใช้ประโยชน์ รวมถึงผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต

ธาตุกัมมันตรังสี

เป็นธาตุที่สามารถแผ่รังสื แล้วกลายเป็นอะตอมของธาตุใหม่

โดยการเปลี่ยนแปลงนิวเคลียสของไอโซโทปที่ไม่เสถียร

เช่น

carbon-14 (C-14)

เพิ่มเติม ธาตุกัมมันตรังสีส่วนใหญ่มีเลขอะตอมสูงกว่า 83

เช่น

U-238 Th-232 Rn-222


การเกิดกัมมันตภาพรังสี

เป็นปรากฏการณ์ที่ธาตุแผ่รังสีได้เองอย่างต่อเนื่อง

ซึ่งเกิดจากนิวเคลียสของไอโซเทปกัมมันตรังสีที่มีพลังงานสูงมากและไม่เสถียร ที่มีอัตราส่วนจำนวนนิวตรอนต่อจำนวนโปรตอนสูง เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในนิวเคลียสเกิดเป็นนิวเคลียสของธาตุใหม่ แล้วปล่อยพลังงานออกมาในรูปรังสีหรืออนุภาค

ได้แก่

  • รังสีแอลฟา (alpha หรือ He presubscript 2 presuperscript 4)
  • รังสีบีตา (beta หรือ e presubscript negative sign 1 end presubscript presuperscript 0 )
  • รังสีแกมมา (gamma)
  • โพซิตรอน (beta plus หรือ e presubscript plus 1 end presubscript presuperscript 0 )
  • โปรตอน (p หรือ H presubscript 1 presuperscript 1 )  
  • ดิวเทอรอน (D หรือ H presubscript 1 presuperscript 2 )
  • ทริทอน (T หรือ H presubscript 1 presuperscript 3 )
  • นิวตรอน (n หรือ n presubscript 0 presuperscript 1 )


การสลายตัวของไอโซโทปกัมมันตรังสี

เป็นปรากฏการณ์ที่นิวเคลียสของไอโซเทปกัมมันตรังสีที่มีอัตราส่วนจำนวนนิวตรอนต่อจำนวนโปรตอนสูง ที่มีพลังงานสูงมากและไม่เสถียรเกิดการเปลี่ยนแปลงภายในนิวเคลียส เกิดเป็นนิวเคลียสของธาตุใหม่ที่เสถียรกว่า และแผ่รังสีออกมา

เช่น

Pb presubscript 82 presuperscript 204 space rightwards arrow space Hg presubscript 80 presuperscript 200 space plus space He presubscript 2 presuperscript 4 space space space space space แผ ่ ร ั งส ี แอลฟา
Pb presubscript 82 presuperscript 210 space rightwards arrow space Bi presubscript 85 presuperscript 210 space space space plus space e presubscript negative sign 1 end presubscript presuperscript 0 space space space space space แผ ่ ร ั งส ี บ ี ตา
Ra presubscript 88 presuperscript 226 space rightwards arrow space Rn presubscript 86 presuperscript 222 space plus space He presubscript 2 presuperscript 4 space space space space space แผ ่ ร ั งส ี แอลฟา
Rn presubscript 86 presuperscript 222 space plus space gamma space space space space space แผ ่ ร ั งส ี แกมมา

การแผ่รังสีสามารถแผ่ได้ตลอด ไม่ขึ้นกับอุณหภูมิ และความดันของบรรยากาศ

เครื่องมือวัดปริมาณรังสี คือ ไกเกอร์ มูลเลอร์ เคาน์เตอร์

การคำนวณครึ่งชีวิตของไอโซโทปกัมมันตรังสี

ค่าครึ่งชีวิต (t1/2หมายถึง เวลาที่นิวเคลียสของธาตุกัมมันตรังสี สลายตัวจนเหลือครึ่งหนึ่งของปริมาณเดิม ค่าครึ่งชีวิตจะคงที่ไม่ว่าธาตุนั้นจะอยู่ในรูปธาตุ หรือ เป็นสารประกอบ

ตัวอย่าง

Na-24 มีครึ่งชีวิต 15 ชั่วโมง ถ้าเริ่มต้นมี Na-24 10 กรัม นานกี่ชั่วโมง จึงเหลือ Na-24 2.5 กรัม

ดังนั้น ต้องใช้เวลานาน 30 ชั่วโมง

อาจใช้สูตร

N subscript t space equals space N subscript 0 over 2 to the power of n space semicolon space 2.5 space equals space fraction numerator 10.0 over denominator 2 to the power of n end fraction

N0 = น้ำหนักเริ่มต้น , Nt = น้ำหนักสุดท้าย , n = จำนวนรอบ

ดังนั้น n = 2 …. แสดงว่าต้องใช้เวลา 2 รอบ (30 ชม.)


ปฏิกิริยานิวเคลียร์

เป็นปฏิกิริยาที่มีการเปลี่ยนแปลงในนิวเคลียสของธาตุไอโซโทปกัมมันตรังสี มี 2 ประเภท

ปฏิกิริยาฟิชชัน

เป็นปฏิกิริยาการแตกตัวของนิวเคลียสของอะตอมของธาตุหนัก หลังถูกยิงด้วยอนุภาคนิวตรอน ได้เป็นไอโซโทปของธาตุที่เบากว่า โดยแต่ละครั้งจะคายพลังงานออกมามหาศาล นอกจากนี้ยังได้นิวตรอนเกิดขึ้นด้วย ถ้านิวตรอนที่เกิดขึ้นใหม่ชนกับนิวเคลียสอื่น ๆ ก็จะเกิดปฏิกิริยาฟิชชันต่อเนื่องไปเป็นลูกโซ่ เรียกว่า ปฏิกิริยาลูกโซ่ ดังเช่น

ระเบิดปรมาณู

ปฏิกิริยาฟิวชัน

เป็นปฏิกิริยาที่นิวเคลียสของอะตอมของธาตุเบาสองชนิดหลอมรวมกัน เกิดเป็นนิวเคลียสใหม่ที่มีมวลสูงกว่าเดิม และให้พลังงานปริมาณมาก เช่น

H presubscript 1 presuperscript 2 space plus space H presubscript 1 presuperscript 3 space space rightwards arrow space space He presubscript 2 presuperscript 4 space plus space n presubscript 0 presuperscript 1 space plus space พล ั งงาน

ปฏิกิริยาฟิวชันต้องใช้พลังงานเริ่มต้นสูงมาก เพื่อเอาชนะแรงผลักของนิวเคลียสที่จะเข้ารวมกัน ซึ่งปฏิกิริยาฟิวชันจะให้พลังงานจำนวนมากด้วยเช่นกัน


ประโยชน์ของธาตุกัมมันตรังสี

ด้านธรณีวิทยา

ใช้คาร์บอน-14 ซึ่งมีครึ่งชีวิต 5,730 ปี ในการคำนวณอายุของวัตถุโบราณที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ โดยวัดอัตราส่วนของคาร์บอน-12 ต่อคาร์บอน-14 และอัตราการสลายของคาร์บอน-14

ด้านการแพทย์

ใช้เพื่อศึกษาความผิดปกติของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย โดยให้คนไข้รับประทานอาหาร/ยาที่มีไอโซโทปกัมมันตรังสี แล้วใช้เครื่องตรวจสอบรังสี เพื่อติดตามการทำงานของอวัยะต่าง ๆ เช่น ไอโอดีน-131 ใช้ติดตามดูการทำงานของต่อมไธรอยด์ ไอโอดีน-132 ใช้ติดตามภาพการทำงานของสมอง โซเดียม-24 ใช้ติดตามดูระบบไหลเวียนของเลือด โคบอลต์-60 ใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง ที่เรียกว่า รังสีรักษา

ด้านเกษตรกรรม

ใช้รังสีเพื่อปรับปรุงพันธุกรรมของเมล็ดพันธุ์พืชให้เกิดผลผลิตสูง รังสียังใช้ในการศึกษาผลของปุ๋ยต่อต้นพืช เช่น ตรวจวัดปริมาณของฟอสเฟตบนใบพืช หรือศึกษาชนิดยาเพื่อใช้ฆ่าวัชพืช

ด้านอุตสาหกรรม

ใช้รังสีในการหารอยแตก รอยรั่วของชิ้นงาน หรือท่อขนส่งของเหลว ใช้ทำให้อัญมณีเปลี่ยนสี

ด้านการถนอมอาหาร

ใช้โคบอลต์-60 ผ่านไปในอาหาร เพื่อให้เก็บไว้ได้นานขึ้น โดยจะเข้าไปทำลายเชื้อแบคทีเรีย


โทษของธาตุกัมมันตรังสี

ถึงแม้โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ มีข้อดีกว่าโรงไฟฟ้าถ่านหิน เนื่องจากไม่เกิดมลพิษทางอากาศใด ๆ และไม่ก่อให้เกิดปัญหาฝนกรด แต่ก็มีข้อเสียอยู่บางประการ เช่น ปัญหาการกำจัดกากกัมมันตรังสี ความร้อนจากเตาปฏิกรณ์ทำให้บรรยากาศบริเวณข้างเคียงร้อนขึ้น และมีรังสีรั่วสู่สิ่งแวดล้อมแม้ว่าจะมีการป้องกันอย่างมาก และมีโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุซึ่งจะแพร่กระจายรังสีออกสู่สิ่งแวดล้อม โดยจะไปทำการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด