อะตอมและสมบัติของธาตุ
วิวัฒนาการของแบบจำลองอะตอม
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สัญลักษณ์นิวเคลียร์ของธาตุ และอนุภาคในอะตอมและไอโซโทป
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
100%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
หมู่ คาบ ความเป็นโลหะ อโลหะ และกึ่งโลหะ ของธาตุในตารางธาตุ
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
100%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สมบัติของธาตุเรพรีเซนเททีฟตามหมู่และคาบ
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
100%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สมบัติของธาตุโลหะแทรนซิชัน และเปรียบเทียบสมบัติกับธาตุโลหะในกลุ่มธาตุเรพรีเซนเททีฟ
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ค่าครึ่งชีวิต สมบัติของไอโซโทปกัมมันตรังสี และผลกระทบธาตุต่อสิ่งแวดล้อม
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
100%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
100%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย

หมู่ คาบ ความเป็นโลหะ อโลหะ และกึ่งโลหะ ของธาตุในตารางธาตุ

ยอดวิว 12.5k

แบบฝึกหัด

EASY

หมู่ คาบ ความเป็นโลหะ อโลหะ และกึ่งโลหะ ของธาตุในตารางธาตุ

MEDIUM

หมู่ คาบ ความเป็นโลหะ อโลหะ และกึ่งโลหะ ของธาตุในตารางธาตุ

HARD

หมู่ คาบ ความเป็นโลหะ อโลหะ และกึ่งโลหะ ของธาตุในตารางธาตุ

เนื้อหา

  1. วิวัฒนาการของการสร้างตารางธาตุ

ในปี พ.ศ. 2360 โยฮันน์ โวล์ฟกัง เดอเบอไรเนอร์ (Johann Wolfgang Debereiner) นักเคมีคนแรก ที่พยายามจัดธาตุเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3 ธาตุ ตามมวลอะตอม เรียกว่า ชุดสาม (Triads) พบว่า

ธาตุกลาง จะมีมวลอะตอมเป็นค่าเฉลี่ยของมวลอะตอมของอีกสองธาตุที่เหลือ

เช่น

Na มีมวลอะตอม 23.0 เป็นธาตุกลางระหว่าง Li และ K ซึ่งมีมวลอะตอม 6.0 และ 39.1 ตามลำดับ แต่ไม่สามารถใช้กับบางธาตุได้

หลักชุดสามของ เดอเบอไรเนอร์ จึงไม่เป็นที่ยอมรับในเวลาต่อมา


พ.ศ. 2407 จอห์น นิวแลนด์ (John Newlands) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ เสนอ กฎการจัดธาตุเป็นหมวดหมู่ (กฎออกเตต) ถ้าเรียงธาตุตามมวลอะตอมจากน้อยไปมาก พบว่า

ธาตุตัวที่ 8 จะมีสมบัติคล้ายคลึงกับธาตุตัวที่ 1 เสมอ (ไม่รวมไฮโดรเจนและแก๊สมีสกุล)

เช่น

ถ้าธาตุที่ 1 คือ Li ธาตุที่ 8 จะเป็น Na

ดังนี้

table row Li Be B C N cell table row O end table table row F end table end cell row Na Mg Al Si P cell S space table row Cl end table end cell row K Ca blank blank blank blank end table

การจัดเรียงนี้สามารถใช้ได้ถึง Ca เท่านั้น กฎนี้ไม่สามารถอธิบายได้ว่าเพราะเหตุใดมวลอะตอมจึงเกี่ยวกับสมบัติที่คล้ายคลึงกัน ทำให้ไม่เป็นที่ยอมรับในเวลาต่อมา


ปี พ.ศ. 2412 ยูลิอุส โลทาร์ ไมเออร์ (Julius Lothar Meyer) นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน และดิมิทรี เมนเดเลเอฟ (Dimitri Mendeleev) นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซีย เสนอว่า ถ้าเรียงธาตุตามมวลอะตอมจากน้อยไปมาก จะพบว่า

ธาตุมีสมบัติคล้ายกันเป็นช่วง ๆ เรียกว่า กฎพีริออดิก (Periodic Law)

การจัดเรียงของเมนเดเลเอฟ ไม่ได้เรียงตามมวลอะตอมอย่างเดียว แต่นำสมบัติที่คล้ายกันของธาตุมาพิจารณาด้วย และเว้นช่องว่างสำหรับธาตุที่ยังไม่ค้นพบ

เช่น

ในช่วงเวลานั้นยังไม่มีการค้นพบธาตุ ให้ชื่อว่า เอคา-ซิลิคอน

ซึ่งต่อมาได้ค้นพบเจอร์เมเนียม (Ge) ซึ่งมีสมบัติใกล้เคียงกับที่ทำนายไว้ แต่เมนเดเลเอฟไม่สามารถอธิบายได้ว่าเพราะเหตุใดจึงจัดเรียงตามมวลอะตอม


ปี พ.ศ. 2456 เฮนรี โมสลีย์ (Henry Moseley) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ เสนอให้จัดเรียงธาตุตามเลขอะตอม เนื่องจากสมบัติต่าง ๆ ของธาตุมีความสัมพันธ์กับประจุบวกในนิวเคลียสหรือเลขอะตอมมากกว่ามวลอะตอม ซึ่ง

ตารางธาตุในปัจจุบันได้เรียงตามเลขอะตอมจากน้อยไปมาก

ในการแสดงเลขหมู่ของตารางธาตุ มี 2 ระบบที่แตกต่างกัน คือ

  1. ระบบที่กำหนดหมู่ด้วยเลขโรมันและกำกับด้วยตัวอักษร A และ B 
  2. ระบบที่กำหนดโดยสหภาพเคมีบริสุทธิ์และเคมีประยุกต์ระหว่างประเทศ (International Union of Pure and Applied Chemistry, IUPAC) ซึ่งกำหนดหมู่ของธาตุด้วยตัวเลขอารบิกทั้งหมด ตั้งแต่หมู่ 1 ถึง 18

ดังรูป

ธาตุที่อยู่ในแนวตั้งเดียวกันเรียกว่า หมู่ (Group) และธาตุที่อยู่ในแนวนอนเดียวกัน เรียกว่า คาบ (Period)

รูปตารางธาตุในปัจจุบัน


  1. กลุ่มของธาตุในตารางธาตุ

การแบ่งธาตุตามสมบัติความเป็นโลหะ

สามารถแบ่งได้ 3 กลุ่ม คือ

  1. ธาตุโลหะ (Metal) ธาตุที่นำไฟฟ้าและนำความร้อนได้ดี
  2. ธาตุกึ่งโลหะ (Metalloid) ธาตุที่นำไฟฟ้าได้ไม่ดีที่อุณหภูมิห้อง แต่จะนำได้ดีขึ้นเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น
  3. ธาตุอโลหะ (Nonmetal) ธาตุที่ไม่นำไฟฟ้า
ธาตุโลหะอยู่ทางด้านซ้ายของตารางธาตุ
ธาตุกึ่งโลหะอยู่บริเวณขั้นบันได
ธาตุอโลหะจะอยู่ด้านขวาของตารางธาตุ

การแบ่งธาตุตามการจัดเรียงอิเล็กตรอนในออร์บิทัล s p d และ f ที่มีพลังงานสูงสุดและมีอิเล็กตรอนบรรจุอยู่

แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ (แสดงดังรูป)

  1. ธาตุกลุ่ม s (หมู่ IA และ IIA หรือ หมู่ 1 และ 2)
  2. ธาตุกลุ่ม p (หมู่ IIIA ถึง VIIIA หรือ หมู่ 13 ถึง 18 ยกเว้น He)
  3. ธาตุกลุ่ม d (หมู่ IB ถึง VIIIB หรือ หมู่ 3 ถึง 12)
  4. ธาตุกลุ่ม f (กลุ่มธาตุที่อยู่ด้านล่างของตารางธาตุ ที่แยกมาจากหมู่ที่ IIIB คาบ 6 และ 7 หรือเรียกว่า Lanthanide Series และ Actinide Series)

รูปตำแหน่งธาตุตามระดับพลังงาน


เอกสารอ้างอิง

  1. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ, 2562, เคมี เล่ม 1, ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.