อะตอมและสมบัติของธาตุ
วิวัฒนาการของแบบจำลองอะตอม
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สัญลักษณ์นิวเคลียร์ของธาตุ และอนุภาคในอะตอมและไอโซโทป
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
100%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
หมู่ คาบ ความเป็นโลหะ อโลหะ และกึ่งโลหะ ของธาตุในตารางธาตุ
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
100%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สมบัติของธาตุเรพรีเซนเททีฟตามหมู่และคาบ
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
100%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สมบัติของธาตุโลหะแทรนซิชัน และเปรียบเทียบสมบัติกับธาตุโลหะในกลุ่มธาตุเรพรีเซนเททีฟ
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ค่าครึ่งชีวิต สมบัติของไอโซโทปกัมมันตรังสี และผลกระทบธาตุต่อสิ่งแวดล้อม
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
100%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
100%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย

วิวัฒนาการของแบบจำลองอะตอม

ยอดวิว 41.8k

แบบฝึกหัด

EASY

วิวัฒนาการของแบบจำลองอะตอม

MEDIUM

วิวัฒนาการของแบบจำลองอะตอม

HARD

วิวัฒนาการของแบบจำลองอะตอม

เนื้อหา

  1. แนวคิดอะตอมของดิโมคริตุส

ในสมัยกรีกโบราณ ดิโมคริตุส (Democritus) นักปราชญ์ชาวกรีก เสนอแนวคิด

ถ้าแบ่งสิ่งต่าง ๆ ให้มีขนาดเล็กลงเรื่อย ๆ จะได้หน่วยที่ไม่สามารถแบ่งได้อีก เรียกหน่วยย่อยนี้ว่า อะตอม

  1. แบบจำลองอะตอมของดอลตัน

ทฤษฎีอะตอมของดอลตัน

  • ธาตุประกอบด้วยอนุภาคที่เล็กที่สุด เรียกว่า อะตอม ซึ่งแบ่งแยกและทำให้สูญหายไม่ได้

  • อะตอมของธาตุชนิดเดียวกัน มีสมบัติเหมือนกัน แต่จะแตกต่างจากอะตอมของธาตุอื่น

  • สารประกอบเกิดจากอะตอมของธาตุมากกว่าหนึ่งชนิดทำปฏิกิริยาเคมีกันในอัตราส่วนที่เป็นเลขลงตัวน้อย ๆ

  • สารประกอบเกิดจากการรวมตัวของอะตอมของธาตุตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปด้วยสัดส่วนที่คงที่

รูป แบบจำลองอะตอมของดอลตัน (มีลักษณะเป็นทรงกลมตัน)

  1. แบบจำลองอะตอมของทอมสัน

ได้ทำการทดลองเกี่ยวกับการนำไฟฟ้าของแก๊สในหลอดรังสีแคโทด พบว่ามีรังสีออกจากขั้วแคโทดไปยังขั้วแอโนด เรียกว่า รังสีแคโทด เมื่อรังสีแคโทดเคลื่อนที่ผ่านสนามไฟฟ้า จะเบนเข้าหาขั้วบวกของสนามไฟฟ้า แสดงว่า

รังสีแคโทด ประกอบด้วย อนุภาคที่มีประจุลบ

และสามารถคำนวณอัตราส่วนของประจุต่อมวล (e/m) ของรังสีแคโทดได้ พบว่าอัตราส่วนประจุต่อมวลของรังสีแคโทดมีค่าเท่ากับ 1.76×108 คูลอมบ์ต่อกรัม (C/g) ทุกครั้ง โดยเปลี่ยนชนิดของแก๊สและโลหะที่ใช้ทำขั้วแคโทด

สรุปว่า อะตอมทุกชนิดมีอนุภาคที่มีประจุลบ (รังสีแคโทด) เป็นองค์ประกอบ และต่อมาเรียกอนุภาคนี้ว่า อิเล็กตรอน (Electron)

จึงเสนอแบบจำลองอะตอมว่า

"อะตอมมีลักษณะเป็นทรงกลม ซึ่งมีประจุไฟฟ้าเป็นบวก และมีอิเล็กตรอนซึ่งมีประจุไฟฟ้าเป็นลบกระจายอย่างสม่ำเสมออยู่บนพื้นผิว และมีจำนวนประจุลบเท่ากับประจุบวก ทำให้อะตอมเป็นกลางทางไฟฟ้า"

รูป แบบจำลองอะตอมของทอมสัน

  1. แบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด

ได้ทดลอง ยิงอนุภาคแอลฟา ซึ่งได้จาการสลายตัวของอะตอมฮีเลียมไปยังแผ่นทองคำบาง ๆ และมีฉากเรืองแสงที่เคลือบด้วยซิงค์ซัลไฟด์ล้อมรอบโค้งเป็นวงกลม เพื่อตรวจจับอนุภาคแอลฟา พบว่า

อนุภาคส่วนใหญ่ทะลุผ่านแผ่นทองคำเป็นเส้นตรง มีจำนวนน้อยที่เบนไปจากแนวเส้นตรง และมีจำนวนน้อยมากที่สะท้อนกลับไปบริเวณด้านหน้าแผ่นทองคำ

จึงเสนอแบบจำลองอะตอมใหม่ว่า

"อะตอมประกอบด้วยนิวเคลียสที่มีขนาดเล็กมาก มีมวลมาก และมีประจุไฟฟ้าเป็นบวกอยู่ภายใน โดยมีอิเล็กตรอนเคลื่อนที่อยู่รอบ ๆ นิวเคลียส พื้นที่อะตอมส่วนใหญ่เป็นที่ว่าง"


รูป แบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด

  1. แบบจำลองอะตอมของโบร์

จากการศึกษาสเปกตรัมของธาตุไฮโดรเจน ทำให้ทราบว่า

อะตอมของไฮโดรเจนมีเพียง 1 อิเล็กตรอน แต่อะตอมของไฮโดรเจนมีระดับพลังงานหลายระดับ

แสดงว่า อิเล็กตรอนของอะตอมไฮโดรเจนไปอยู่ในสถานะกระตุ้นที่ระดับพลังงานแตกต่างกันได้หลายระดับ (อิเล็กตรอนไม่ได้อยู่วงเดียว) และการปรากฏเป็นเส้นสเปกตรัมแสดงว่าอิเล็กตรอนในสถานะกระตุ้นกลับลงมาที่สถานะพื้น และคายพลังงานออกมามีค่าเฉพาะตัว

ทำให้ นีลล์ โบร์ (Niels Bohr) นักวิทยาศาสตร์ชาวเดนมาร์ก เสนอแบบจำลองอะตอมเพื่อใช้อธิบายพฤติกรรมของอิเล็กตรอนว่า

อิเล็กตรอนจะเคลื่อนที่รอบนิวเคลียส เป็นวงคล้ายกับวงโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์ แต่ละวงมีระดับพลังงานเฉพาะตัว โดยแต่ละระดับพลังงานจะมีอิเล็กตรอนบรรจุ คือ 2n2 (n คือ ระดับพลังงาน โดยที่ n = 1, 2, 3...)
เพิ่มเติม อิเล็กตรอนเคลื่อนที่อยู่รอบนิวเคลียสเป็นชั้น ๆ เรียกว่า ระดับพลังงาน (n) มี 7 ชั้น จากวงในไปยังวงนอก อิเล็กตรอนวงใน (n=1) มีพลังงานต่ำที่สุด วงนอกสุดมีพลังงานมากที่สุด


รูป แบบจำลองอะตอมของโบร์

  1. แบบจำลองอะตอมแบบกลุ่มหมอก

เนื่องจากแบบจำลองอะตอมของโบร์จะอธิบายอะตอมของธาตุไฮโดรเจนซึ่งมีเพียง 1 อิเล็กตรอนได้เท่านั้น แต่ไม่สามารถอธิบายสเปกตรัมของอะตอมที่มีหลายอิเล็กตรอนได้

นักวิทยาศาสตร์ จึงใช้ความรู้ทางกลศาสตร์ควอนตัมสร้างสมการคำนวณหาโอกาสที่จะพบอิเล็กตรอนในระดับพลังงานต่าง ๆ พบว่า

อิเล็กตรอนเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วไม่สามารถบอกตำแหน่งที่แน่นอนของอิเล็กตรอนได้ แต่บอกโอกาสที่พบอิเล็กตรอนบางบริเวณได้เท่านั้น

 จึงเสนอว่า

อะตอม มีลักษณะเป็น กลุ่มหมอกอิเล็กตรอน (Electron Cloud) รอบนิวเคลียส บริเวณที่กลุ่มหมอกทึบแสดงว่ามีโอกาสพบอิเล็กตรอนได้มากกว่าบริเวณกลุ่มหมอกจาง เรียกว่า แบบจำลองอะตอมแบบกลุ่มหมอก


รูป แบบจำลองอะตอมแบบกลุ่มหมอก

เอกสารอ้างอิง

  1. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ, 2562, เคมี เล่ม 1, ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
  2. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ, 2556, เคมี เล่ม 1, องค์การค้าของ สกสค., กรุงเทพฯ.