อะตอมและสมบัติของธาตุ
วิวัฒนาการของแบบจำลองอะตอม
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สัญลักษณ์นิวเคลียร์ของธาตุ และอนุภาคในอะตอมและไอโซโทป
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
100%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
หมู่ คาบ ความเป็นโลหะ อโลหะ และกึ่งโลหะ ของธาตุในตารางธาตุ
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
100%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สมบัติของธาตุเรพรีเซนเททีฟตามหมู่และคาบ
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
100%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สมบัติของธาตุโลหะแทรนซิชัน และเปรียบเทียบสมบัติกับธาตุโลหะในกลุ่มธาตุเรพรีเซนเททีฟ
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ค่าครึ่งชีวิต สมบัติของไอโซโทปกัมมันตรังสี และผลกระทบธาตุต่อสิ่งแวดล้อม
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
100%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
100%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย

การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม

ยอดวิว 7.6k

แบบฝึกหัด

EASY

การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม

MEDIUM

การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม

HARD

การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม

เนื้อหา

  1. จำนวนอิเล็กตรอนในแต่ละระดับพลังงาน

อิเล็กตรอนเคลื่อนที่อยู่รอบนิวเคลียสมีลักษณะเป็นชั้น ๆ แต่ละชั้นเรียกว่า ระดับพลังงาน และในแต่ละระดับพลังงานมีจำนวนอิเล็กตรอนไม่เท่ากัน

  • ระดับพลังงานที่ 1 มีอิเล็กตรอนมากสุด 2 อิเล็กตรอน
  • ระดับพลังงานที่ 2 มีอิเล็กตรอนมากสุด 8 อิเล็กตรอน
  • ระดับพลังงานที่ 3 มีอิเล็กตรอนมากสุด 18 อิเล็กตรอน
ซึ่ง จำนวนอิเล็กตรอนมากสุดในแต่ละระดับพลังงาน คือ 2n2 เมื่อ n คือ ระดับพลังงาน

  1. ระดับพลังงานหลักและระดับพลังงานย่อย

การคายพลังงานของอิเล็กตรอน

นอกจากจะเกิดจากการคายพลังงานในระดับพลังงานหลัก (Principle Energy Level หรือ Shell) ซึ่ง แทนด้วย n แล้ว

ยังมีการคายพลังงานของอิเล็กตรอนในระดับพลังงานย่อย (Energy Sublevel หรือ Subshell) ของแต่ละระดับพลังงานหลักด้วย

  • ระดับพลังงานหลักที่ 1 (n = 1) มี 1 ระดับพลังงานย่อย คือ s
  • ระดับพลังงานหลักที่ 2 (n = 2) มี 2 ระดับพลังงานย่อย คือ s p
  • ระดับพลังงานหลักที่ 3 (n = 3) มี 3 ระดับพลังงานย่อย คือ s p d
  • ระดับพลังงานหลักที่ 4 (n = 4) มี 4 ระดับพลังงานย่อย คือ s p d f

  1. ออร์บิทัล

ออร์บิทัล คือ บริเวณรอบนิวเคลียสซึ่งมีโอกาสที่จะพบอิเล็กตรอน และมีพลังงานเฉพาะ
  • ระดับพลังงานย่อย s มี 1 ออร์บิทัล
  • ระดับพลังงานย่อย p มี 3 ออร์บิทัล
  • ระดับพลังงานย่อย d มี 5 ออร์บิทัล
  • ระดับพลังงานย่อย f มี 7 ออร์บิทัล

จำนวนอิเล็กตรอนสูงสุดในแต่ละระดับพลังงานย่อย s p d และ f มีค่าเท่ากับ 2 6 10 และ 14 ตามลำดับ

เนื่องจาก พลังงานย่อย s p d และ f มี 1 3 5 และ 7 ออร์บิทัล ตามลำดับ

แสดงว่า

1 ออร์บิทัลบรรจุได้ 2 อิเล็กตรอน

  1. หลักการจัดเรียงอิเล็กตรอน

หลักอาฟบาว (Aufbau Principle) กล่าวว่า

การบรรจุอิเล็กตรอนในออร์บิทัลจะต้องบรรจุในออร์บิทัลที่มีพลังงานต่ำกว่าก่อน

ดังรูป

สามารถเรียงระดับพลังงานได้ ดังนี้

1s 2s 2p 3s 3p 4s 3d 4p 5s 4d 5p 6s 4f 5d 6p 7s 5f 6d 7p …

ไฮโดรเจนมี 1 อิเล็กตรอน สามารถเขียนสัญลักษณ์แสดงการจัดอิเล็กตรอนได้ ดังนี้

ตัวอย่าง การจัดเรียงอิเล็กตรอนของธาตุบางธาตุ

ธาตุ

จำนวนอิเล็กตรอน

การจัดเรียงอิเล็กตรอน

He

2

1s2


Li

3

1s2 2s1

[He] 2s1

F

9

1s2 2s2 2p5

[He] 2s2 2p5

Ne

10

1s2 2s2 2p6

[He] 2s2 2p6

Na

11

1s2 2s2 2p3s1

[Ne] 3s1

หมายเหตุ       [He] แทนการจัดเรียงอิเล็กตรอนของธาตุฮีเลียม คือ 1s2

                   [Ne] แทนการจัดเรียงอิเล็กตรอนของธาตุนีออน คือ 1s2 2s2 2p6


เวเลนซ์อิเล็กตรอน คือ อิเล็กตรอนที่อยู่ในระดับพลังงานหลักสูงสุดหรือชั้นนอกสุดของอะตอม

เช่น

Be มีการจัดเรียงอิเล็กตรอน 1s2 2sมีจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 2 (2s2)
F มีการจัดเรียงอิเล็กตรอน 1s2 2s2 2p5  มีจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 7 (2s2 2p5)

การจัดเรียงอิเล็กตรอนบางธาตุไม่เป็นไปตามหลักการข้างต้น

เช่น

Cr มีเลขอะตอม 24 การจัดเรียงอิเล็กตรอนคือ 1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 4s1 3d(ไม่ใช่ 4s2 3d4)
Cu มีเลขอะตอม 29 การจัดเรียงอิเล็กตรอนคือ 1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 4s1 3d10 (ไม่ใช่ 4s2 3d9)


ธาตุที่ได้รับหรือเสียอิเล็กตรอนสามารถเขียนการจัดเรียงอิเล็กตรอนได้

ดังนี้

  1. กรณีรับอิเล็กตรอน ให้บรรจุอิเล็กตรอนตามหลักอาฟบาว

N : 1s2 2s2 2p3
N3- : 1s2 2s2 2p(รับเพิ่ม 3 อิเล็กตรอน)
Cl : 1s2 2s2 2p3s2 3p5
Cl- : 1s2 2s2 2p3s2 3p(รับเพิ่ม 1 อิเล็กตรอน)
  1. กรณีเสียอิเล็กตรอน ให้บรรจุตามปกติก่อน จากนั้นจึงนำอิเล็กตรอนที่อยู่ชั้นนอกสุดออก

Al : 1s2 2s2 2p6 3s3p1
Al3+ : 1s2 2s2 2p(เสีย 3 อิเล็กตรอน)
Fe : 1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 4s2 3d6
Fe2+ : 1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 3d(เสีย 2 อิเล็กตรอน)
ไม่ใช่ 1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 4s3d4

เอกสารอ้างอิง

  1. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ, 2562, เคมี เล่ม 1, ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.