ฟิสิกส์อนุภาคและอนุภาคมูลฐาน

ยอดวิว 0

แบบฝึกหัด

EASY

ฟิสิกส์อนุภาคและอนุภาคมูลฐาน Pre-test

EASY

ฟิสิกส์อนุภาคและอนุภาคมูลฐาน Post-test

HARD

ฟิสิกส์อนุภาคและอนุภาคมูลฐาน

เนื้อหา

ไอโซโทปและแมสสเปกโตร
มิเตอร์

ในกรณีที่ธาตุมีจำนวนโปรตอนเท่ากัน แต่มีจำนวนนิวตรอนต่างกันจะเรียกว่า ไอโซโทป (isotope) เช่น ไอโซโทป blank subscript space space 6 end subscript superscript 13 C มีเพียง 1.1% ในธรรมชาติเท่านั้น  

คำศัพท์ที่มักพบในเรื่องฟิสิกส์นิวเคลียร์ได้แก่

  • นิวคลีออน คือ อนุภาคที่อยู่ในนิวเคลียส(โปรตอน นิวตรอน)
  • ไอโซโทป คือธาตุที่จำนวนโปรตอนเท่ากัน
  • ไอโซโทน คือธาตุที่จำนวนนิวตรอนเท่ากัน
  • ไอโซบาร์ คือธาตุที่เลขมวลเท่ากัน สมบติทางเคมีจะเหมือนกันสำหรับไอโซโทปของธาตุเดียวกัน ที่ต่างกันมวลไม่เท่ากัน เนื่องจากจำนวนนิวตรอนในนิวเคลียสไม่เท่ากัน ดังนั้นเราไม่สามารถใช้กระบวนการทางเคมีในการแยกแยะไอโซดทปของธาตุออกจากกันได้ ในทางฟิสิกส์เมื่อเครื่องมือที่เรียกว่า mass spectrometer


เมื่อเราปล่อยไอโซโทปของธาตุเข้าไปในบริเวณที่มีสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้า ตรงทางออกจะมีช่องเพื่อให้ไอออนเข้าไปในบริเวณที่มีสนามแม่เหล็กการที่ไอออนจะเข้าไปในสนามแม่เหล็กได้ ลำของไอออนจะต้องมีความเร็วเท่ากันค่าหนึ่งเป็นเส้นตรง นั่นคือแรงแม่เหล็กับแรงไฟฟ้าต้องสมดุลกัน

แรงแม่เหล็กที่กระทำต่ออนุภาคสามารถคำนวณได้จาก

stack F ⃑ with rightwards harpoon with barb upwards on top equals q v ⃑ cross times B with rightwards harpoon with barb upwards on top

โดยทิศของแรงจะสามารถหาได้จากกฎมือขวา แรงแม่เหล็กจะตั้งฉากกับทั้งความเร็วและสนามแม่เหล็ก ในกรณีที่เราต้องคำนวณขนาดของแรงแม่เหล็ก จะคำนวณจาก

F equals q v B sin theta
  • เมื่อ theta คือมุมระหว่างเวคเตอร์ความเร็วกับสนามแม่เหล็ก
  


F subscript B equals F subscript E
q v B equals q E
v equals E over B

จะได้ว่าอัตราเร็ว v ดังกล่าวจะมีค่าเท่ากับอัตราส่วนขนาดสนามไฟฟ้า E ต่อสนามแม่เหล็ก  และเมื่อเข้าไปสู่บริเวณที่มีแต่สนามแม่เหล็ก B จะเกิดการเคลื่อนที่เป็นวงกลมโดยมีแรงแม่เหล็กเป็นแรงเข้าสู่ศูนย์กลาง ถ้าเรากำหนดให้ สนามแม่เหล็กบริเวณที่ 1 มีขนาด B subscript 1 และสนามแม่เหล็กบริเวณที่ 2 มีขนาด B subscript 2 ไอออนมีประจุ  q มีมวล

เราจะสามารถคำนวณรัศมีในการเคลื่อนที่ R ได้ว่า

R equals fraction numerator m v over denominator q B subscript 2 end fraction equals fraction numerator m E over denominator q B subscript 1 B subscript 2 end fraction

จากสมการ จะเห็นว่าค่าของรัศมีจะขึ้นอยู่กับมวล ดังนั้นอนุภาคที่เคลื่อนที่เข้ามาในเครื่องโดยมีอัตราเร็วเท่ากันแต่มีมวลต่างกัน จะเคลื่อนที่เป็นวงกลมด้วยรัศมีต่างกัน

อนุภาคมูลฐานเบื้องต้น

องค์ประกอบเบื้องต้นของวัตถุ

โมเลกุล ประกอบด้วยอะตอม ซึ่งเป็นหน่วยพื้นฐานทางเคมีของธาตุ อะตอมประกอบด้วยอนุภาคย่อยลงไปอีก คือ โปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอน และโปรตอนกับนิวตรอน ก็ยังประกอบด้วยอนุภาคที่เล็กลงไปอีก เรียกว่า คว้าก (quark) ปัจจุบัน เชื่อกันว่าวัตถุประกอบด้วยอนุภาคพื้นฐาน 2 อย่าง คือ คว้าก กับเลปตอน (lepton) ซึ่งอิเล็กตรอน ก็เป็นเลปตอนชนิดหนึ่ง

ปัจจุบันเชื่อว่า ทั้งคว้ากและเลปตอน แบ่งออกเป็น 6 ชนิด แต่ละชนิด ยังมีปฏิอนุภาค (antiparticle) ซึ่งเป็นอนุภาคแบบเดียวกัน มีมวลเท่ากัน แต่มีประจุไฟฟ้า และโมเมนต์แม่เหล็กตรงข้ามกัน
ปัจจุบันยังไม่พบคว้ากที่เป็นอิสระ แต่จะพบรวมกันเป็น 2 หรือ 3 อนุภาค กับ quark หรือ antiquark อื่น เป็นอนุภาคที่เรียกว่า hadrons ซึ่งพบแล้วมากกว่า 200 ชนิด มี 2 ทฤษฎี ที่ทำนายถึงการมีอนุภาคที่มี 5 quark เรียกว่า pentaquark ซึ่งสามารถผลิตขึ้นได้แล้ว ในห้องปฏิบัติการ ส่วนอนุภาคที่ประกอบด้วย 4 และ 6 quark มีทฤษฎีที่ทำนายไว้เช่นกัน แต่ยังไม่มีการตรวจพบ
  • lepton ที่รู้จักกันมากที่สุด คือ อิเล็กตรอน ส่วนอีก 5 ชนิด ได้แก่ muon, อนุภาค tau, และนิวตริโน (neutrino) อีก 3 ชนิด คือ electron neutrino, muon neutrino และ tau neutrino
  • quark 6 ชนิด มีการตั้งชื่อกันไว้แปลกๆ คือ up, down, charm, strange, top (truth), และ bottom (beauty)
  • top quark เป็นอนุภาคที่มีมวลมากกว่าอะตอมของทอง และมีน้ำหนัก มากกว่าอนุภาคตัวถัดมาประมาณ 35 เท่า ซึ่งอาจเป็นอนุภาคที่หนักที่สุด ที่มีในธรรมชาติ quark ที่พบในวัตถุทั่วๆ ไป คือ quark นิด up และ down ซึ่งเป็นองค์ประกอบของโปรตอนกับนิวตรอน โดยโปรตอนประกอบด้วย 2 up quark กับ 1 down quark ส่วนนิวตรอนประกอบด้วย 1 up quark กับ 2 down quark pentaquark ประกอบด้วย 2 up quark 2 down quark กับ 1 strange quark (quark มีประจุเป็น 1/3 หรือ 2/3 ของประจุมูลฐานของอิเล็กตรอน หรือโปรตอน)