กัมมันตภาพรังสี (1)

ยอดวิว 0

แบบฝึกหัด

EASY

กัมมันตภาพรังสี (1) (ชุดที่ 1) Pre test

EASY

กัมมันตภาพรังสี (1) (ชุดที่ 2) Post test

HARD

กัมมันตภาพรังสี (1) (ชุดที่ 3) Post test

เนื้อหา

กัมมันตภาพรังสี

ในนิวเคลียสของธาตุจะประกอบด้วย นิวตรอน (neutron) และ โปรตอน (proton) แต่ก็มีกรณีพิเศษอย่างธาตุไฮโดรเจนที่นิวเคลีนสมีเพียงโปรตอนเท่านั้น ในการเขียนสัญลักษณ์แทนนิวเคลียสของธาตุต่างๆ จะนิยมเขียนในรูปแบบ

blank subscript Z superscript A X

โดยที่ 

  • Z  คือ จำนวนโปรตอน   
  • N  คือ จำนวนนิวตรอน   
  • A equals Z plus N  คือ เลขมวล หรือจำนวนนิวตรอนรวมกับโปรตอน
ตัวอย่างเช่น  blank subscript 2 6 to the power of 5 6 F e comma subscript 6 superscript 1 2 C comma blank subscript 6 superscript 1 4 C เป็นต้น

ในกรณีที่ธาตุมีจำนวนโปรตอนเท่ากัน แต่มีจำนวนนิวตรอนต่างกันจะเรียกว่า ไอโซโทป (isotope) เช่น
ไอโซโทป blank subscript 6 superscript 1 3 C มีเพียง 1.1% ในธรรมชาติเท่านั้น  

คำศัพท์ที่มักพบในเรื่องฟิสิกส์นิวเคลียร์ได้แก่

  • นิวคลีออน คือ อนุภาคที่อยู่ในนิวเคลียส(โปรตอน นิวตรอน)
  • ไอโซโทป คือธาตุที่จำนวนโปรตอนเท่ากัน
  • ไอโซโทน คือธาตุที่จำนวนนิวตรอนเท่ากัน
  • ไอโซบาร์ คือธาตุที่เลขมวลเท่ากัน

        ในธรรมชาตินั้นประกอบด้วยธาตุที่เสถียรและธาตุที่ไม่เสถียร โดยธาตุที่ไม่เสถียรจะมีการสลายตัว และเกิดกัมมันตรังสี แบ่งได้เป็น 3 แบบ ได้แก่ สลายตัวเป็นกัมมัตรังสี แอลฟา บีตา และ แกมมา ธาตุที่สลายตัวและเกิดกัมมันตรังสี เรียกว่า ธาตุกัมมันตรังสี ส่วน กระบวนการที่เกิดการแผ่รังสีออกมาเรียกว่า กัมมันตภาพรังสี

รังสีแอลฟา alpha 

เป็นลำของอนุภาคที่เป็นนิวเคลียสของฮีเลียม โดยมีประจุไฟฟ้า +2e และมีมวลเท่ากับ
4 u (e = 1.6 x 10-19 C, u = 1.66 x 10-27 kg)
มักจะเกิดในธาตุหนักๆ ที่มีจำนวนโปรตอนและนิวตรอนมากเกินไป ตัวอย่างเช่น Radium 226 (blank subscript 88 superscript 226 R a) จะสลายตัวให้รังสีแอลฟา และเปลี่ยนเป็น radon-222 (blank subscript 86 superscript 222 R n)

เราสามารถเขียนสมการการสลายตัวได้เป็น

blank subscript 88 superscript 226 R a rightwards arrow subscript 86 superscript 222 R n plus subscript 2 superscript 4 H e

หรือสามารถเขียนในรูปทั่วไปได้เป็น

blank subscript Z superscript A X rightwards arrow subscript Z minus 2 end subscript superscript A minus 4 end superscript Y plus blank subscript 2 superscript 4 H e

รังสีบีตา beta 

เป็นลำของอนุภาคที่เป็นอิเล็กตรอนหรือโพซิตรอน ซึ่งมีสมบัติเหมือนอิเล็กตรอนแต่มีประจุ +1e โดยจำแนกได้ดังต่อไปนี้

อิเล็กตรอน

มีประจุ -1e การสลายตัวในโหมดนี้มักเกิดกับธาตุที่มีจำนวนนิวตรอนมากๆ เมื่อสลายตัวให้อิเล็กตรอนจะมีอนุภาคที่ไม่มีประจุคือ แอนตินิวตริโน(v with bar on top) ออกมาด้วย ตัวอย่างการสลายตัวของนิวตรอน

เราสามารถเขียนสมการการสลายตัวได้เป็น

n rightwards arrow p plus e to the power of minus plus v with bar on top

หรือสามารถเขียนในรูปทั่วไปได้เป็น

blank subscript Z superscript A X rightwards arrow subscript Z plus 1 end subscript superscript space space space space space space A end superscript Y plus e to the power of minus plus v with bar on top

โพซิตรอน

มีประจุ +1e การสลายตัวในโหมดนี้มักเกิดกับธาตุที่มีจำนวนโปรตอนมากๆ เมื่อสลายตัวให้อิโพซิตรอนจะมีอนุภาคที่ไม่มีประจุคือ นิวตริโน(v) ออกมาด้วย

ตัวอย่างเช่น

blank subscript 10 superscript 19 N e rightwards arrow subscript 9 superscript 19 F plus e to the power of plus plus nu

หรือสามารถเขียนในรูปทั่วไปได้เป็น

blank subscript Z superscript A X rightwards arrow subscript Z minus 1 end subscript superscript space space space space space A end superscript Y plus e to the power of plus plus nu

รังสีแกมมา gamma  

มีลักษณะที่ต่างการแอลฟาและบีตาคือ แกมมาจะเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีพลังงานสูง เกิดจากนิวเคลียสที่มีพลังงานมากเกินไป จึงมีการปลดปล่อยพลังงานออกมาจากนิวเคลียส

เราสามารถแยกแยะรังสีเหล่านี้ได้จากการที่รังสีผ่านเข้าไปในสนามแม่เหล็ก หรือ สนามไฟฟ้า โดยอนุภาคที่มีประจุอย่าง แอลฟากับบีตา จะเกิดอันตรกิริยากับสนามทำให้เกิดการเลี้ยวเบน และรังสีที่ไม่มีประจุอย่างแกมมาจะผ่านสนามไปโดยไม่เลี้ยวเบน ดังแสดงในรูปข้างล่าง

ปฏิกิริยานิวเคลียร์นั้นจะมีด้วยกันหลายรูปแบบ ได้แก่ 

  • การสลายตัว
  • การชนกันแล้วแตกตัว

หลักการในการพิจารณาปฏิกิริยานิวเคลียร์มีดังต่อไปนี้

  1. ผลรวมของเลขมวล(A)ก่อนเกิดปฏิกิริยา เท่ากับ ผมรวมเลขมวลหลังเกิดปฏิกิริยา
  2. ผลรวมของเลขอะตอม(Z)ก่อนเกิดปฏิกิริยา เท่ากับ ผมรวมเลขอะตอมหลังเกิดปฏิกิริยา

ปฏิกิริยานิวเคลียร์จะเขียนในรูปทั่วไปเป็น

X plus a rightwards arrow Y plus b

ซึ่งสามารถเขียนเป็นรูปย่อๆได้เป็น  

X left parenthesis a comma b right parenthesis Y

โดยที่  

  •  X  คือนิวเคลียสที่เป็นเป้า
  •  a  คืออนุภาคที่เข้าชนเป้า
  • Y  คือนิวเคลียสที่ได้มาหลังจากการแตกตัว
  •  b  คืออนุภาคที่ออกมาหลังเกิดปฏิกิริยา
ตัวอย่างเช่น  blank subscript space space 7 end subscript superscript 14 N plus subscript 2 superscript 4 H e rightwards arrow subscript space space 8 end subscript superscript 17 O plus blank subscript 1 superscript 1 H   
ซึ่งเขียนย่อได้เป็น blank subscript space space 7 end subscript superscript 14 N left parenthesis subscript 2 superscript 4 H e comma subscript 1 superscript 1 H right parenthesis blank subscript space space 8 end subscript superscript 17 O