ปฏิกิริยานิวเคลียร์และพลังงานนิวเคลียร์ (1)

ยอดวิว 0

แบบฝึกหัด

EASY

ปฏิกิริยานิวเคลียร์และพลังงานนิวเคลียร์ (1) (ชุดที่ 1) Pre test

EASY

ปฏิกิริยานิวเคลียร์และพลังงานนิวเคลียร์ (1) (ชุดที่ 2) Post test

HARD

ปฏิกิริยานิวเคลียร์และพลังงานนิวเคลียร์ (1) (ชุดที่ 3)

เนื้อหา

แรงนิวเคลียร์

ในธรรมชาติมีธาตุที่มีความเสถียรและไม่เสถียร ภายในนิวเคลียสจะประกอบด้วยแรงที่คอยยึดนิวคลีออนเอาไว้ด้วยกัน เรียกว่า แรงนิวเคลียร์ และ พลังงานที่ใช้ในการยึดนิวคลีออนในนิวเคลียสไว้ด้วยกันเรียกว่า พลังงานยึดเหนี่ยว (binding energy) ในการพูดถึงพลังงานในระดับอะตอมมักจะใช้หน่วย อิเล็กตรอนโวลต์ (eV)
โดยที่ 1 eV = 1.6 x 10-19 J เนื่องจากภายในนิวเคลียสประกอบด้วยโปรตอนที่มีประจุเป็นบวกอยู่ใกล้กันมากๆ ดังนั้น พลังงานที่ใช้จะต้องสูงมากๆ มีการประมาณค่าไว้ถึงขนาดรัศมีของนิวเคลียส (R)

R equals r subscript 0 space A to the power of 1 third end exponent

เมื่อ

  • r subscript 0 คือค่าคงที่ มีค่าเท่ากับ 1.2 x 10-15
  • A คือเลขมวล จากสูตรประมาณค่าจะเห็นได้ว่านิวเคลียสนั้นมีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับขนาดของอะตอม
    โดยขนาดของอะตอมจะอยูที่ประมาณ 10-10 m

เมื่อกล่าวถึง พลังงานยึดเหนี่ยว (binding energy) ที่มาของพลังงานนั้นมาจากที่ใด ลองพิจารณาจากนิวเคลียสของฮีเลียม blank subscript 2 superscript 4 H e จะเห็นว่า ฮีเลียมประกอบด้วย โปรตอน 2 ตัว และ นิวตรอน 2 ตัว เมื่อเราคิดค่ามวลของนิวคลีออนแต่ละตัวในหน่วย atomic unit, u = 1.66 x 10-27 kg หากเราเป็นค่ามวล 1 u เป็นพลังงาน

ตามทฤษฎีของไอน์สไตน์จะได้ว่า   

E equals m c squared equals 931.5 M e V
  • มวลของนิวตรอนสองตัว  = 2 m subscript n equals 2 left parenthesis 1.008665 u right parenthesis equals 2.017330 u
  • มวลของโปรตอนสองตัว  = 2 m subscript p equals 2 left parenthesis 1.007825 u right parenthesis equals 2.015650 u

จะเห็นว่า มวลรวม = 4.032980u แต่มวลตามธรรมชาติของฮีเลียมคือ 4.002603u ซึ่งน้อยกว่าผลรวมมวลของนิวคลีออนแต่ละตัว มีมวลที่หายไปอยู่ 0.030377u โดยที่หายไปจะเปลี่ยนเป็นพลังงานที่ยึดนิวคลีออนเอาไว้ด้วยกันในนิวเคลียส ซึ่งเราเรียกว่า มวลพร่อง (mass defect)

สามารถเขียนสมการของมวลพร่องสำหรับธาตุใดๆ ได้เป็น

capital delta m equals left square bracket Z m subscript p plus left parenthesis A minus Z right parenthesis m subscript n right square bracket minus M

เมื่อ  

  • Z คือจำนวนโปรตอน
  • m subscript p คือมวลโปรตอน
  • m subscript n คือมวลนิวตรอน  
  • A คือเลขมวล  
  • Mคือมวลของธาตุ พลังงานยึดเหนี่ยวจะมีค่าเป็น  E equals capital delta m c squared

        แต่ลำพังค่าพลังงานยึดเหนี่ยวอาจจะยังไม่สารถบ่งถึงธาตุที่เสถียรได้อย่างชัดเจน นักวิทยาศาสตร์จึงได้นำค่าพลังงานยึดเหนี่ยวที่คำนวณได้ในข้างต้นหารด้วยจำนวนนิวคลีออน เพื่อสะท้อนว่านิวคลีออนแต่ละตัวในนิวเคลียสมีพลังงานยึดเหนี่ยวต่อกันมากน้อยเพียงใด ซึ่งพบว่า ธาตุที่มีพลังงานยึดเหนี่ยวต่อนิวคลีออนมากจะมีความเสถียรมากกว่า ธาตุที่มีพลังงานยึดเหนี่ยวต่อนิวคลีออนน้อย

สมการของพลังงานยึดเหนี่ยวต่อนิวคลีออน เขียนได้เป็น

E over A equals fraction numerator increment m c squared over denominator A end fraction

ตัวอย่างในกรณีของฮีเลียม จะมีพลังงานยึดเหนี่ยวต่อนิวคลีออนเป็น 7.1 MeV ซึ่งถือว่าสูงมาก ในบรรดาธาตุที่เรารู้จักทั้งหมด เหล็กเป็นธาตุที่มีพลังงานยึดเหนี่ยวต่อนิวคลีออนสูงที่สุด คือ 8.79 MeV นับว่าเหล็กเป็นธาตุที่เสถียรที่สุด ดังแสดงในกราฟ