ในนิวเคลียสของธาตุจะประกอบด้วย นิวตรอน (neutron) และ โปรตอน (proton) แต่ก็มีกรณีพิเศษอย่างธาตุไฮโดรเจนที่นิวเคลีนสมีเพียงโปรตอนเท่านั้น ในการเขียนสัญลักษณ์แทนนิวเคลียสของธาตุต่างๆ จะนิยมเขียนในรูปแบบ
โดยที่
ตัวอย่างเช่นเป็นต้น
ในกรณีที่ธาตุมีจำนวนโปรตอนเท่ากัน แต่มีจำนวนนิวตรอนต่างกันจะเรียกว่า ไอโซโทป (isotope) เช่น
ไอโซโทป มีเพียง 1.1% ในธรรมชาติเท่านั้น
ในธรรมชาตินั้นประกอบด้วยธาตุที่เสถียรและธาตุที่ไม่เสถียร โดยธาตุที่ไม่เสถียรจะมีการสลายตัว และเกิดกัมมันตรังสี แบ่งได้เป็น 3 แบบ ได้แก่ สลายตัวเป็นกัมมัตรังสี แอลฟา บีตา และ แกมมา ธาตุที่สลายตัวและเกิดกัมมันตรังสี เรียกว่า ธาตุกัมมันตรังสี ส่วน กระบวนการที่เกิดการแผ่รังสีออกมาเรียกว่า กัมมันตภาพรังสี
เป็นลำของอนุภาคที่เป็นนิวเคลียสของฮีเลียม โดยมีประจุไฟฟ้า +2e และมีมวลเท่ากับ
4 u (e = 1.6 x 10-19 C, u = 1.66 x 10-27 kg)
มักจะเกิดในธาตุหนักๆ ที่มีจำนวนโปรตอนและนิวตรอนมากเกินไป ตัวอย่างเช่น Radium 226 () จะสลายตัวให้รังสีแอลฟา และเปลี่ยนเป็น radon-222 (
)
เราสามารถเขียนสมการการสลายตัวได้เป็น
หรือสามารถเขียนในรูปทั่วไปได้เป็น
เป็นลำของอนุภาคที่เป็นอิเล็กตรอนหรือโพซิตรอน ซึ่งมีสมบัติเหมือนอิเล็กตรอนแต่มีประจุ +1e โดยจำแนกได้ดังต่อไปนี้
มีประจุ -1e การสลายตัวในโหมดนี้มักเกิดกับธาตุที่มีจำนวนนิวตรอนมากๆ เมื่อสลายตัวให้อิเล็กตรอนจะมีอนุภาคที่ไม่มีประจุคือ แอนตินิวตริโน() ออกมาด้วย ตัวอย่างการสลายตัวของนิวตรอน
เราสามารถเขียนสมการการสลายตัวได้เป็น
หรือสามารถเขียนในรูปทั่วไปได้เป็น
มีประจุ +1e การสลายตัวในโหมดนี้มักเกิดกับธาตุที่มีจำนวนโปรตอนมากๆ เมื่อสลายตัวให้อิโพซิตรอนจะมีอนุภาคที่ไม่มีประจุคือ นิวตริโน() ออกมาด้วย
ตัวอย่างเช่น
หรือสามารถเขียนในรูปทั่วไปได้เป็น
มีลักษณะที่ต่างการแอลฟาและบีตาคือ แกมมาจะเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีพลังงานสูง เกิดจากนิวเคลียสที่มีพลังงานมากเกินไป จึงมีการปลดปล่อยพลังงานออกมาจากนิวเคลียส
เราสามารถแยกแยะรังสีเหล่านี้ได้จากการที่รังสีผ่านเข้าไปในสนามแม่เหล็ก หรือ สนามไฟฟ้า โดยอนุภาคที่มีประจุอย่าง แอลฟากับบีตา จะเกิดอันตรกิริยากับสนามทำให้เกิดการเลี้ยวเบน และรังสีที่ไม่มีประจุอย่างแกมมาจะผ่านสนามไปโดยไม่เลี้ยวเบน ดังแสดงในรูปข้างล่าง
หลักการในการพิจารณาปฏิกิริยานิวเคลียร์มีดังต่อไปนี้
ปฏิกิริยานิวเคลียร์จะเขียนในรูปทั่วไปเป็น
ซึ่งสามารถเขียนเป็นรูปย่อๆได้เป็น
โดยที่
ตัวอย่างเช่น![]()
ซึ่งเขียนย่อได้เป็น