การปรับใช้เทคโนโลยีทางชีวภาพ และจริยธรรมวิจัย

ยอดวิว 0

แบบฝึกหัด

EASY

เทคโนโลยีทาง DNA (ชุดที่ 1)

HARD

เทคโนโลยีทาง DNA (ชุดที่ 2)

เนื้อหา

หลักการทางพันธุวิศวกรรม
(Principle of Genetic engineering)

  • โครงการจีโนมมนุษย์ (Human genome project) เป็นการศึกษาลำดับนิวคลีโอไทด์ของจีโนมมนุษย์ทั้งหมด หรือลำดับเบสของ DNA ในโครโมโซมทั้ง 22 คู่รวมไปถึงโครโมโซม x และโครโมโซม y เพื่อทำเพจแผนที่ตำแหน่งของยีนบนโครโมโซมต่าง ๆ และศึกษาการกลายพันธุ์ทางพันธุกรรมในตำแหน่งต่าง ๆ เป็นความร่วมมือในระดับโลก
  • รูปแบบของจีโนม (Genome patterns) จีโนมของสิ่งมีชีวิตจะมีลักษณะเฉพาะสามารถตรวจสอบความเป็นเฉพาะบุคคลหรือลายพิมพ์ DNA ได้โดยอาศัยเทคนิคโดยหลักการตัดของเอนไซม์จำเพาะแล้วแยกชิ้นส่วน DNA อ่านคุณสมบัติประจุ

การประยุกต์ เทคโนโลยีชีวภาพ
ในด้านนิติวิทยาศาสตร์

เช่น การตรวจสอบลายพิมพ์ DNA (DNA finger print) โดยเทคนิค RFLP (Restriction Fragment Length Polymorphism) เนื่องจากของแต่ละบุคคลมีลำดับเบสที่จำเพาะ เมื่อมีการใช้เอนไซม์ตัดจำเพาะ จีโนมของแต่ละบุคคลตัด DNA เป็นชิ้น ๆ แล้วนำไปแยกโดยเทคนิค gel electrophoresis โดยแยกชิ้นส่วน DNA  ความสามารถในการเคลื่อนที่ในสนามไฟฟ้า โดยรูปแบบของ DNA ที่ถูกตัดจะมีความจำเพาะต่อตัวบุคคล ทั้งนี้บุคคลจะมี DNA fingerprint คล้ายกันกับพ่อแม่พี่น้อง มากกว่าบุคคลที่ไม่เกี่ยวพันกันทางสายเลือด ทั้งนี้ ลายพิมพ์ DNA จะแตกต่างกันเนื่องจากหากมีลำดับในสิ่งที่แตกต่างกันเพียง 1 ตำแหน่งจะทำให้เอนไซม์ตัดจำเพาะตัดขนาดชิ้น DNA ได้แตกต่างกันไป ทั้งนี้ยกเว้นแฝดเหมือนที่จะมีลายพิมพ์ดีเอ็นเอเหมือนกันเพราะมีสารพันธุกรรมเหมือนกัน
ภาพจากวิกิพีเดีย

โดยหลักการนี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ใน

  1. Paternity test การตรวจสอบความเป็นพ่อแม่ลูก โดยลายพิมพ์ดีเอ็นเอของลูก จะมีลักษณะคล้ายของพ่อครึ่งหนึ่งและของแม่ครึ่งหนึ่ง
  2. Forensic test การตรวจสอบดีเอ็นเอจากศพ เพื่อหาตัวตนจำเพาะ
  3. Criminal test การตรวจดีเอ็นเอจากคราบเลือด ผิวหนัง โขนเส้นผม อสุจิ จากที่เกิดเหตุเปรียบเทียบกับ
    ผู้ต้องสงสัย เพื่อหาผู้กระทำผิด
  4. Diagnostic test การตรวจหาชนิดของเชื้อโรคในโรคติดเชื้อ และตรวจโรคทางพันธุกรรมบางโรคที่มีการเปลี่ยนแปลงของลำดับเบส

เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology)

[ภาพจากวิกิพีเดีย]

คือ การใช้เทคโนโลยีในการปรับปรุงองค์ประกอบต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตให้มีคุณสมบัติตามที่ต้องการ สามารถมาประยุกต์ใช้ประโยชน์

ตัวอย่างสิ่งมีชีวิตต้นแบบของการโคลนนิ่ง

แกะดอลลี่คือแกะที่เจริญมาจากเซลล์ไข่ของแกะพันธุ์หน้าดำที่ถูกเอานิวเคลียสออก นำนิวเคลียสของเซลล์เต้านมจากแกะพันธุ์หน้าขาวใส่กลับเข้าไปจนได้เซลล์ลูกผสม แล้วนำเซลล์ลูกผสมนี้ไปฝังตัวในมดลูกของแกะพันธุ์หน้าดำ ดอลลี่มีลักษณะเหมือนแกะพันธุ์หน้าขาว หรือแกะที่ให้นิวเคลียสในการศึกษานี้

  • การประยุกต์ใช้ประโยชน์เทคโนโลยีชีวภาพในเชิงอุตสาหกรรม

    1. การผลิตเบียร์โดยการหมักแอลกอฮอล์ด้วยยีสต์
    2. การผลิตเต้าเจี้ยวโดยการหมักด้วยเชื้อรา
    3. การทําแก๊สชีวภาพโดยแบคทีเรีย
    4. การทําโยเกิร์ต หรือนมเปรี้ยวโดยแบคทีเรีย
  • การประยุกต์ใช้ประโยชน์เทคโนโลยีชีวภาพในเชิงเกษตรกรรม
    1. การผสมเทียม
    2. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
    3. การปรับปรุงสายพันธุ์พืช
    4. การเพิ่มผลผลิตโดยดัดแปลงพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชสัตว์จุลินทรีย์ ด้วยเทคโนโลยีการตัดแต่งพันธุวิศวกรรม (Genetic Modified Organisms; GMOs) เช่น การปรับแต่งพันธุกรรมเพื่อทนต่อโรค
      ตัวอย่างพืชที่มีการดัดแปลงพันธุกรรม (transgenic plants) เช่น พืชที่มีสารต้านทานโรคและแมลง หรือทำให้มีคุณค่ามากขึ้น เช่น มะละกอต้านทานโรคใบด่าง มะเขือเทศสุกช้าที่มียีนสร้างเอนไซม์ที่ยับยั้งการสังเคราะห์ฮอร์โมน ethylene ฝ้าย BT ต้านหนอน ข้าวสีทองสร้างวิตามิน A 
      ตัวอย่างสัตว์ที่มีการดัดแปลงทางพันธุกรรม (transgenic animals) เช่น วัวที่ให้น้ำนมมาก หนูเรืองแสงได้โดยการตัดต่อจากหิ่งห้อยใส่เข้าไป หมูเรื่องสร้างเนื่องจากมียีนเรืองแสงจากแมงกระพรุ่น ปลาแซลม่อนที่มีการปรับปรุงทางพันธุกรรมที่มีเนื้อมากกว่าปกติ
  • การประยุกต์ใช้ประโยชน์เทคโนโลยีชีวภาพในเชิงการแพทย์
    ตัวอย่างแบคทีเรียที่มีการดัดแปลงพันธุกรรม (transgenic bacteria) เช่น แบคทีเรียที่สร้างอินซูลินหรือฮอร์โมนร่างกายที่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรคเบาหวาน สร้างอินเตอร์ฟีรอน (interferon) โปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการทำลายเชื้อโรค และแบคทีเรียที่สร้างแอนติบอดี้

ชีวจริยธรรม (Bioethics)

มุมมองเกี่ยวกับความปลอดภัยของเทคโนโลยีชีวภาพที่มีต่อสังคมและจริยธรรม

  • ประเด็นถกเถียงเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตที่มีการดัดแปลงทางพันธุกรรม (GMOs)

    1. Transgene ที่ถูกตัดต่อเข้าไปในสิ่งมีชีวิตในสิ่งมีชีวิตอาจส่งผลต่อสุขภาพของผู้บริโภค
    2. Gene จากพืช GMOs อาจมีการปนเปื้อนเข้าไปในสิ่งแวดล้อมและมีผลกระทบต่อระบบนิเวศเชิงซ้อน
    3. อาจมีการกลายพันธุ์ของเชื้อจุลินทรีย์ที่ดื้อยาปฏิชีวนะ
  • แนวทางป้องกันและการอธิบายความเข้าใจ

    1. ใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีชีวภาพชี้แจงข้อมูลที่ถูกต้องต่อสังคม
    2. มีมาตรฐานในการกำกับควบคุมดูแลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตที่มีการดัดแปลง
    3. มีการติดฉลากผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรระบุข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งที่มาว่ามาจากสิ่งมีชีวิตที่มีการดัดแปลงทางพันธุกรรม
    4. มีการศึกษาและควบคุมสิ่งมีชีวิตที่ดัดแปลงพันธุกรรม
  • ประเด็นถกเถียงการใช้ข้อมูลเกี่ยวกับรหัสพันธุกรรมของคน

    1. ข้อมูลเกี่ยวกับรหัสทางพันธุกรรมส่วนบุคคลสามารถส่งผลต่อยา และวิธีการรักษาที่ตรงกับรหัสพันธุกรรมของ
      ผู้ป่วยโดยเฉพาะ
    2. การตรวจข้อมูลสุขภาพประกันทำได้ง่ายแต่อาจจะทำให้เกิดการกีดกันผู้ป่วยให้เข้าถึงสวัสดิการและ
      ความคุ้มครองต่าง ๆ อย่างเป็นทาง
  • แนวทางป้องกันและการเสริมสร้างความเข้าใจ

    1. การตรวจสุขภาพโดยเปิดเผยข้อมูลทางพันธุกรรมต้องได้รับการยินยอม
    2. มีระบบการจัดการข้อมูลทางพันธุกรรมที่มีการป้องกันและมีการใช้อย่างยุติธรรม

ทีมผู้จัดทำ