การถ่ายทอดยีนและโครโมโซม
ลักษณะทางพันธุกรรม มีการถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปสู่รุ่นลูกหลาน สำหรับการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตแบบอาศัยเพศ มีการเสนอ "ทฤษฎีโครโมโซมในการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม (Chromosome Theory of Inheritance)" โดยตั้งสมมติฐานว่ายีนอยู่ในโครโมโซม
คุณสมบัติของยีนและโครโมโซม
- หากสิ่งมีชีวิตมีลักษณะสารพันธุกรรมเป็น diploid (2n) และโครโมโซมก็มี 2 ชุด มีการถ่ายทอดไปสู่ลูกหลาน
- การสร้างเซลล์สืบพันธุ์จะได้จากการแบ่งเซลล์แบบ
ไมโอซิส โดยมีการแบ่งชุดโครโมโซมจาก 2 ชุดเหลือ
1 ชุด - Zygote ที่เกิดจากการรวมตัวกันของไข่และอสุจิ จะมีโครโมโซม 1 ชุดจากพ่อและ 1 ชุดจากแม่ทำให้ลูกที่
เกิดมามีลักษณะแปรผันทางพันธุกรรมไปจากพ่อและแม่ - ยีนและโครโมโซมอยู่ในนิวเคลียส
- มีกฎแห่งการแยกยีน เนื่องจากโครโมโซมคู่เหมือนแยกออกจากกันในช่วงการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส ทำให้เซลล์สืบพันธุ์มีโครโมโซมเพียงชุดเดียว
- มีกฎแห่งการรวมกลุ่มอย่างอิสระ ลักษณะทางพันธุกรรมจากเซลล์สืบพันธุ์เกิดขึ้นเมื่อโครโมโซมแต่ละแท่งของเซลล์สืบพันธุ์รวมกันแบบ Random
ในการปฏิสนธิ เซลล์ไข่และอสุจิที่มียีนและโครโมโซมแต่ละชุดจะมารวมกันอย่าง Random
ยีน หรือหน่วยพันธุกรรม
- ประกอบด้วยรหัสที่เป็น DNA หรือ RNA ก็ได้ แต่สิ่งมีชีวิตชั้นสูงโดยส่วนมากสารพันธุกรรมจะประกอบไปด้วย DNA ซึ่งจะมีความเสถียรมากกว่า ส่วน RNA มักจะพบในสิ่งมีชีวิตจำพวกไวรัส
- ในสิ่งมีชีวิตประเภทยูคาริโอตโครโมโซมมีลักษณะเป็นแท่งประกอบไปด้วยสาย DNA ที่พันขดอยู่กับโปรตีนที่เรียกว่า ฮิสโตน (histone) และโปรตีนที่ไม่ใช่ฮิสโตน ในสภาวะที่เซลล์ไม่มีการเพิ่มจำนวนสารพันธุกรรมเพื่อแบ่งตัว สารพันธุกรรมจะอยู่ในรูปของสายใยยาวเรียกว่า โครมาทิน (chromatin) แต่เมื่อเซลล์กำลังจะแบ่งตัว จะมีการจำลองตัวของ DNA และเส้นใยโครมาทินจะหดตัวจนกลายเป็นโครโมโซมที่ประกอบไปด้วยแขนแต่ละข้างเรียกว่า โครมาทิด (chromatid) โดยมีจุดเชื่อมกันเรียกว่า เซนโทรเมียร์ (centromere) สิ่งมีชีวิตประเภทโปรคาริโอตมีโครโมโซม 1 วงประกอบไปด้วย DNA และโปรตีนที่ช่วยจัดระเบียบสารพันธุกรรที่ไม่ใช่โปรตีนฮิสโตน ในแบคทีเรียบางชนิดอาจพบสารพันธุกรรมที่อยู่นอกโครโมโซมที่เรียกว่า พลาสมิด (plasmid)
- ลักษณะของโครโมโซมสามารถแบ่งได้ตามที่อยู่ของ
เซนโทรเมียร์ เช่น ถ้าเซนโทรเมียร์อยู่ตรงปลายของโครโมโซม จะเรียกว่า telecentric ในขณะที่ถ้าอยู่
ตรงกลางจะเรียกว่า metacentric - สารพันธุกรรมทั้งหมดในนิวเคลียสจะเรียกรวมกันว่า จีโนม
- ในเซลล์สิ่งมีชีวิตทั่วไปที่ไม่ใช่เซลล์สืบพันธุ์จะประกอบ
ไปด้วย โครโมโซมเป็นคู่กัน (homologous chromosome) ยีนที่อยู่ในตำแหน่ง (locus) ที่ตรงกันบนโครโมโซมที่คู่กัน เรียกว่าเป็น allele กัน
ภาพ Chromosome
คารีโอไทป์ (karyotype)
คือ การจัดเรียงโครโมโซมคู่เหมือนของสิ่งมีชีวิต
ซึ่งสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะมีจำนวนโครโมโซมไม่เท่ากันเป็นลักษณะจำเพาะของสปีชีส์นั้น ๆ
- เมื่อมีการจัดเรียงโครโมโซมตามจำนวน ขนาด และรูปร่างเป็นแผนภาพ เรียกว่า Karyogram มักจะจัดเรียงจากโครโมโซมที่มีขนาดยาวและใหญ่ที่สุดไปสั้นที่สุด ตัวอย่างเช่น
คาริโอไทป์ของคน มีโครโมโซม 23 คู่ 46 แท่ง
เป็นออโตโซม 22 คู่
และเป็นโครโมโซมเพศอีก 1 คู่ - การตรวจความผิดปกติของโรคบางชนิด เช่น
โรคดาวน์ซินโดรม สามารถวิเคราะห์ได้จาก จำนวนและลักษณะของโครโมโซม คือ การตรวจโดยคาริโอไทป์นั่นเอง
ลักษณะทางพันธุกรรม (genetic characters)
ลักษณะทางพันธุกรรมที่ถูกควบคุมโดยยีนบนออโต้โซม
ออโตโซม (autosome) คือ โครโมโซมคู่ที่ 1 ถึงคู่ที่ 22 ที่เหมือนกันทั้งเพศหญิงและเพศชาย
- Dominant and Recessive Genes ยีนควบคุมการแสดงออกอย่างไร ยีนในส่วนที่เป็นออโตโซม จะมียีนควบคุมลักษณะมี2ชนิดคือ ยีนเด่น (Dominant) และ ยีนด้อย (Recessive) ยีนจะมีการจับคู่กัน2ตัวโดย ตัวนึงได้รับจากพ่อ อีกตัวได้รับจากแม่ ยีนเด่น จะข่ม ยีนด้อยเสมอ ลักษณะแต่ละอย่างจะมีความเด่นและความด้อย เช่น พ่อตาสีดำเป็นยีนเด่นแทน DD แม่ตาสีฟ้ายีนด้อยแทน dd เมื่อนำมาจับคู่กันจะได้ DD, Dd, Dd, dd
- การจับคู่แบบ DD เรียกว่า เด่นพันธุ์แท้ สีตาลูกที่ได้จะมีสีดำ
- การจับคู่แบบ Dd เรียกว่า เด่นพันธุ์ทาง สีตาลูกที่ได้จะมีสีดำ
- การจับคู่แบบ dd เรียกว่า ด้อย สีตาลูกจะมีสีฟ้า
ลักษณะที่ควบคุมโดยยีนด้อย ได้แก่ ธาธาลัสซีเมีย, ผิวเผือก , เซลล์เม็ดเลือดแดงเป็นรูปเคียว
ลักษณะที่ควบคุมโดยยีนเด่น ได้แก่โรคท้าวแสนปม , คนแคระ , นิ้วมือสั้น
ลักษณะทางพันธุกรรมที่ถูกควบคุมโดยยีนบนโครโมโซมเพศ
โครโมโซมเพศ (sex chromosome) คือ คู่โครโมโซมที่ 23 ในเพศหญิงจะมีโครโมโซมเป็น XX เพศชายจะมีโครโมโซมเป็น XY
- ซึ่งมียีนหลายยีนที่ควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมบนโครโมโซมเพศ ส่วนใหญ่เป็นยีนที่ทำให้เกิดโรคหรือมีความผิดปกติ เช่น โรคตาบอดสี ซึ่งจะพบได้ในเพศชายมากกว่าเพศหญิงเนื่องจากยีนที่ควบคุมการถ่ายทอดลักษณะตาบอดสีที่ควบคุมโดยยีนที่อยู่บนโครโมโซม X ลักษณะตาบอดสีเป็นอัลลีลด้อย ชายตาปกติ (XY) แต่งงานกับหญิงตาปกติที่มีอัลลีลตาบอดสี (XXc) แฝงอยู่ ดังนั้นลูกที่เกิดมามีโอกาสเป็นพาหะของตาบอดสีตามสัดส่วน ดังภาพตัวอย่าง

อ้างอิง https://sites.google.com/site/kikkok1501/
ลักษณะทางพันธุกรรมเป็นลักษณะที่ถูกบันทึกข้อมูลใน DNA และถูกควบคุมโดยยีน สิ่งสำคัญคือสามารถถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง ลักษณะทางพันธุกรรมมีความแตกต่างกัน เรียกว่า ความแปรผันทางพันธุกรรม (genetic variation) ความแตกต่างนี้มีความสำคัญต่อความหลากหลายทางชีวภาพและการอยู่รอดของเผ่าพันธุ์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท
- ลักษณะทางพันธุกรรมที่มีความแปรผันแบบต่อเนื่อง (Continuous variation)
- ความแตกต่างและความหลากหลายของรูปแบบ genetic traits มีความเป็น gradient หรือค่อยเป็นค่อยไปไม่สามารถแยกเป็นกลุ่มได้ชัดเจน
- เนื่องจากเป็นการควบคุมลักษณะจากยีนมากกว่าหนึ่งคู่ยีน หรือที่เรียกว่า polygenes
- ตัวอย่างเช่น ความสูง สีผิว ความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวาน เป็นต้น
- ลักษณะทางพันธุกรรมที่มีความแปรผันแบบไม่ต่อเนื่อง (Discontinuous variation)
- ความหลากหลายของรูปแบบ genetic traits มีขอบเขตที่ชัดเจนสามารถแบ่งแยกได้ว่ามีหรือไม่มีลักษณะดังกล่าว
- ตัวอย่างเช่น กรุ๊ปเลือด การมีลักยิ้ม การห่อลิ้น
สรุป ลักษณะต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตบันทึกข้อมูลใน DNA ที่ตำแหน่งยีนอยู่ในโครโมโซม ซึ่งเรียกว่า locus โครโมโซมทั้งหมด เรียกว่า จีโนม