กฎแห่งการแยกและกฎแห่งการรวมกลุ่มอย่างอิสระ

ยอดวิว 0

แบบฝึกหัด

EASY

กฎแห่งการแยกและกฎแห่งการรวมกลุ่มอย่างอิสระ (ชุดที่ 1)

HARD

กฎแห่งการแยกและกฎแห่งการรวมกลุ่มอย่างอิสระ (ชุดที่ 2)

เนื้อหา

กฎแห่งการแยกและกฎแห่งการรวมกลุ่มอย่างอิสระ


สิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่เป็นสิ่งมีชีวิต ที่เป็น diploid
คือ มีโครโมโซม 2 ชุด (2n) ดังนั้นในตำแหน่งเดียวกัน ยีนที่ควบคุมทางลักษณะทางพันธุกรรมจะอยู่เป็นคู่ สามารถเรียกอีกแบบว่า จีโนไทป์(Genotype)

จากผลทดลองปลูกถั่วลันเตา และเก็บรวบรวมข้อมูลทางสถิติ แล้ววิเคราะห์ข้อมูล เมนเดลจึงอธิบายกฏการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ไว้ 2 ข้อหลัก ๆ

  1. Law of segregation กฎแห่งการแยก
    โดยเมนเดลกล่าวว่า

    factors ที่อยู่เป็นคู่กันจะแยกออกจากกันเมื่อสร้างเซลล์สืบพันธุ์ โดยเซลล์สืบพันธุ์หนึ่งจะมีสารควบคุมทางพันธุกรรมเพียง
    1 แบบ
  2. Law of independent assortment
    กฎแห่งการรวมกลุ่มอย่างอิสระ
    โดยเมนเดลกล่าวว่า

    factors ที่ควบคุมลักษณะต่าง ๆ ที่อยู่ในตำแหน่งเดียวกันของโครโมโซมคนละคู่ สามารถเกิดการจัดรวมกลุ่มกันได้อย่างอิสระ โดยกระบวนการรวมกันของเซลล์สืบพันธุ์


ทั้งนี้ Mendel  ได้อธิบายกฎเหล่านี้ทางคณิตศาสตร์โดยยึดหลักการจากแนวคิด การคํานวณความน่าจะเป็น (probability)

ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ A
=  จำนวนครั้งที่เหตุการณ์ A  จะเกิดขึ้นได้
    จำนวนครั้งของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมด

สรุปกฎพื้นฐานของความน่าจะเป็น

  • กฎการบวก (addition law) ใช้กับสถานการณ์
    ที่เหตุการณ์ไม่สามารถเกิดขึ้นพร้อมกันได้

        ความน่าจะเป็นของการเกิดเหตุการณ์ A หรือ B
    =  ความน่าจะเป็นของ A + ความน่าจะเป็นของ B
    ตัวอย่าง
    ในการหยิบไพ่ 1 ครั้ง โอกาสที่จะได้ J หรือ Q
    เป็นเท่าใด

    โดยกฎการบวก สามารถใช้ได้ในสถานการณ์นี้ได้
    เพราะโอกาสที่จะหยิบไพ่ได้  J หรือ Q ไม่เกี่ยวข้องกัน

    ดังนั้น โอกาสที่จะหยิบไพ่ได้  J หรือ Q
    = โอกาสที่จะหยิบไพ่ได้  J + โอกาสที่จะหยิบไพ่ได้ Q
    = 1/13 + 1/13
    = 2/13

  • กฎการคูณ (multiplication law) ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นพร้อมกันได้ เรียกว่า เป็นอิสระต่อกัน

        ความน่าจะเป็นของการเกิดเหตุการณ์ A และ B
    =  ความน่าจะเป็นของ A x ความน่าจะเป็นของ B
    ตัวอย่าง
    โอกาสที่พ่อแม่จะมีบุตร 3 คนเป็นลูกชายทั้งหมด  เนื่องจากโจทย์ถามความน่าจะเป็นของการเกิดลูกชายเป็นคนที่ 1  คนที่ 2 และคนที่ 3 จึงเป็นเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกัน แต่เป็นอิสระจากกัน จึงสามารถใช้กฎการคูณของความน่าจะเป็น

    โอกาสที่พ่อแม่จะมีบุตร 3 คนเป็นลูกชายทั้งหมด
              = โอกาสที่ลูกคนที่ 1 จะเป็นลูกชาย x
                  โอกาสที่ลูกคนที่ 2 จะเป็นลูกชาย x
                  โอกาสที่ลูกคนที่ 3 จะเป็นลูกชาย x
              =  ½ x ½ x ½
              =  ⅛

ข้อควรระวัง คือต้องพิจารณาคำถามให้ดี ว่าโอกาสการเกิดเหตุการณ์ที่โจทย์ถามเกี่ยวข้องกันหรือไม่ควรใช้กฎการบวกหรือกฎการคูณ

การถ่ายทอดพันธุกรรมตามกฎของ
เมนเดล (Mendelian inheritance)

เมนเดลได้ใช้หลักการของกฎความน่าจะเป็นมาวิเคราะห์ผลการทดลองลักษณะทางพันธุกรรมของถั่วลันเตาที่ได้ปลูกไว้ในรุ่นลูกและรุ่นหลาน

ตัวอย่างการทดลองที่ 1
เมนเดลนำถั่วลันเตาพันธุ์แท้มาผสมกัน เช่น ถั่วลันเตาที่มีเมล็ดสีเขียวมาผสมกับถั่วลันเตาที่มีเมล็ดสีเหลือง

     P:   Green (GG) x Yellow (gg)
     F1: Green (Gg) , Green (Gg,
           Green (Gg)
 , Green (Gg)

พบว่าในประชากรรุ่น F1 ถั่วลันเตามีเมล็ดสีเขียวทั้งหมด
ดังนั้น ลักษณะเมล็ดสีเขียว เรียกว่าเป็นยีนเด่น และลักษณะเมล็ดสีเหลืองเป็นยีนด้อย และไม่ถูกแสดงออกในรุ่นนี้เนื่องจากยีนด้อยจะถูกยีนเด่นข่มอย่างสมบูรณ์

ณ จุดนั้น Mendel ไม่เข้าใจว่า ลักษณะเมล็ดสีเหลืองหายไปไหนจึงทำการทดลองต่อโดยการนำ F1 มาผสมพันธุ์กัน

     F1:  Gg x Gg
     F2:  Green (GG) , Green (Gg,
            Green (Gg, Yellow (gg)

หรือรุ่น F2  Mendel เก็บสถิติได้ว่า อัตราส่วนจำนวนถั่วลันเตามีเมล็ดสีเขียว ต่อถั่วลันเตามีเมล็ดสีเหลือง เป็น 3:1 เรียกอัตราส่วนนี้ว่า อัตราส่วนฟีโนไทป์ของเมนเดล และเรียกอัตราส่วน 1:2:1 ว่าอัตราส่วนจีโนไทป์ของเมนเดล จากการที่เมนเดลพบว่า ลักษณะเมล็ดสีเหลืองของถั่วเพื่อนเก่ายังถูกถ่ายทอดมายังรุ่น F2 ในอัตราส่วนที่คงที่ จึงสรุปออกมาเป็น

  • กฎข้อที่ 1  กฎแห่งการแยก alleles ของคู่โครโมโซมของเซลล์สืบพันธุ์
  • กฎข้อที่ 2 ของเมนเดลหรือกฎแห่งการรวมกลุ่มอย่างอิสระ มาจากการพิจารณาลักษณะทางพันธุกรรม 2 ลักษณะขึ้นไป เช่น

    เมื่อเมนเดลเก็บข้อมูลทางสถิติ ของการผสมถั่วลันเตาพันธุ์แท้ที่เป็น "ต้นสูงและเมล็ดสีเขียว (TT GG)"
    กับถั่วลันเตาพันธุ์แท้ที่เป็น "ต้นเตี้ยและเมล็ดสีเหลือง (tt gg)" ได้ผลดังต่อไปนี้

    P:   TT GG x tt gg
    F1: TtGg                    

    ถั่วลันเตามีลักษณะเป็นต้นสูงและมีเมล็ดสีเขียว
    F1: TtGg x TtGg        
    F2: T-G- , ttG- , T-gg , ttgg

    มีฟีโนไทป์ 4 แบบได้แก่ ต้นสูงเมล็ดสีเขียว, ต้นเตี้ยเมล็ดสีเขียว, ต้นสูงเมล็ดสีเหลือง, ต้นเตี้ยเมล็ดสีเหลือง ในอัตราส่วน 9:3:3:1

โดยใช้กฎการบวก และกฎการคูณ ของความน่าจะเป็น

  1. โอกาสการเกิดฟีโนไทป์ต้นสูงเมล็ดเขียว  
    = โอกาสการเกิดจีโนไทป์ TTGG + TtGg +
    TTGg + TtGG
    โอกาสการเกิดจีโนไทป์ T-G- = 1/4x1/4 + 1/2x1/2 + 1/4x1/2 + 1/2x1/4
    = 9/16
  2. โอกาสการเกิดฟีโนไทป์ต้นสูงเมล็ดเหลือง
    = โอกาสการเกิดจีโนไทป์ Ttgg + TTgg
    = 1/2x1/4 + 1/4x1/4
    = 3/16
  3. โอกาสการเกิดฟีโนไทป์ต้นเตี้ยเมล็ดเขียว
    = โอกาสการเกิดจีโนไทป์ ttGg + ttGG
    = 1/4x1/2 + 1/4x1/4
    = 3/16
  4. โอกาสการเกิดฟีโนไทป์ต้นเตี้ยเมล็ดเหลือง
    = โอกาสการเกิดจีโนไทป์ ttgg
    = 1/4x1/4
    = 1/16


จึงได้เป็นสัดส่วน 9:3:3:1 ซึ่งอธิบายได้โดยกฎความน่าจะเป็นเมื่อ 2 เหตุการณ์เกี่ยวข้องและเกิดขึ้นอย่างอิสระ ดังนั้นเมนเดลจึงสรุปเป็นกฎข้อที่ 2  โดยกล่าวไว้ว่า

ลักษณะทางพันธุกรรมของเซลล์สืบพันธุ์สามารถรวมกลุ่มกันได้อย่างอิสระ