สมบัติของสารพันธุกรรม
การคัดลอก DNA (DNA replication)
มีประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้
- คือการเพิ่มปริมาณ DNA เกิดขึ้นในระยะ S Phase ของเซลล์ประเภทยูคาริโอต เกิดขึ้นก่อนที่เซลล์จะมีการแบ่งตัว
- รูปแบบการคัดลอกเป็นไปตามแบบกึ่งอนุรักษ์ (semiconservative model) โดย James Watson และ Francis Crick ได้เสนอการคัดลอก DNA ในปี 1953 ว่าเหมือนเป็นการรูดซิปเปิด หมายความว่า
มีการสลายพันธะไฮโดรเจนระหว่างเบสคู่สม จึงทำให้ดีเอ็นเอสายเดิมกลายเป็นต้นแบบเพื่อให้นิวคลีโอไทด์มาเรียงร้อยจับกันเป็นสายใหม่ ซึ่งเป็นสายคู่สม (complimentary strand) เป็นรหัสเติมเต็มกับสายต้นแบบ โดยผลสัมฤทธิ์ จะได้เป็นคู่สาย DNA เหมือนเดิม 2 คู่
การสลายพันธะไฮโดรเจนของเบสคู่สม
เกิดขึ้นได้ด้วยการเสียสภาพของ DNA (DNA denaturation) เมื่อ DNA ได้รับความร้อนโดยสารเคมีทำให้พันธะไฮโดรเจนสลายจึงทำให้มีการเปิดของคู่สาย DNA แยกออกจากกัน เมื่อสภาวะอุณหภูมิกรดเบสที่เหมาะสมอีกครั้ง เบสคู่สมของ DNA จะกลับมาจับกันด้วยพันธะไฮโดรเจนเหมือนเดิม คือ การคืนสภาพ หรือ (DNA renaturation)
เอนไซม์ที่ช่วยในการคัดลอก DNA
กระบวนการคัดลอก DNA สำเร็จได้ด้วยเอนไซม์หลายชนิดแต่จะขอเน้นบางเอนไซม์ ดังต่อไปนี้
- เอนไซม์ DNA polymerase ค้นพบโดย Arthur Kornberg ผู้สูงสามารถสังเคราะห์ DNA ในหลอดทดลองได้เป็นรายแรกในปี 1953 ทำหน้าที่นำ
นิวคลีโอไทด์ที่ประกอบไปด้วยเบสคู่สม หรือ complimentary nucleotide มาจับกับสาย DNA ต้นแบบ และวางต่อกันจนเกิดเป็น DNA สายใหม่ให้ยาวขึ้น - เอนไซม์ helicase ทำหน้าที่ unzip หรือแยกสายคู่ DNA ออกจากกัน
- เอนไซม์ primase ทำหน้าที่นำไพรเมอร์ sequences โดยการเติมสายชิ้นส่วนนิวคลีโอไทด์ที่เป็น RNA มาวางที่เบสคู่สมเพื่อให้ DNA พอลิเมอเรส ทำงานต่อโดยการนำเบสคู่สมมาวางเรียงร้อยต่อไป
- เอนไซม์ ligase ทำหน้าที่ในการเชื่อมต่อ phosphodiester bond
จุดสำคัญ
เนื่องจากการทำงานของเอนไซม์ DNA พอลิเมอเรส ทำได้เพียงทิศทางเดียว คือจาก
5 prime → 3 prime end
ทำให้ DNA สายใหม่จะสร้างจากทิศทางจาก
5 prime → 3 prime end เสมอ ทั้งนี้ทำให้สายใหม่มีการสังเคราะห์แบบยาวต่อเนื่องเรียกว่า leading strand ส่วนสายใหม่อีกสายหนึ่งจะมีการสังเคราะห์ทีละสั้น ๆ เท่าที่ DNA สายครูต้นแบบจะถูก unzip จึงเรียกสายนี้ว่าง lagging strand โดยท่อน
สั้น ๆ ของ DNA ถูกเรียกว่า Okasaki fragment แต่ DNA สายใหม่ทั้งสองแบบมีทิศทางเหมือนกันคือ จาก 5 prime → 3 prime end
การถอดรหัส DNA (DNA transcription)
กระบวนการแสดงออกของยีนไปเป็นลักษณะทางพันธุกรรมต่าง ๆ โดยการทำงานของโปรตีน เรียกว่า หลักแกนกลางทางชีวโมเลกุล (central dogma of molecular biology) ซึ่งเกิดจากการคัดลอก DNA ถอดรหัส DNA แล้วสร้าง RNA (DNA transcription) เพื่อเป็นต้นแบบในการสร้างโปรตีนโดยแปลตามรหัสพันธุกรรม (DNA translation)
ทั้งนี้เราต้องคำนึงถึงความเป็นจริงที่ว่า ดีเอ็นเออยู่ในนิวเคลียส แต่การผลิตโปรตีนเกิดขึ้นในไซโตพลาสซึม ซึงต้องตัวกลางคือ RNA ซึ่งจะถูกถ่ายทอดรหัสในนิวเคลียสจาก DNA เรียกกระบวนการนี้ว่า transcription หรือ การถอดรหัส DNA ทั้งนี้ RNA ในเซลล์ยูแคริโอตมี 3 ชนิดหลัก ได้แก่ เชิงโครงสร้าง
- rRNA (ribosomal RNA) เป็นรหัสที่เป็นส่วนหนึ่งของไรโบโซม ซึ่งเป็นโครงสร้าง ที่จำเป็นการแปลรหัสพันธุกรรม คุณสมบัติไรโบโซมของ prokaryotes และ
ยูคาริโอตจะมีลักษณะแตกต่างกัน ส่วนการเคลื่อนที่ของไรโบโซมเพื่อแปลรหัสพันธุกรรมจะเคลื่อนที่ในทางตรงข้ามทิศทางของ mRNA (5 primer → 3 prime) เรียกว่า ribosome translocation
(3 primer → 5 prime) - tRNA (transfer RNA) เป็นโมเลกุล RNA ขนาดเล็กที่มีส่วนถอดรหัส RNA โดยลำดับเบสบน tRNA เป็นเบสคู่สมรหัสบน mRNA เรียกว่า anticodon และนำกรดอะมิโนที่สอดคล้องกับรหัส RNA ขนส่งมาเรียงร้อยให้เป็นสายยาวโปรตีนต่อไป
- mRNA (messenger RNA) เป็นสาย RNA ที่ถอดรหัสมาจาก DNA เพื่อนำไปสร้างโปรตีนโดย mRNA จะถูกขนส่งจากในนิวเคลียสออกมาที่
ไซโตพลาสซึม เพื่อให้ไรโบโซมอ่านรหัสและสร้างโปรตีน
สรุปประเด็นสำคัญ และข้อแตกต่างของ
DNA transcription จาก DNA replication
DNA replication | DNA transcription |
เป็นการเพิ่มจำนวน DNA ทั้งสาย | เกิดขึ้นจากการถอดรหัสบางส่วน ในสายดีเอ็นเอเท่านั้น ซึ่งเป็น ส่วนที่สามารถนำไปผลิตเป็น โปรตีน |
เกิดขึ้นกับ DNA ทั้ง 2 สาย หลังจากมี การ unzip คู่สาย DNA | จะมีดีเอ็นเอเพียงสายเดียวที่ ทำหน้าที่เป็นต้นแบบในการ ถอดรหัส จึงทำให้ลักษณะ ทางพันธุกรรมบางลักษณะ มีการเลือกแสดงออก ถึงแม้ สิ่งมีชีวิตนั้นนั้นจะมีสาร พันธุกรรมหลายลักษณะ |
เกี่ยวข้องกับเอนไซม์ หลากหลายชนิด | อาศัยการทำงานของ RNA polymerase เป็นหลัก |
ต้องมีรหัส DNA ตั้งต้น หรือ primers | ไม่จำเป็นต้องมี primers |
ขบวนการหลักของ DNA transcription
- ขั้นเริ่มต้น RNA initiation:
enzyme RNA polymerase เข้าจับกับรหัส DNA เฉพาะช่วงเริ่มต้นเรียกว่า promoters แล้วเกิดการสลายพันธะไฮโดรเจน และคลายเกลียวของคู่สาย DNA - ขั้นการถอดรหัส RNA polymerase:
ถอดรหัสเริ่มต้นของสายดีเอ็นเอต้นแบบโดยการนำ
ไรโบนิวคลีโอไทด์คู่สมมาจากกับ DNA ต้นแบบ - ขั้นต่อสายยาว RNA elongation:
RNA polymerase นำไรโบนิวคลีโอไทด์มาเชื่อมต่อกันเป็นสายยาวโดยมีทิศทาง 5 prime → 3 prime ผลผลิตสาย mRNA มีทิศทาง 5 prime → 3 prime ส่วน RNA polymerase จะเคลื่อนตัวไปในทิศตรงข้าม เมื่อ RNA polymerase เคลื่อนตัวผ่านไป DNA คู่สมจะกลับมาจับกันอีกครั้ง - ขั้นเสร็จสิ้น RNA termination:
เมื่อ RNA polymerase เพื่อนมาถึง รหัสหยุด (stop codon) จะหยุดทำงานและแยกตัวออกจากสาย DNA ต้นแบบ สายดีเอ็นเอกลับมาจัดกับคู่สาย และผลผลิต mRNA จะถูกส่งออกมาสูตรไซโตพลาสซึม ในเซลล์
ยูคาริโอตจะมีการปรับโครงสร้างทางเคมีของ RNA เพื่อให้มีความเสถียรมากขึ้นในการถอดรหัสและขนส่ง เรียกว่า RNA processing
การแปลรหัสพันธุกรรม (DNA translation)
- หลังจากรหัสพันธุกรรมถอดรหัสเป็น mRNA แล้วลำเลียงจากนิวเคลียสมาสู่ไซโตพลาสซึม กระบวนการแปลรหัสพันธุกรรมให้เป็นโปรตีน หรือ polypeptides
- การแปลรหัสบนสาย mRNA เป็นสายโพลีเปปไทด์
ขับเคลื่อนโดยการทำงานของไรโบโซม องค์ประกอบของ rRNA มีตัว tRNA ส่งกรดอะมิโนที่ถูกต้องตามรหัสมาร้อยเรียงต่อกัน
สรุปคุณสมบัติของรหัสพันธุกรรมบน mRNA
เรียงตามความสำคัญดังนี้
- ลำดับของนิวคลีโอไทด์เรียงกัน 3 ตัว จะแปลเป็นกรดอะมิโน 1 ตัว เช่น AUG แปลเป็น methionine (met) เรียกว่า โคดอน (codon)
- พันธุกรรมมีความเป็นสากล รหัสการแปลเป็นรูปแบบเดียวกันในสิ่งมีชีวิตเกือบทุกชนิด ยกเว้นสิ่งมีชีวิต prokaryote บางชนิด
- รหัสตั้งต้นสำหรับสร้างโปรตีน (start codon)คือ AUG ซึ่งแปลเป็น กรดอะมิโน methionine (met) และรหัสหยุดการสังเคราะห์โปรตีน (stop codon) คือ UAA, UAG, และ UGA
- รหัสของโคดอนได้ทั้งหมด 64 รหัส มาจาก A, U, G, C มาเรียง 3 ลำดับ จึงได้ 4 x 4 x 4 = 64 แต่กรด
อะมิโนมีทั้งหมด 20 ชนิด ดังนั้นกรดอะมิโนบางตัวจึงสามารถแปลมาจากมากกว่าหนึ่ง codon เรียกว่า มีความซ้ำซ้อนทางรหัสพันธุกรรม (codon redundancy) ยกเว้น methionine ซึ่งต้องแปลมาจาก AUG รหัสเดียวเท่านั้น - การแปลรหัสพันธุกรรมจะไม่มีการอ่านข้าม
(no skipping) หรือไม่มีการอ่านซ้ำ (non-overlapping)
ข้อแตกต่าง
การถอดรหัสและการแปลรหัสโพรคาริโอตและ
ยูคาริโอตมีสาเหตุมาจากโพรคาริโอตไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส
ในโพรคาริโอต สามารถสังเกตุเห็นโครงสร้าง โพลี่ไรโบโซม (polyribosomes) เกิดจากการถอดรหัสและการแปลรหัสขึ้นได้ต่อเนื่องโดยที่ mRNA ไม่จำเป็นจะต้องสังเคราะห์เสร็จ การแปลรหัสไม่เป็นโปรตีนสามารถเริ่มสังเคราะห์ได้ไปพร้อมพร้อมกัน โดยมักจะมีไรโบโซมหลาย ๆ อัน ทำงานพร้อมพร้อมกันบน mRNA 1 สาย
ในขณะที่ยูคาริโอต ขั้นตอนการถอดรหัสและการแปลรหัสจะเกิดขึ้นแยกกันชัดเจน เพราะมีเยื่อหุ้มนิวเคลียส จึงเกิดการ compartmentalization หรือการแบ่งสัดส่วนการทำงาน
ขั้นตอนการแปลรหัสพันธุกรรม (translation) ของยูคาริโอต
- Translation initiation tRNA นำกรดอะมิโน methionine มาประกบกับ start codon
- Translation initiation complex หน่วยย่อยขนาดเล็กและขนาดใหญ่ของไรโบโซมประกบกัน ทำให้ไรโบโซมทำหน้าที่ได้
- Translation elongation tRNA ที่มีโมเลกุล anticodon คู่สมกับ codon มาพร้อมกับกรดอะมิโน
- Translation elongation กรดอะมิโนตัวแรกกับกรดอะมิโนตัวถัดมาสร้างพันธะเพปไทด์เชื่อมต่อกัน
- Translation elongation การขยับ codon เมื่อ mRNA เลื่อนตัวไป tRNA เดิมหลุดออกจากไรโบโซม เลื่อนตัวไป 1 codon tRNA ที่มี โมเลกุล anticodon คู่สมกับ codon แล้วนำกรดอะมิโนเมื่อเชื่อมด้วยพันธะเพปไทด์ การแปลและการสังเคราะห์ peptides จึงดำเนินไปเรื่อย ๆ
Translation termination การแปลรหัสจะหยุดก็ต่อเมื่อ ribosomes เลื่อนตัวไปอ่านรหัสหยุด UAG, UGA, UAA แล้ว releasing factors จะเข้ามา จับ ribosomal complex แทนที่ tRNA ทำให้ ribosomes ไม่สามารถจับกับ mRNA ได้ต่อไปการสังเคราะห์โปรตีนจึงจบลง
ประเด็นที่มักเป็นคำถาม
- การอ่าน codon ในตารางรหัสเป็นการอ่านรหัสบน mRNA เสมอ ไม่ต้องไปสับสนกับ anticodon ของ tRNA
- Stop codon ไม่มีการนำกรดอะมิโนมาสังเคราะห์ แต่จะเป็นการนำ releasing factors เพื่อทำให้ ribosomes หลุดออกจาก mRNA
- ให้ระวังว่าคำถามถามเกี่ยวกับ DNA หรือ RNA ถ้าเป็น DNA รหัสจะใช้ T for thymine และถ้าเป็น RNA รหัสจะใช้ U for uracil
- ถ้าไม่มีการกำหนดทิศทาง ให้เข้าใจว่า strand ที่ให้มามีทิศ 5 prime → 3 prime