การโต้แย้ง
การโต้แย้ง คือ การแสดงทรรศนะที่แตกต่างกันของบุคคล ๒ ฝ่าย โดยแต่ละฝ่ายจะใช้ข้อมูล สถิติ หลักฐาน หรือเหตุผล เพื่อสนับสนุนทรรศนะของตน
องค์ประกอบของการโต้แย้ง
๑. ประเด็นในการโต้แย้ง
คือ หัวข้อหรือหัวเรื่องที่จะแสดงทรรศนะ
การตั้งประเด็นต้องมีคำที่บ่งชี้ให้เกิดการแสดงทรรศนะออกเป็น ๒ ฝ่ายที่ตรงข้ามกัน คือ ฝ่ายที่เห็นด้วย และฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย เช่น
นักเรียนสมัยใหม่ควรเรียนรู้นอกห้องเรียนมากกว่าในห้องเรียนจริงหรือไม่
“จริง” -> ฝ่ายที่เห็นด้วย
“ไม่จริง” -> ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยและเรื่องที่จะนำมาตั้งเป็นประเด็นต้องเป็นเรื่องที่ยังไม่มีข้อยุติ
๒. บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่จะแสดงทรรศนะที่ตรงข้ามกัน
บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่จะแสดงทรรศนะแบ่งเป็น ๒ ฝ่าย แต่ละฝ่ายจะแสดงทรรศนะที่ตนสนับสนุน ซึ่งตรงข้ามกัน
๓. ทรรศนะ
คือ ความคิดเห็น ประกอบด้วย ๒ ส่วน ดังนี้
เหตุผล + ข้อสรุปความคิดเห็น (ข้อเสนอ, ข้อโต้แย้ง)
กระบวนการโต้แย้ง
มี ๔ ขั้นตอนหลัก ดังนี้
๑. การตั้งประเด็นในการโต้แย้ง๒. การนิยามคำหรือข้อความสำคัญที่อยู่ในประเด็นของการโต้แย้ง
-เพื่อให้ขอบเขตของการโต้แย้งมีความชัดเจน ไม่ออกนอกประเด็น
๓. การค้นหาและเรียบเรียงข้อสนับสนุนทรรศนะของตน
-เพื่อให้มีข้อมูลหนักแน่น น่าเชื่อถือ หรือเพียงพอที่จะไปหักล้างทรรศนะของฝ่ายตรงข้าม
๔. การชี้ให้เห็นจุดอ่อนและความผิดพลาดของทรรศนะของฝ่ายตรงข้าม
-เพื่อให้ทรรศนะของฝ่ายตนได้เปรียบ มีความน่าเชื่อถือ หรือได้รับการยอมรับมากกว่า