การใช้เหตุผลและการแสดงทรรศนะ

ยอดวิว 0

แบบฝึกหัด

EASY

การใช้เหตุผลและการแสดงทรรศนะ (ชุดที่ ๑)

MEDIUM

การใช้เหตุผลและการแสดงทรรศนะ (ชุดที่ ๒)

HARD

การใช้เหตุผลและการแสดงทรรศนะ (ชุดที่ ๓)

เนื้อหา

เหตุผล

เหตุผล คือ หลักการทั่วไป กฎเกณฑ์ หรือข้อเท็จจริง ซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน ได้แก่

     ๑) “เหตุ” คือ สาเหตุ มูลเหตุ

     ๒) “ผล” คือ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจาก “เหตุ”


ครงสร้างการแสดงเหตุผล

โครงสร้างการแสดงเหตุผลหรือใช้เหตุผล ประกอบด้วย ๒ ส่วน

     ๑) ข้อสนับสนุน คือ เหตุ มักมีคำว่า “เพราะ” นำหน้าข้อความ

     ๒) ข้อสรุป คือ ผล มักมีคำว่า “จึง” นำหน้าข้อความ


ตัวอย่าง

เพราะฝนตกติดต่อกันหลายวัน (ข้อสนับสนุน = เหตุ) น้ำจึงท่วมกรุงเทพฯ (ข้อสรุป = ผล)


รูปแบบการใช้เหตุผล

๑) เหตุ -> ผล
     เพราะฝนตกติดต่อกันหลายวัน (เหตุ)
     น้ำจึงท่วมกรุงเทพฯ (ผล)

๒) ผล -> เหตุ
     น้ำท่วมกรุงเทพฯ (ผล)
     เพราะฝนตกติดต่อกันหลายวัน (เหตุ) 

การอนุมาน

คือ การคาดคะเนหรือให้ข้อสรุปจากเหตุที่มีอยู่ เป็นวิธีการแสดงเหตุผลอย่างหนึ่ง ซึ่งมีอยู่ ๒ วิธี ดังนี้

๑) การอนุมานด้วยวิธีนิรนัย

วิธีนี้ ส่วนที่เป็นข้อสรุปต้องเป็นเช่นนั้นเสมอไป (เพราะเป็นความจริง) 

ตัวอย่าง

ความตายเป็นเรื่องธรรมดาของสรรพสัตว์ (เหตุ)
ทุกคนจึงไม่อาจหนีพ้น (ข้อสรุป)

๒) การอนุมานด้วยวิธีอุปนัย

วิธีนี้ ส่วนที่เป็นข้อสรุปไม่จำเป็นต้องเป็นเช่นนั้นเสมอไป

ตัวอย่าง

เมื่อวานฝนตกหนักจนน้ำท่วม (เหตุ)
วันนี้น้ำก็คงท่วมอีก (ข้อสรุป)


ข้อควรระวังเรื่องการอนุมาน

๑. สาเหตุที่ทำให้อนุมานด้วยวิธีอุปนัยผิด คือ

  • ตัวอย่างที่ยกมาไม่ใช่ตัวแทนของตัวอย่างทั้งหมด เช่น
    สมศรี เป็น ผู้หญิง            สมฤดี เป็น ผู้หญิง
    สรุป คือ คนที่มี "สม" ขึ้นต้นชื่อเป็นผู้หญิง แต่จริง ๆ มี สมปอง สมชาย สมศักดิ์ ที่เป็นชื่อผู้ชาย
  • เหตุการณ์ที่ยกมาอาจไม่เกิดซ้ำหรือไม่สามารถสรุปได้แน่นอน เช่น 
    ทุกวันที่ 15 ฝนตก (ตามสถิติ) ดังนั้น วันที่ 15 เดือนหน้า ฝนจะตก

๒. สาเหตุที่ทำให้อนุมานด้วยวิธีนิรนัยผิด คือ

  • ข้อสรุปนั้นไม่สามารถอธิบายเหตุการณ์หรือตัวอย่างได้ทั้งหมด เช่น
    ทฤษฎี : เหล็กต้องจมน้ำ
    แต่ เรือบรรทุกสินค้าทำจากเหล็ก = ลอยน้ำ
  • ตัวอย่างหรือเหตุการณ์นั้นเป็นข้อยกเว้น เช่น
    กาทุกตัวมีสีดำ แต่อาจมีกาบางตัวที่เป็นสีขาว

การแสดงทรรศนะ

ทรรศนะ คือ ความคิดเห็นที่ประกอบด้วยเหตุผล เมื่อมีการแสดงทรรศนะมักปรากฏคำแสดงทรรศนะร่วมด้วย เช่น ควร น่าจะ ต้อง ฯลฯ

โครงสร้างของการแสดงทรรศนะ

โครงสร้างของการแสดงทรรศนะ โดยทั่วไปมี ๓ ส่วน ได้แก่

     ๑) ที่มา คือ ประเด็นที่นำไปสู่การแสดงข้อสนับสนุนและข้อสรุป

     ๒) ข้อสนับสนุน คือ เหตุ มักมีคำว่า “เพราะ” นำหน้าข้อความ

     ๓) ข้อสรุป คือ ผล มักมีคำว่า “จึง” นำหน้าข้อความ

ประเภทของทรรศนะ

     ๑) ทรรศนะเชิงข้อเท็จจริง = แสดงข้อเท็จจริงต่าง ๆ

     ๒) ทรรศนะเชิงคุณค่า = ประเมินคุณค่าของสิ่งต่าง ๆ เช่น ดีหรือไม่ดีอย่างไร

     ๓) ทรรศนะเชิงนโยบาย = นำเสนอสิ่งที่ควรเปลี่ยนแปลง


วิธีการแสดงทรรศนะ

ภาษาที่ใช้ในการแสดงทรรศนะนั้น จะต้องใช้ถ้อยคำกระชับ ให้คำที่มีความหมายชัดเจน การเรียงลำดับต้องไม่สับสน วกวน และต้องใช้ภาษาให้ถูกต้องกับระดับการสื่อสาร

ตัวอย่าง

การใช้ภาษาของเด็กไทยในปัจจุบัน คาดว่าในอนาคตต่อไปอาจทำให้ภาษามีการเปลี่ยนแปลง สังเกตได้จากการใช้สื่อออนไลน์ที่มีมากขึ้น มีการที่เขียนคำที่ผิดไปจากเดิมเพื่อแสดงความรู้สึก หรือเพื่อการสื่อสารที่รวดเร็วอย่างคำว่า "น่ารำคาญ" เป็น "น่ามคาญ" หรือ "ตัวเอง" เป็น "เตง" ซึ่งลักษณะเช่นนี้ ผู้เขียนเกรงว่าต่อไปอาจจะทำให้เด็กไทยคุ้นชินกับคำเหล่านี้

ทีมผู้จัดทำ