การโน้มน้าวใจ
การโน้มน้าวใจ คือ กลวิธีที่ผู้พูดการชักชวนให้ผู้ฟังโอนอ่อนหรือคล้อยตามเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
กลวิธีในการโน้มน้าวใจ
กลวิธีโน้มน้าวใจที่สำคัญ มี ๗ วิธี ดังนี้
๑. แสดงให้เห็นความน่าเชื่อถือของผู้โน้มน้าวใจ
- ความน่าเชื่อถือในที่นี้ ได้แก่ ความรู้ ประสบการณ์ คุณธรรม ฯลฯ๒. แสดงเหตุผลที่หนักแน่น
- เพื่อลดข้อโต้แย้ง๓. แสดงให้เห็นถึงการมีความรู้สึกหรืออารมณ์ร่วมกัน
- ส่งผลให้เกิดความรู้สึกว่า “เป็นพวกเดียวกัน” และเกิด “ความไว้เนื้อเชื่อใจ”๔. แสดงให้เห็นทางเลือกทั้งด้านดีและด้านเสีย
- เพื่อให้ผู้รับสารได้มีโอกาสพิจารณาด้วยตนเองและท้ายที่สุดก็จะเลือกด้านดี๕. สร้างความหรรษาแก่ผู้รับสาร
- เพื่อผ่อนคลายความเคร่งเครียด๖. เร้าให้เกิดอารมณ์อย่างแรงกล้า
- มุ่งผลให้เกิดความกล้าในการตัดสินใจ (การเร้าอารมณ์ทำให้เกิดความสะเทือนใจ)๗. แสดงให้เห็นข้อมูลแต่ด้านดี
- วิธีนี้เลี่ยงการกล่าวถึงข้อมูลด้านไม่ดี จึงควรระวัง
ภาษาที่ใช้ในการโน้มน้าวใจ
ภาษาที่ใช้ในการโน้มน้าวใจ ต้องเป็นภาษาเชิงเสนอแนะ ขอร้อง วิงวอน หรือเร้าใจ ไม่ใช่ภาษาเชิงข่มขู่ หรือบีบบังคับ
ตัวอย่างการใช้ภาษาเชิงเสนอแนะ
การลดความอ้วนทำได้ไม่ยาก สามารถทำได้ด้วยการควบคุมอาหารและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ดีกว่าการพึ่งยาลดความอ้วนซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ตัวอย่างการใช้ภาษาเชิงขอร้อง
โปรดรักษาความสะอาด บ้านเราเมืองเราจะได้สวยงามเช่นนี้ตลอดไป จนถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน