การเขียนสื่อสารในรูปแบบต่างๆ
การใช้เหตุผลและการแสดงทรรศนะ
การโน้มน้าวใจ
การโต้แย้ง
สำนวนไทย
ข้อบกพร่องในการใช้ภาษา
การเขียนบรรณานุกรม
คำที่มักเขียนผิด

การวิเคราะห์สาร

ยอดวิว 87.0k

แบบฝึกหัด

EASY

การวิเคราะห์สาร (ชุดที่ ๑)

MEDIUM

การวิเคราะห์สาร (ชุดที่ ๒)

HARD

การวิเคราะห์สาร (ชุดที่ ๓)

เนื้อหา

สาร

ข้อความ ถ้อยคำ หรือเรื่องราว

การวิเคราะห์สาร

การวิเคราะห์ข้อความ ถ้อยคำ หรือเรื่องราวที่ได้จากการอ่าน ฟัง ดู ฯลฯ ในประเด็นต่าง ๆ

หัวข้อ "การวิเคราะห์สาร" ในที่นี้ จะกล่าวถึงเฉพาะการวิเคราะห์สารในประเด็นที่มักออกสอบ ได้แก่ การวิเคราะห์ใจความของสาร การวิเคราะห์เจตนาของผู้ส่งสาร การวิเคราะห์แนวคิดสำคัญของสาร และการวิเคราะห์น้ำเสียงของผู้ส่งสาร

๑. การวิเคราะห์ใจความของสาร

การวิเคราะห์ใจความของสาร คือ การจับใจความหรือหาสาระสำคัญของสาร 

สาร ประกอบด้วย

๑) ใจความ = เนื้อความสำคัญของสาร ตัดออกไม่ได้
๒) พลความ = เนื้อความขยายใจความ ตัดออกได้

วิธีสังเกตใจความและพลความ

๑. ใจความ มักจะอยู่ส่วนต้นของสาร โดยเฉพาะในข้อความ
    สั้น ๆ ที่โจทย์ให้มา (บางครั้งอยู่ส่วนท้ายหรืออยู่ในทุก
    ส่วนของสาร)
๒. ใจความ มักเป็นเรื่องที่พูดซ้ำไปมาในสาร
๓. พลความ มักขึ้นต้นด้วยคำเชื่อมประโยคหรือข้อความ
    เช่น

ที่ ซึ่ง อัน ผู้ ว่า เช่น  ได้แก่ ดังนี้ ดังต่อไปนี้

ตัวอย่างการวิเคราะห์ใจความของสาร

"คนที่มีจุดหมายในชีวิตแน่วแน่ในการทำความดี สามารถทำสิ่งที่ดีงามได้มากมายมหาศาล เช่น สร้างสังคม สร้างชุมชน สร้างประเทศชาติ ตลอดจนสร้างสรรค์อารยธรรมของโลก"
จากข้อความข้างต้น ใจความของสารอยู่ที่ส่วนต้นของข้อความ คือ "คนที่มีจุดหมายในชีวิตแน่วแน่ในการทำความดี สามารถทำสิ่งที่ดีงามได้มากมายมหาศาล"
ส่วน "เช่น สร้างสังคม สร้างชุมชน สร้างประเทศชาติ ตลอดจนสร้างสรรค์อารยธรรมของโลก" เป็นพลความ จะสังเกตได้ว่ามีคำว่า "เช่น" เป็นคำเชื่อมข้อความที่แสดงการขยายความข้อความข้างหน้า

๒. การวิเคราะห์เจตนาของผู้ส่งสาร

เจตนาของผู้ส่งสาร คือ ความตั้งใจ ความจงใจ หรือความมุ่งหมาย ของผู้ส่งสารที่ปรากฏในสาร โดยผู้รับสารต้องตีความสารเพื่อให้เข้าใจเจตนาที่แท้จริงของผู้ส่งสาร

วิธีวิเคราะห์เจตนาของผู้ส่งสาร

สรุปสาระสำคัญของสาร แล้วผู้รับสารตั้งคำถามกับตนเองว่า "ผู้ส่งสารต้องการอะไร" "เขียนหรือพูดเพื่ออะไร" หรือ "อยากบอกอะไรแก่ผู้รับสาร"

ตัวอย่างการวิเคราะห์เจตนาของผู้ส่งสาร

"การให้ลูกได้ฟังเรื่องดี ๆ ของแม่จากปากพ่อ หรือได้ยินได้ฟังเรื่องดี ๆ ของพ่อจากปากแม่ จะทำให้ลูกเกิดความประทับใจในตัวพ่อแม่ เพราะเด็ก ๆ นั้นเหมือนผ้าขาวที่พร้อมซึมซับเอาทุกสิ่งทุกอย่างที่ผ่านมาสัมผัสเข้าไว้และพร้อมที่จะทำตาม ไม่ช้าลูกก็จะมีความประพฤติดี  รักและกตัญญูกตเวทีต่อพ่อแม่"
จากข้อความข้างต้น ผู้ส่งสารต้องการ "แนะนำผู้ที่เป็นพ่อและแม่ให้พูดเรื่องที่ดีของกันและกันให้ลูกฟัง" (แนะนำให้ปฏิบัติ) = เจตนาของผู้ส่งสาร 

๓. การวิเคราะห์แนวคิดสำคัญของสาร

แนวคิด หมายถึง ความคิดที่เป็นแนวที่จะดำเนินต่อไป เช่น แนวคิดในการปฏิรูปการศึกษา โดยสรุป "แนวคิดสำคัญของสาร" คือ แนวความคิดหลักเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ปรากฏในสาร

วิธีวิเคราะห์แนวคิดสำคัญของสาร

สรุปสาระสำคัญของสาร แล้วผู้รับสารตั้งคำถามกับตนเองว่า "ผู้ส่งสารมีแนวความคิดอย่างไร จึงได้นำเสนอสารเช่นนั้น"

ตัวอย่างการวิเคราะห์แนวคิดสำคัญของสาร

"คนส่วนมากไม่ค่อยรู้ตัว ยังคงอยากได้อะไรที่มากขึ้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นชื่อเสียง เงินทอง เกียรติยศ หรือความรัก และก็มักไม่ได้ดังใจนึก จึงมีความทุกข์ บางสิ่งที่เราเคยฝันไว้ พอมันเป็นจริงตามฝันก็ยังไม่รู้สึกว่ามีความสุข"
จากข้อความข้างต้น ผู้ส่งสารมีแนวความคิดว่า "การอยากได้ที่ไม่สิ้นสุด ไม่ได้ทำให้ชีวิตมีความสุข จึงควรรู้จักพอ" (การไม่รู้จักพอ) = แนวคิดสำคัญของสาร

๔. การวิเคราะห์น้ำเสียงของผู้ส่งสาร

น้ำเสียง หมายถึง ความรู้สึกหรืออารมณ์ที่แสดงออกผ่านถ้อยคำ ในที่นี้ “น้ำเสียงของผู้ส่งสาร” จึงหมายถึง ความรู้สึกหรืออารมณ์ของผู้ส่งสารที่แสดงออกผ่านสาร

วิธีวิเคราะห์น้ำเสียงของผู้ส่งสาร

อ่าน / ฟัง สารหรือข้อความอย่างละเอียด แล้วตีความว่าข้อความในแต่ละส่วน / ประโยค ผู้ส่งสารมีน้ำเสียงหรืออารมณ์ความรู้สึกที่แท้จริงอย่างไร

ตัวอย่างการวิเคราะห์น้ำเสียงของผู้ส่งสาร

จากข้อความข้างต้น ผู้ส่งสาร ในที่นี้คือ "ทศกัณฑ์" ตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ ส่งสารถึง "หนุมาน" ซึ่งทศกัณฑ์เคยรับเป็นบุตรบุญธรรม ในลักษณะของการใช้คำพูดต่อว่าที่แฝงด้วยความรู้สึกน้อยใจว่าควรแล้วหรือที่หนุมานจะมาอกตัญญูตนซึ่งได้มอบความไว้ใจให้ (ตัดพ้อ) = น้ำเสียงของผู้ส่งสาร