เหตุผล คือ หลักการทั่วไป กฎเกณฑ์ หรือข้อเท็จจริง ซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน ได้แก่
๑) “เหตุ” คือ สาเหตุ มูลเหตุ
๒) “ผล” คือ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจาก “เหตุ”
โครงสร้างการแสดงเหตุผลหรือใช้เหตุผล ประกอบด้วย ๒ ส่วน
๑) ข้อสนับสนุน คือ เหตุ มักมีคำว่า “เพราะ” นำหน้าข้อความ
๒) ข้อสรุป คือ ผล มักมีคำว่า “จึง” นำหน้าข้อความ
ตัวอย่าง
เพราะฝนตกติดต่อกันหลายวัน (ข้อสนับสนุน = เหตุ) น้ำจึงท่วมกรุงเทพฯ (ข้อสรุป = ผล)
คือ การคาดคะเนหรือให้ข้อสรุปจากเหตุที่มีอยู่ เป็นวิธีการแสดงเหตุผลอย่างหนึ่ง ซึ่งมีอยู่ ๒ วิธี ดังนี้
ตัวอย่าง
ความตายเป็นเรื่องธรรมดาของสรรพสัตว์ (เหตุ)
ทุกคนจึงไม่อาจหนีพ้น (ข้อสรุป)
ตัวอย่าง
เมื่อวานฝนตกหนักจนน้ำท่วม (เหตุ)
วันนี้น้ำก็คงท่วมอีก (ข้อสรุป)
๑. สาเหตุที่ทำให้อนุมานด้วยวิธีอุปนัยผิด คือ
๒. สาเหตุที่ทำให้อนุมานด้วยวิธีนิรนัยผิด คือ
ทรรศนะ คือ ความคิดเห็นที่ประกอบด้วยเหตุผล เมื่อมีการแสดงทรรศนะมักปรากฏคำแสดงทรรศนะร่วมด้วย เช่น ควร น่าจะ ต้อง ฯลฯ
ภาษาที่ใช้ในการแสดงทรรศนะนั้น จะต้องใช้ถ้อยคำกระชับ ให้คำที่มีความหมายชัดเจน การเรียงลำดับต้องไม่สับสน วกวน และต้องใช้ภาษาให้ถูกต้องกับระดับการสื่อสาร
ตัวอย่าง
การใช้ภาษาของเด็กไทยในปัจจุบัน คาดว่าในอนาคตต่อไปอาจทำให้ภาษามีการเปลี่ยนแปลง สังเกตได้จากการใช้สื่อออนไลน์ที่มีมากขึ้น มีการที่เขียนคำที่ผิดไปจากเดิมเพื่อแสดงความรู้สึก หรือเพื่อการสื่อสารที่รวดเร็วอย่างคำว่า "น่ารำคาญ" เป็น "น่ามคาญ" หรือ "ตัวเอง" เป็น "เตง" ซึ่งลักษณะเช่นนี้ ผู้เขียนเกรงว่าต่อไปอาจจะทำให้เด็กไทยคุ้นชินกับคำเหล่านี้