การเขียนสื่อสาร
การเขียนสื่อสาร คือ การเขียนเพื่อนำสารไปให้บุคคลด้วยวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ในที่นี้จะกล่าวถึงการเขียนสื่อสาร ๕ ลักษณะ ได้แก่ การเขียนเรียงความ การเขียนจดหมายกิจธุระ การเขียนรายงานเชิงวิชาการ การเขียนรายงานการประชุม และการเขียนข้อความเชิญชวน
๑. การเขียนเรียงความ
การเขียนเรียงความ คือ การเรียบเรียงเรื่องราวเป็นร้อยแก้วตามหัวข้อที่กำหนดให้
องค์ประกอบ: การเขียนเรียงความ ประกอบด้วย ๓ ส่วน ได้แก่
๑) ส่วนนำ เป็นส่วนเกริ่นนำหรือ “เปิดประเด็น” ก่อนเข้าสู่เนื้อหาของเรียงความ มักมีเพียง ๑ ย่อหน้า
๒) ส่วนเนื้อหา เป็นส่วนของเนื้อหาสาระทั้งหมดที่จะกล่าว มีกี่ย่อหน้าก็ได้
๓) ส่วนสรุป เป็นส่วนที่กล่าวย้ำสาระสำคัญของส่วนเนื้อหา มักเขียนเพียง ๑ ย่อหน้า
๒. การเขียนจดหมายกิจธุระ
การเขียนจดหมายกิจธุระ คือ การเขียนจดหมายเพื่อติดต่อเรื่องที่เป็นกิจธุระหรือการงานอย่างเป็นทางการ (ใช้ภาษาระดับทางการในการเขียน) ไม่ใช่เรื่องส่วนตัว
องค์ประกอบ: จดหมายกิจธุระ มีองค์ประกอบในการเขียน ดังนี้
อธิบาย : ชื่อบุคคลหรือหน่วยงาน และที่อยู่ของผู้ออกจดหมาย
ลำดับ ๒ : ลำดับที่ของจดหมาย (ถ้ามี)อธิบาย : ใช้คำว่า “ที่” ตามด้วยเลขบอกลำดับและปี พ.ศ. ที่ออกจดหมาย เช่น ที่ ศว ๔๓/๒๕๖๐
ลำดับ ๓ : วัน เดือน ปี ที่เขียนจดหมายอธิบาย : เขียนตรงกลางกระดาษ ไม่ต้องใส่คำว่า “วันที่” “เดือน” และ “ปี” เช่น ๙ มิถุนายน ๒๕๖๐
อธิบาย : บอกประเด็นหลักของจดหมายว่าเป็นเรื่องอะไร เช่น ขอความอนุเคราะห์ ขอลาป่วย
อธิบาย : ใช้คำว่า “เรียน” ตามด้วยชื่อและนามสกุล หรือตำแหน่งของผู้รับจดหมาย เช่น เรียน นายมั่นปืนยาว หรือ เรียน ผู้อำนวยการโรงเรียนประชาสรรค์ เป็นต้น
ลำดับ ๖ : สิ่งที่ส่งมาด้วย (ถ้ามี) อธิบาย : ระบุสิ่งที่ส่งไปพร้อมกับจดหมาย เช่น สำเนาใบตรวจสุขภาพ ฯลฯ
ลำดับ ๗ : เนื้อความของจดหมายอธิบาย : คือเนื้อหาขยาย “เรื่อง” ของจดหมาย ต้องมีอย่างน้อย ๒ ย่อหน้า โดยย่อหน้าที่ ๑ ระบุมูลเหตุหรือที่มาของการเขียนจดหมาย มักขึ้นต้นด้วยคำว่า “ด้วย” “ตามที่...นั้น” ฯลฯ
ย่อหน้าที่ ๒ ระบุความต้องการว่าเขียนจดหมายมาเพื่ออะไร นิยมขึ้นต้นว่า “จึงเรียนมาเพื่อ...(ความต้องการ)...”
อธิบาย : ใช้ข้อความว่า “ขอแสดงความนับถือ” อยู่ตรงกับตำแหน่งของวันที่
ลำดับ ๙ : ลายมือชื่อ ชื่อเต็ม และชื่อตำแหน่ง (ถ้ามี)อธิบาย : ลงลายมือชื่อ และเขียนชื่อ-นามสกุลพร้อมคำนำหน้าของผู้ออกจดหมายไว้ในวงเล็บ ตามด้วยชื่อตำแหน่ง (ถ้ามี)
ลำดับ ๑๐ : ข้อมูลติดต่อกลับหน่วยงานที่ออกจดหมายอธิบาย : ข้อมูลในส่วนนี้ ส่วนใหญ่จะระบุหมายเลขโทรศัพท์แลหมายเลขโทรสาร นิยมระบุไว้ท้ายสุดของจดหมาย มักใช้กับผู้ออกจดหมายที่เป็นหน่วยงาน
ตัวอย่างรูปแบบจดหมายกิจธุระ
๓. การเขียนรายงานเชิงวิชาการ
การเขียนรายงานเชิงวิชาการ คือ การเขียนหรือเรียบเรียงข้อมูลจากการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบ มีระเบียบแบบแผนที่เป็นทางการ (ใช้ภาษาระดับทางการในการเขียน)
องค์ประกอบ : การเขียนรายงานเชิงวิชาการ มีองค์ประกอบหลัก ๓ ส่วน ได้แก่ ส่วนนำ ส่วนเนื้อหา และส่วนอ้างอิง ซึ่งแต่ละส่วนมีองค์ประกอบย่อย ดังนี้
- บทนำ : กล่าวถึงที่มา วัตถุประสงค์ ขอบเขต วิธีการศึกษา และประโยชน์ของการจัดทำรายงานอย่างละเอียด
- เนื้อหา : นำเสนอเนื้อหาสาระที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า
- สรุป : สรุปสาระสำคัญของเนื้อหา อาจแทรกการอภิปรายผลหรือข้อเสนอแนะไว้ตอนท้าย
- บรรณานุกรม : คือ ส่วนที่แสดงรายการข้อมูลอ้างอิงอย่างเป็นระบบ การเรียงลำดับข้อมูลนี้ จะเรียงชื่อผู้แต่ง พยัญชนะ “ก” ไปจนถึง “ฮ” ตามพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน
หมายเหตุ : ทั้งนี้รายงานบางเล่ม อาจมีภาคผนวกซึ่งเป็นส่วนของข้อมูลเพิ่มเติมต่อจากส่วนอ้างอิงด้วยก็ได้
๔. การเขียนรายงานการประชุม
การเขียนรายงานการประชุม คือ การเรียบเรียงรายละเอียดหรือสาระของการประชุมที่จดไว้อย่างเป็นทางการ
องค์ประกอบ : การเขียนรายงานการประชุม สามารถจำแนกได้ ๓ รูปแบบ ได้แก่
๑) การบันทึกทุกถ้อยคำ
๒) การบันทึกเฉพาะสาระสำคัญ
๓) การบันทึกเฉพาะมติของที่ประชุม
ซึ่งการเขียนรายงานการประชุมแต่ละรูปแบบ จะมีองค์ประกอบบางประการที่แตกต่างกัน แต่องค์ประกอบหลักที่เหมือนกัน มีดังนี้
๑) ส่วนที่บอกว่าเป็นการประชุมของบุคคลกลุ่มใด ประชุมครั้งที่เท่าใด วันที่เท่าไร สถานที่ที่ประชุมคือที่ใด เช่น
๒) ส่วนที่บอก ผู้มาประชุม (ผู้มีสิทธิ์เข้าประชุมและมาประชุม) ผู้ไม่มาประชุม (ผู้มีสิทธิ์เข้าประชุมแต่ไม่มาประชุม) และผู้ร่วมประชุมว่ามีใครบ้าง
๓) ส่วนที่บอกเวลาเริ่มประชุม
๔) ส่วนที่บอกระเบียบวาระในการประชุม
“ระเบียบวาระ คือ หัวข้อในการประชุม” สามารถมีได้ถึง ๕ วาระ ดังนี้
วาระที่ ๑ เรื่องประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
- ไม่จัดเป็นวาระการประชุมก็ได้
วาระที่ ๒ รับรองรายงานการประชุมครั้งที่ ...
(ครั้งก่อน)...
วาระที่ ๓ เรื่องสืบเนื่อง (ถ้ามี)
- พิจารณาเรื่องที่ค้างไว้จากการประชุมครั้งก่อน
วาระที่ ๔ เรื่องเสนอเพื่อพิจารณา
- พิจารณาเรื่องใหม่
วาระที่ ๕ เรื่องอื่น ๆ (ถ้ามี)
- มักเป็นเรื่องเร่งด่วนหรือสำคัญ ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากออกหนังสือเชิญประชุมไปแล้ว๕) ส่วนที่บอกเวลาปิดประชุม
๖) ส่วนที่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำรายงาน การประชุมต้องลงชื่อกำกับ (ส่วนท้ายสุดของรายงานการประชุม) เช่น ผู้บันทึกการประชุม ผู้ตรวจบันทึกการประชุม ประธานในการประชุม ฯลฯ
๕. การเขียนข้อความเชิญชวน
การเขียนข้อความเชิญชวน คือ การเขียนข้อความเชิงโน้มน้าวใจเพื่อให้ผู้รับสารคล้อยตามในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
ประเภทของข้อความเชิญชวน
ข้อความเชิญชวนมีหลายประเภท ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะประเภทที่พบเห็นได้เสมอ ๆ คือ คำขวัญ และคำโฆษณาสินค้าหรือบริการ ซึ่งมีหลักในการเขียน ดังนี้
หลักในการเขียนคำขวัญ
๑. เขียนอย่างสร้างสรรค์ แสดงให้เห็นคุณค่าหรือความสำคัญของสิ่งที่ต้องการนำเสนอ เพื่อปลูกฝังค่านิยมที่ดีงาม เตือนใจ หรือนำเสนออัตลักษณ์ของกลุ่มชน
๒. ใช้ข้อความสั้น กระชับ ไม่ควรเกิน ๑๕ คำ
๓. มีสัมผัสหรือคำคล้องจอง เพื่อให้จดจำได้ง่ายแต่ต้องไม่ใช่บทร้อยกรอง
หลักในการเขียนคำโฆษณาสินค้าหรือบริการ
๑. คำหรือข้อความโฆษณาสินค้าหรือบริการ สามารถเขียนได้หลายรูปแบบ แต่ต้องมุ่งจูงใจให้ผู้รับสารสนใจสินค้าหรือบริการที่นำเสนอ
๒. เนื้อหาของข้อความโฆษณาต้องมุ่งชี้ให้เห็นความดีพิเศษ
๓. ใช้ถ้อยคำแปลกใหม่สะดุดหู สะดุดตา สะดุดใจ เพื่อเร้าความสนใจ
๔. ใช้กลวิธีที่ทำให้เกิดการคล้อยตามสิ่งที่ต้องการนำเสนอ เช่น การอ้างสถิติ บุคคล หรือองค์กร ตัวอย่าง "xxx ที่ทันตแพทย์ส่วนใหญ่แนะนำ"