ในการคาดคะเนรูปร่างของโมเลกุลโคเวเลนต์นั้นเราจะใช้ทฤษฎีการผลักระหว่างคู่อิเล็กตรอนในวงเวเลนซ์ (Valence Shell Electron Pair Repulsion Theory หรือ VSEPR Theory)
ซึ่งโดยหลักแล้วจะดูจากจำนวนคู่อิเล็กตรอนที่อยู่รอบ ๆ อะตอมกลาง คู่อิเล็กตรอนจะมีสองแบบคือ อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวและอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ อิเล็กตรอนเหล่านี้จะผลักกันเอง ทำให้มันห่างกันมากขึ้นเพื่อที่จะให้มีแรงผลักนี้น้อยที่สุด ก่อให้เกิดเป็นรูปร่างโมเลกุล
แรงผลักของคู่อิเล็กตรอนสามารถเรียงลำดับได้ดังนี้
สำหรับโมเลกุล ABxEy ถ้าให้
รูปร่างของโมเลกุลจะเป็นดังข้างล่างนี้
ในการดูสภาพขั้วของโมเลกุลโคเวเลนต์ เราจะดูที่พันธะโคเวเลนต์ในโมเลกุลก่อนว่าเป็น พันธะโคเวเลนต์ไม่มีขั้ว (non-polar covalent bond) หรือ พันธะโคเวเลนต์มีขั้ว (polar covalent bond)
อะตอมที่มีค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีสูงกว่าจะดึงดูดกลุ่มหมอกอิเล็กตรอนได้ดีกว่าทำให้อะตอมนั้น ๆ มีประจุไฟฟ้าค่อนข้างลบ ในทางกลับกันอะตอมที่มีค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีต่ำกว่าจะดึงดูดกลุ่มหมอกอิเล็กตรอนได้น้อยกว่าทำให้อะตอมนั้นมีประจุไฟฟ้าค่อนข้างบวก
ในพันธะโคเวเลนต์มีขั้ว อะตอมที่มีประจุไฟฟ้าค่อนข้างบวก (partial positive charge) จะแสดงโดยใช้สัญลักษณ์ + (เดลต้าบวก) ส่วนอะตอมที่มีประจุไฟฟ้าค่อนข้างลบ (partial negative charge) จะแสดงโดยใช้สัญลักษณ์
- (เดลต้าลบ) หรือจะแสดงโดยใช้ลูกศรโดยให้หัวลูกศรชี้ไปในทิศของอะตอมที่มีประจุไฟฟ้าค่อนข้างลบ และท้ายลูกศรที่มีลักษณะคล้ายเครื่องหมายบวกให้อยู่บริเวณอะตอมที่มีประจุไฟฟ้าค่อนข้างบวก
ดังรูปข้างล่าง
โมเลกุลอะตอมคู่ของธาตุชนิดเดียวกันที่มีพันธะโคเวเลนต์ เช่น H2, O2, Cl2 จะเป็นโมเลกุลไม่มีขั้ว (non-polar molecule) แต่โมเลกุลอะตอมคู่ของธาตุต่างชนิดกันที่มีพันธะโคเวเลนต์ เช่น HF, HCl, CO จะเป็นโมเลกุลมีขั้ว (polar molecule)
ส่วนโมเลกุลที่มีมากกว่า 2 อะตอมและพันธะระหว่างคู่อะตอมเป็นพันธะมีขั้ว เราจะดูจากการรวมสภาพขั้วของพันธะแบบเวกเตอร์ หากหักล้างกันหมดโมเลกุลก็จะเป็นโมเลกุลไม่มีขั้ว แต่ถ้าหักล้างกันไม่หมดโมเลกุลก็จะเป็นโมเลกุลมีขั้ว
ตัวอย่างเช่น
โมเลกุลของ CO2 โมเลกุลมีรูปร่างเป็นเส้นตรง พันธะระหว่าง C กับ O เป็นพันธะมีขั้ว เวกเตอร์สภาพขั้วของพันธะ C=O ทั้งสองมีทิศทางตรงกันข้ามกันและหักล้างกันหมด
ดังนั้น CO2 จึงเป็นโมเลกุลไม่มีขั้ว