เนื่องจากสมการไอออนิกมีไอออนที่ไม่ทำปฏิกิริยากัน ปรากฎอยู่ทั้งด้านซ้าย และขวาของสมการ ซึ่งสามารถตัดออกจากสมการให้เหลือเฉพาะไอออนที่ทำปฏิกิริยากันได้เป็นผลิตภัณฑ์ เรียกว่าสมการไอออนิกสุทธิ
ดังนั้น สมการไอออนิกสุทธิ (net ionic equation) จะเป็นสมการที่เขียนเฉพาะไอออนที่ทำปฏิกิริยากันได้เป็นผลิตภัณฑ์เท่านั้น โดยผลรวมประจุทางซ้ายและทางขวาของสมการต้องดุลกันพอดี
เช่น
ตัวอย่างที่ 1 การผสมสารละลายซิลเวอร์ไนเตรต (AgNO3) และโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) ได้ตะกอนสีขาวของซิลเวอร์คลอไรด์ (AgCl) ซึ่งไม่ละลายน้ำ
สามารถเขียนสมการทั่วไป สมการไอออนิกและสมการไอออนิกสุทธิได้ดังนี้
ตัวอย่างที่ 2 การผสมสารละลายแคลเซียมไฮดรอกไซด์ Ca(OH)2 และโซเดียมคาร์บอเนต Na2CO3 ได้ตะกอนสีขาวของแคลเซียมคาร์บอเนต CaCO3
สามารถเขียนสมการทั่วไป สมการไอออนิกและสมการไอออนิกสุทธิได้ดังนี้
การทำนายปฏิกิริยาการเกิดตะกอนของสารละลายของสารประกอบไอออนิก สามารถพิจารณาได้จากสมบัติการละลายน้ำ ดังนี้
สารประกอบที่ละลายน้ำ
สารประกอบที่ไม่ละลายน้ำ