พันธะเคมี
การเกิดไอออนและการเกิดพันธะไอออนิก
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การเขียนสูตร และเรียกชื่อสารประกอบไอออนิก
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
คำนวณพลังงานที่เกี่ยวข้องกับการเกิดสารประกอบไอออนิกจากวัฏจักรบอร์น-ฮาเบอร์
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สารประกอบไอออนิก
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สมการไอออนิกและสมการไอออนิกสุทธิของสารประกอบไอออนิก
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การเกิดพันธะโคเวเลนต์
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การเขียนสูตร และเรียกชื่อสารโคเวเลนต์
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ความยาวพันธะและพลังงานพันธะในสารโคเวเลนต์
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
รูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์ และสภาพขั้วของโมเลกุลโคเวเลนต์
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลและสมบัติของสารโคเวเลนต์
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การสืบค้นข้อมูล และอธิบายสมบัติของสารโคเวเลนต์โครงร่างตาข่าย
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การเกิดพันธะโลหะและสมบัติของโลหะ
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สมบัติและการใช้ประโยชน์ของสารประกอบไอออนิก สารโคเวเลนต์ และโลหะ
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
100%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย

ความยาวพันธะและพลังงานพันธะในสารโคเวเลนต์

ยอดวิว 0

แบบฝึกหัด

EASY

ความยาวพันธะและพลังงานพันธะในสารโคเวเลนต์

MEDIUM

ความยาวพันธะและพลังงานพันธะในสารโคเวเลนต์

HARD

ความยาวพันธะและพลังงานพันธะในสารโคเวเลนต์

เนื้อหา

ความยาวพันธะ 

ความยาวพันธะ (Bond length) คือ ระยะสั้นที่สุดที่นิวเคลียสของอะตอมทั้งสองสร้างพันธะกันแล้วเกิดความเสถียรของโมเลกุล

เช่น

การเกิดโมเลกุลของแก๊สไฮโดรเจน โดยอะตอมของไฮโดรเจนจะเคลื่อนที่ใกล้กันมากที่สุดจนเกิดสมดุลระหว่างแรงดึงดูดกับแรงผลักที่ระยะ 74 พิกโกเมตร
ถ้าเข้าใกล้กันมากกว่านี้ แรงผลักจะเพิ่มมากขึ้นและโมเลกุลจะไม่เสถียร
ดังนั้น ที่ระยะนิวเคลียสของอะตอม 74 พิกโกเมตร จึงเป็นความยาวพันธะของ H-H

การเปลี่ยนแปลงพลังงานในการเกิดโมเลกุลของแก๊สไฮโดรเจน

ลักษณะสำคัญของความพันธะ

  • ความยาวพันธะของอะตอมคู่หนึ่งๆ จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของพันธะและพลังงานพันธะ
  • คู่อะตอมของธาตุที่เหมือนกัน สามารถเกิดพันธะได้มากกว่าหนึ่งชนิด พันธะแต่ละชนิดจะมีความยาวพันธะไม่เท่ากัน คือ ความยาว พันธะพันธะเดี่ยว >  พันธะคู่  >  พันธะสาม  

เช่น

C - C (154 pm)  > C = C (134 pm)  > 
C identical to C (120 pm)
N - O (136 pm)  > N = O (115 pm)  > 
N identical to O (108 pm)
  • คู่อะตอมชนิดเดียวกัน ความยาวพันธะมีความสัมพันธ์กับพลังงานพันธะ คือ
ความยาวพันธะ    พันธะเดี่ยว  >  พันธะคู่  >  พันธะสาม
พลังงานพันธะ     พันธะเดี่ยว  พันธะคู่  <  พันธะสาม 

เช่น       

ชนิดของพันธะC - CC = C  C identical to C
ความยาวพันธะ 154  pm134  pm  120  pm
พลังงานพันธะ 348  kJ/mol  614 kJ/mol   839  kJ/mol


  • อะตอมคู่ที่เกิดจากธาตุหนึ่ง สร้างพันธะกับธาตุอื่นๆ ที่มีขนาดอะตอมต่างกัน ความยาวพันธะความสัมพันธ์กับขนาดของอะตอม คือ ความยาวพันธะเพิ่มขึ้นตามขนาดอะตอมที่ใหญ่ขึ้น 

เช่น การเปรียบเทียบความยาวพันธะระหว่าง  C  กับธาตุอื่นๆ เป็นดังนี้


พลังงานพันธะ

พลังงานพันธะ (Bond energy) คือ พลังงานที่ใช้ในการสลายพันธะระหว่างอะตอมของธาตุภายในโมเลกุลที่อยู่ในสถานแก๊สออกเป็นอะตอมเดี่ยว โดยสารต่างชนิดกัน จำนวนโมลเท่ากัน พลังงานที่ใช้สลายพันธะก็ต่างกัน ในขณะเดียวกันการสลายพันธะชนิดเดียวกันในสารต่างชนิดกันจะใช้พลังงานสลายไม่เท่ากัน

เช่น

H2(g) + 436 kJ ----------------> 2H (g)

จากสมการแก๊ส H2 1 โมล ต้องการจะสลายเป็น H อะตอม 2 โมล ต้องใช้พลังงาน 436 kJ

HI (g) + 298 kJ----------> H (g) + I (g)

แก๊ส HI 1 โมล ต้องการสลายเป็น H และ I อะตอมอย่างละ 1โมล ต้องใช้พลังงาน 298 kJ

ลักษณะสำคัญของพันธะเคมี

  • พันธะชนิดเดียวกัน พลังงานที่ใช้สลายพันธะและพลังงานที่ได้จากการเกิดพันธะจำนวนเท่ากัน จะมีค่าเท่ากันเสมอ แต่ถ้าสลายพันธะต่างชนิดกันจะใช้พลังงานต่างกัน
  • พลังงานพันธะเกี่ยวข้องกับความแข็งแรงของพันธะ คือ พันธะเคมีที่ต้องใช้พลังงานสลายสูง จะมีความแข็งแรงของพันธะมากกว่าพันธะเคมีที่ต้องใช้พลังงานสลายต่ำ

ดังนั้น พันธะระหว่างอะตอมคู่เดียวกัน ความแข็งแรงของ พันธะเดี่ยว < พันธะคู่ < พันธะสาม

  • ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้น โดยทั่วไปจะมีการสลายพันธะเดิม และการเกิดพันธะใหม่ พลังงานที่เปลี่ยนแปลงไปในปฏิกิริยา จะเท่ากับผลต่างระหว่างพลังงานที่ระบบดูดเข้าไปสลายพันธะเดิมทั้งหมดกับพลังงานที่ระบบคายออกมาเมื่อเกิดพันธะใหม่ทั้งหมด
ΔH = (พลังงานที่ระบบดูด) - (พลังงานที่ระบบคาย)
  • ถ้าระบบดูดพลังงาน > คายพลังงาน จะได้ค่า ΔH มีเครื่องหมายเป็นบวก แสดงว่าระบบมีการเปลี่ยนแปลงเป็นแบบดูดพลังงาน (Endothermic Reaction)
  • ถ้าระบบดูดพลังงาน < คายพลังงาน จะได้ค่า ΔH มีเครื่องหมายเป็นลบ แสดงว่าระบบมีการเปลี่ยนแปลงเป็นแบบคายพลังงาน (Exothermic Reaction)

ในปฏิกิริยาเคมีที่มีทั้งการสลายพันธะเดิมและการเกิดพันธะใหม่ ปฏิกิริยานั้นอาจจะเป็นการเปลี่ยนแปลงประเภทดูดหรือคายพลังงานก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพลังงานที่ใช้ในการสลายพันธะ กับพลังงานที่เกิดจากการสร้างพันธะใหม่เป็นเกณฑ์

ตัวอย่างการคำนวณพลังงานกับปฏิกิริยาเคมี

  1. จงคำนวณพลังงานความร้อนในการเกิด HCl จากปฏิกิริยา
H2(g)+ Cl2(g)-------------> 2HCl(g)

กำหนดพลังงานพันธะ    

(H - H) = 436 kJ/mol           

(Cl - Cl) = 242 kJ/mol

(H - Cl) = 431 kJ/mol

วิธีทำ

พันธะที่สลาย คือ (H - H)  จำนวน    1    โมล 
และ   (Cl - Cl)  จำนวน   1      โมล

พลังงานที่ใช้สลายพันธะทั้งหมด   
= (H - H) + D(Cl - Cl)
= 436 + 242 kJ
= 678 kJ

พันธะที่เกิดใหม่ คือ (H - Cl ) จำนวน 2   โมล

พลังงานที่เกิดจากการสร้างพันธะทั้งหมด  
=  2(H - Cl)
=  2 (431) kJ
=  862 kJ

ดังนั้น พลังงานความร้อนของปฏิกิริยา   
=   (678) - (862)    
=   -184 kJ 
ซึ่งเป็นปฏิกิริยาคายความร้อน