1) เขียนสัญลักษณ์ของธาตุองค์ประกอบ โดยเรียงลำดับจาก ค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีน้อยไปมาก
2) ระบุจำนวนอะตอมของธาตุที่มีจำนวนอะตอมมากกว่า 1 อะตอม
เช่น
CO2 , CCl4 , SF6 , N2O4
ยกเว้น สารบางชนิด
เช่น
NH3 และ CH4
ที่นิยมเขียนสัญลักษณ์ของธาตุที่เป็นอะตอมกลางไว้ข้างหน้า ทั้งที่ ธาตุไนโตรเจนและธาตุคาร์บอนมีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีสูงกว่าธาตุไฮโดรเจน
1) สารประกอบโคเวเลนต์ที่ประกอบด้วยธาตุชนิดเดียว เรียกตามชื่อธาตุนั้น ซึ่งธาตุเหล่านี้ส่วนใหญ่มีสถานะแก๊สที่อุณหภูมิห้อง
เช่น
O2 เรียกว่า แก๊สออกซิเจน
2) สารประกอบโคเวเลนต์ที่ประกอบด้วยธาตุ 2 ชนิด ให้เรียกชื่อธาตุตามลำดับที่ปรากฎในสูตรโมเลกุล โดยเปลี่ยนพยางค์ท้ายเป็น ไ-ด์ (-ide) และระบุจำนวนอะตอมธาตุองค์ประกอบในโมเลกุล ด้วยภาษากรีก
ดังตาราง
ยกเว้น กรณีที่ธาตุแรกมีเพียงอะตอมเดียว ไม่ต้องระบุจำนวนอะตอมของธาตุนั้น
เช่น
CS2 เรียกว่า คาร์บอนไดซัลไฟด์
แต่ ถ้าธาตุหลังมีเพียงอะตอมเดียวต้องระบุจำนวนอะตอม
เช่น
ClF เรียกว่า คลอรีนมอนอฟลูออไรด์
ตารางที่ 1 จำนวนอะตอมในภาษากรีกที่ใช้เรียกชื่อสารประกอบโคเวเลนต์
จำนวนอะตอม | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 |
คำระบุจำนวน | มอนอ | ได (di) | ไตร (tri) | เตตระ (tetra) | เพนตะ (penta) | เฮกซะ (hexa) | เฮปตะ (hexa) | ออกตะ (octa) | โนนะ (nona) | เดคะ (deca) |
นิยมเรียกชื่อโดย ตัดสระตัวสุดท้ายของคำที่ระบุจำนวนอะตอมออก
เช่น
CO นิยมเรียกว่า คาร์บอนมอนอกไซด์ (carbon monoxide)
N2O4 นิยมเรียกว่า ไดไนโตรเจนเตตระออกไซด์ (dinitrogen tetroxide)
แต่
นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกที่ไม่เป็นไปตามหลักการข้างต้นทุกประการ
เช่น
HCl นิยมเรียกว่า ไฮโดรเจนคลอไรด์ (hydrogen chloride)
ตารางที่ 2 ตัวอย่างสูตรโมเลกุลและการเรียกชื่อของสารประกอบโคเวเลนต์
สารประกอบโคเวเลนต์ | การเรียกชื่อ |
H2S | ไดไฮโดรเจนมอนอซัลไฟด์ (dihydrogen monosulfide) |
BF3 | โบรอนไตรฟลูออไรด์ (boron trifluoride) |
Cl2O | ไดคลอรีนมอนอออกไซด์ (dichlorine monooxide) หรือนิยมเรียก ไดคลอรีนมอนอกไซด์ (dichlorine monoxide) |
Cl2O7 | ไดคลอรีนเฮปตะออกไซด์ (dichlorine heptaoxide) หรือนิยมเรียก ไดคลอรีนเฮปตอกไซด์ (dichlorine heptoxide) |
P4O10 | เตตระฟอสฟอรัสเดคะออกไซด์ (tetraphosphorus decaoxide) หรือนิยมเรียก เตตระฟอสฟอรัสเดคอกไซด์ (tetraphosphorus decoxide) |