พันธะเคมี
การเกิดไอออนและการเกิดพันธะไอออนิก
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การเขียนสูตร และเรียกชื่อสารประกอบไอออนิก
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
คำนวณพลังงานที่เกี่ยวข้องกับการเกิดสารประกอบไอออนิกจากวัฏจักรบอร์น-ฮาเบอร์
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สารประกอบไอออนิก
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สมการไอออนิกและสมการไอออนิกสุทธิของสารประกอบไอออนิก
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การเกิดพันธะโคเวเลนต์
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การเขียนสูตร และเรียกชื่อสารโคเวเลนต์
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ความยาวพันธะและพลังงานพันธะในสารโคเวเลนต์
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
รูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์ และสภาพขั้วของโมเลกุลโคเวเลนต์
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลและสมบัติของสารโคเวเลนต์
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การสืบค้นข้อมูล และอธิบายสมบัติของสารโคเวเลนต์โครงร่างตาข่าย
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การเกิดพันธะโลหะและสมบัติของโลหะ
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สมบัติและการใช้ประโยชน์ของสารประกอบไอออนิก สารโคเวเลนต์ และโลหะ
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
100%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย

การเขียนสูตร และเรียกชื่อสารประกอบไอออนิก

ยอดวิว 0

แบบฝึกหัด

EASY

การเขียนสูตร และเรียกชื่อสารประกอบไอออนิก

MEDIUM

การเขียนสูตร และเรียกชื่อสารประกอบไอออนิก

HARD

การเขียนสูตร และเรียกชื่อสารประกอบไอออนิก

เนื้อหา

1. การเขียนสูตรสารประกอบไอออนิก

สารประกอบไอออนิก ประกอบด้วย ไอออนบวกและไอออนลบที่มีประจุต่าง ๆ กัน ซึ่งมีผลต่ออัตราส่วนการรวมของไอออนและสูตรของสารประกอบไอออนิก

โดยประจุของไอออนของธาตุหมู่หลักเป็นบวกตามจำนวนอิเล็กตรอนของไอออนเป็นไปตามกฎออกเตต

เช่น

  • ธาตุโซเดียม (Na) เป็นธาตุหมู่ IA เมื่อเกิดเป็นไอออนบวกจะมีประจุเป็น +1
  • ธาตุแคลเซียม (Ca) เป็นธาตุหมู่ IIA เมื่อเกิดเป็นไอออนบวกจะมีประจุเป็น +2 
  • ธาตุคลอรีนซึ่งเป็นธาตุหมู่ VIIA เมื่อเกิดเป็นไอออนลบจะมีประจุเป็น -2
  • ธาตุไนโตรเจนซึ่งเป็นธาตุหมู่ VA เมื่อเกิดเป็นไอออนลบจะมีประจุเป็น -3
การเขียนสูตรสารประกอบไอออนิก จะใช้ สูตรเอมพิริคัลแสดงอัตราส่วนอย่างต่ำของจำนวนของไอออนที่เป็นองค์ประกอบ ซึ่งทำให้ผลรวมของประจุเป็นศูนย์

โดยจะเขียนสัญลักษณ์ของธาตุที่เป็นไอออนบวกไว้ข้างหน้าตามด้วยไอออนลบและแสดงอัตราส่วนอย่างต่ำของไอออนที่เป็นองค์ประกอบโดยเขียนเลขอารบิกห้อยท้ายไอออนนั้น ทั้งนี้ในกรณีที่เป็นจำนวนไอออนเป็น 1 ไม่ต้องเขียน

เช่น

สารประกอบไอออนิกที่เกิดจากแคลเซียมไอออน (Ca2+) กับฟลูออไรด์ไอออน (F-) มีอัตราส่วนประจุของ Ca2+ ต่อ F- เป็น 1:2 ดังนั้น สูตรของสารประกอบเป็น CaF2

ตัวอย่าง

การเขียนสูตรสารปะกอบไอออนิกดังแสดงในรูป ซึ่งใช้ค่าของประจุบวกไปเขียนไว้ทางด้านล่างขวาของอนุภาคที่เป็นไอออนลบและใช้ค่าประจุลบไปเขียนไว้ทางด้านล่างขวาของอนุภาคที่เป็นไอออนบวก

ในกรณี ไอออนบางชนิดที่เกิดจากกลุ่มอะตอม การเขียนสูตรสารประกอบจะใช้หลักการเดียวกับไอออนบวกและไอออนลบที่เกิดจากธาตุ

เช่น

สูตรสารประกอบไอออนิกที่เกิดจากแอมโมเนียมไอออน (NH4+) กับซัลเฟตไออน (SO42-) มีอัตราส่วนประจุของประจุ NH4+ ต่อ SO42- เป็น 1 ต่อ 2 ซึ่งเมื่อทำให้ผลรวมของประจุเป็นศูนย์ จะได้อัตราส่วนอย่างต่ำของจำนวน NH4+ ต่อ SO42- เป็น 2:1 ดังนั้น สูตรสารประกอบเป็น (NH4)2SO4

ดังแสดงในรูป


2. การเรียกชื่อสารประกอบไอออนิก

การเรียกชื่อสารประกอบไอออนิก จำเป็นต้องทราบชื่อของไอออนบวกและไอออนลบ

โดยมีรายละเอียดดังนี้

ไอออนบวก

เรียกตามชื่อธาตุแล้วลงท้ายด้วยคำว่า ไอออน

เช่น

  • Na+  เรียกว่า  โซเดียมไอออน  (sodium ion)
  • Mg2+ เรียกว่า แมกนีเซียมไอออน (magnesium ion)
  • Al3+ เรียกว่า อะลูมิเนียมไอออน (aluminium ion)

ไอออนลบ

เรียกชื่อธาตุโดยเปลี่ยนท้ายเสียงเป็น ไ-ด์ (-ide) แล้วลงท้ายด้วยคำว่า ไอออน

เช่น

  • Br-  อ่านว่า โบรไมด์ไอออน (bromide ion)

ไอออนที่เป็นกลุ่มอะตอม

จะมีชื่อเรียกเฉพาะ โดยกลุ่มอะตอมที่เป็นไอออนบวกลงท้ายด้วย -ium ส่วนกลุ่มอะตอมที่เป็นไอออนลบอาจลงท้ายด้วย ไ-ด์ (-ide) ไ-ต์ (-ite) หรือ เ-ต (-ate)

เช่น

  • NH4+ อ่านว่า แอมโมเนียมไอออน (ammonium ion)
  • CN- อ่านว่า ไซยาไนด์ไอออน (cyanide ion)
  • NO2- อ่านว่า ไนไทรต์ไอออน (nitrite ion) 
  • SO42- อ่านว่า ซัลเฟตไอออน (sulfate ion)

การเรียกชื่อสารประกอบไอออนิก จะเรียก ไอออนบวกก่อนแล้วตามด้วยไอออนลบ โดยตัดคำว่าไอออนทิ้ง

ดังแสดงในตารางที่ 1 ส่วนการเรียกชื่อสารประกอบที่เกิดจากเลขออกซิเดชันมากกว่า 1 ค่า ต้องระบุตัวเลขประจุหรือเลขออกซิเดชันของไอออนโลหะนั้นเป็นเลขโรมันในวงเล็บ ดังตารางที่ 2

ตารางที่ 1 แสดงชื่อสารประกอบไอออนิกบางชนิด

ตารางที่ 2 ตัวอย่างชื่อสารประกอบไอออนิกที่เกิดจากโลหะที่มีเลขออกซิเดชันหลายค่า